ความเคลื่อนไหว

โรงเรียนพ(ล)บค่ำ #2: Hate Speech กับ โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

2012.03.19

โรงเรียนพ(ล)บค่ำ ปีที่ 1 ชั้นเรียนที่ 2: Hate Speech: จะทำร้ายคนอื่นด้วยคำพูด มันก็ทำร้ายเหมือนกัน กับ โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม เวลา 19:30น.เป็นต้นไป ที่ The Reading Room สีลม 19 ชั้นเรียนที่ 2 นี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรื่อง Hate Speech: จะทำร้ายคนอื่นด้วยคำพูด มันก็ทำร้ายเหมือนกัน : ทำไมรัฐต้องปกป้องพลเมืองจากการทำร้ายกันด้วยคำพูด

ดูย้อนหลัง โรงเรียนพ(ล)บค่ำ #1 ตอน SOPA

2012.03.19

รับชมการบรรยายและพูดคุยในประเด็น SOPA โดย อธิป จิตตฤกษ์ ใน ชั้นเรียนที่ 1 ของ "โรงเรียนพ(ล)บค่ำ" ได้แล้ว

โรงเรียนพ(ล)บค่ำปีที่ 1: วัฒนธรรมเคลื่อนไหว Moving Culture

2012.02.10

โรงเรียนพ(ล)บค่ำปีที่ 1: วัฒนธรรมเคลื่อนไหว Moving Culture ชั้นเรียนที่ 1: #SOPA กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเสรีภาพในการแสดงออกกับ อธิป จิตตฤกษ์ วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ เวลา 19:30น.เป็นต้นไป ที่ The Reading Room สีลม 19

ความเห็นเชิงเทคนิคต่อคดีนายอำพล (อากง SMS)

2011.12.30

บทความโดย วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone ถามถึงความเป็นไปได้ และข้อสงสัยอื่น ๆ ที่มีต่อหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในคดีนายอำพล หรือคดี "อากง SMS"
Access Now

Access Now: บริษัทเอกชนคือกำลังหลักในการปกป้องสิทธิมนุษยชนบนอินเทอร์เน็ต

2011.12.20

ผู้อำนวยการบริหาร Access Now ระบุ โลกการสื่อสารในปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานเป็นของเอกชน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาคเอกชนต้องเล่นบทบาทนำในการปกป้องสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ขั้นออกแบบ ไม่ใช่ปล่อยให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยมาทำการกุศลทีหลังภายใต้คำว่า "ซีเอสอาร์เพื่อสังคม"

My Computer Law: พลเมืองเน็ตส่งเสียง บล็อคเว็บได้ แต่ไม่ใช่เรื่องโป๊-ศีลธรรม-ความมั่นคง

2011.12.14

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อนโยบายกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต โดยโครงการ "My Computer Law ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับประชาชน" เผยผู้ใช้เน็ตเป็นห่วงเนื้อหาที่ก่อให้เกิดความรุนแรงและอาจสร้างอันตรายต่อบุคคล ขณะที่ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรบล็อคเว็บโป๊ โดยอาจใช้มาตรการอื่นแทน ส่วนเรื่องศีลธรรมอันดีและความมั่นคงของรัฐเป็นเนื้อหาประเภทสุดท้ายที่ประชาชนเห็นว่าควรปิดกั้น

[14 ธ.ค.] แถลงสถานการณ์เน็ตไทยปี 2554 + สัมมนา “น้ำท่วม ข้อมูลท้น สิทธิมนุษยชน และกลไกรัฐ”

2011.12.07

การแถลงรายงานสถานการณ์อินเทอร์เน็ตประเทศไทยประจำปี 2554 และสัมมนาสาธารณะ "น้ำท่วม ข้อมูลท้น สิทธิมนุษยชน และกลไกรัฐ" / วันพุธที่ 14 ธ.ค. 2554 9:00-16:30 น. ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้

เครือข่ายพลเมืองเน็ต: กดไลก์ ไม่ใช่อาชญากรรม กระทรวงไอซีทีต้องทบทวนมาตรการจัดการ “เฟซบุ๊กหมิ่น” และ ข้อแนะนำต่อพลเมืองเน็ตเมื่อเจอหน้าเว็บที่ไม่ถูกใจ

2011.11.30

กดไลค์ ไม่ใช่อาชญากรรม หยุดสร้างภาระรับผิดให้ตัวกลาง รายงานการละเมิดอย่างรับผิดชอบ --- ภาครัฐ ผู้ให้บริการ และพลเมืองเน็ต ต้องร่วมกันรักษาพื้นที่เน็ตเพื่อประโยชน์สาธารณะ บนพื้นฐานของสิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชน
บทสรุป และ วิดีโอ จาก เวทีอภิปรายสาธารณะ "ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง" 16 มิ.ย. 2554

มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ รายงาน: สื่อใหม่กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง

2011.11.21

รายงาน "สื่อใหม่กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง" รวบรวม 3 ประเด็นหลักจากเวทีอภิปราย "ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง" : Hate Speech, ขอบเขตหาเสียงออนไลน์, และ สื่อท้องถิ่นกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง จัดทำโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์
static page request

หน้าเว็บอยู่ที่ไหน?

2011.11.16

การสอบถามกับผู้ดูแลเว็บว่าหน้าเว็บนี้อยู่ที่ไหน คงไม่ต่างกับถามแม่ค้าขายข้าวผัดกะเพราว่าส่วนประกอบต่าง ๆ ของข้าวจานนี้มาจากไหน เราอาจจะพอทราบว่าไก่ต้องมาจากฟาร์มเลี้ยงไก่ ถามต่อไปอาจจะทราบว่าไก่มาจากบริษัทอะไร แต่แม่ค้าคงไม่ทราบว่าฟาร์มอยู่ที่ไหน ... ในกรณีของหน้าเว็บหนึ่ง ๆ ก็ไม่ต่างกัน