ความเคลื่อนไหว

แถลงการณ์: รัฐต้องไม่นิรโทษกรรมตัวเอง กรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องได้รับการสืบสวนและถูกบันทึก

2013.10.30

เนื่องด้วยขณะนี้กำลังมีการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อยกเลิกความผิดทางการเมืองและความผิดที่เกี่ยวข้องกับการปะทะกันทางการเมืองทั้งหมด “แบบเหมาเข่ง” โดยการสนับสนุนของพรรคเพื่อไทยและส่วนหนึ่งของกลุ่มคนเสื้อแดง เครือข่ายพลเมืองเน็ตมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้

ความเป็นส่วนตัว: เรื่องร้อนในเวทีอินเทอร์เน็ตภิบาลครั้งที่ 8 #IGF2013

2013.10.28

สรุปประเด็นถกเถียงในประเด็นความเป็นส่วนตัว จากที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลครั้งที่ 8 ทั่วโลกตื่นตัวเรื่องความเป็นส่วนตัวและการสอดส่องการสื่อสาร เยาวชนห่วงการควบคุมข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคม ภาคประชาสังคมเรียกร้องมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิ ในขณะที่รัฐบาลหลายประเทศแสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อกรณีโครงการสอดแนมของสหรัฐอเมริกา โดยบราซิลและเยอรมนีเป็นหัวขบวนในการเคลื่อนไหวเรื่องนี้สู่เวทีระหว่างประเทศ

นิติมธ. เสนอ สพธอ. ตั้ง “ศูนย์ระงับข้อพิพาทออนไลน์” คุ้มครองผู้บริโภคม้วนเดียวจบ

2013.09.16

บันทึกงานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “แนวทางการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจากการซื้อขายออนไลน์” โดยโครงการเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอันเกิดจากการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เพื่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยสาธารณะ จะต้องสังเวยด้วยสิทธิส่วนบุคคล?

2013.09.13

กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จัดงาน NBTC Public Forum ครั้งที่ 5 เรื่อง “เพื่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยสาธารณะ จะต้องสังเวยด้วยสิทธิส่วนบุคคลจริงหรือ?” เมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา โดยเริ่มจากการนำเสนอสรุปสถานการณ์ “การละเมิดสิทธิเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์” จากเครือข่ายพลเมืองเน็ต จากนั้นเปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย

ทำไมต้องกลัวถูกดักฟัง แม้คุณจะไม่มีอะไรต้องซ่อน?

2013.09.09

"ถ้าคุณไม่มีอะไรต้องซ่อน งั้นหมายความว่าคุณจะให้ผมถ่ายรูปคุณเปลือย และผมจะมีสิทธิเต็มที่ในรูปภาพนั้น ผมจะโชว์รูปให้เพื่อนบ้านของคุณดูได้ไหม..." เป็นคำตอบจากผู้อ่านบล็อกของ Daniel Solove เมื่อเขาถามว่าคิดอย่างไรกับข้อถกเถียงเรื่อง "ไม่มีอะไรต้องซ่อน" (Nothing To Hide) บทความนี้ชวนให้ตั้งคำถามกับการตอบโต้ที่ว่า "ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิด ก็ไม่เห็นต้องกลัวอะไร" แปล-ตัดบางส่วน-เรียบเรียง จากบทความชื่อ Why Privacy Matters Even if You Have 'Nothing to Hide' โดย Daniel J. Solove
หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง

[25 ก.ย.] “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร” ประชุมประจำปี #tcrc13

2013.09.05

พุธ 25 ก.ย. 2556 08:30-16:30 / ห้อง 5303 อาคาร 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต / คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเครือข่ายพลเมืองเน็ต ขอเชิญร่วมการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2556 ในหัวข้อ “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร (Online Privacy and Communications Surviellance)”

ห้างสรรพสินค้ารู้ความลับของคุณได้อย่างไร?

2013.09.04

ข้อเขียนนี้เรียบเรียงจากบทความ How Companies Learn Your Secrets โดย Charles Duhigg
Privacy

[รายงาน] คน อินเทอร์เน็ต และความเป็นส่วนตัว: สำรวจสถานการณ์การละเมิดความเป็นส่วนตัวออนไลน์ในสังคมไทยช่วงครึ่งปีแรก พ.ศ. 2556

2013.08.21

รายงานความก้าวหน้าการวิจัยโครงการความเป็นส่วนตัวออนไลน์ / ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ สิงหาคม 2556

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต: รัฐไทยต้องให้ความชัดเจนเรื่องการสอดส่องประชาชนบนไลน์และสื่อสังคมอื่น

2013.08.13 1 comment

แถลงการณ์ ซึ่งรวมคำถาม ข้อเรียกร้อง และคำแนะนำต่อรัฐไทยและผู้ให้บริการ ที่จะรับมือกับข่าวลืออย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธืประชาชน
คน อินเทอร์เน็ต และความเป็นส่วนตัว

[21 ส.ค.] สัมมนา “คน อินเทอร์เน็ต และความเป็นส่วนตัว” สรุปการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวออนไลน์ในไทย ม.ค.-มิ.ย. 2556

2013.08.10

โครงการสิทธิความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต รายงานความก้าวหน้างานวิจัยและสำรวจสถานการณ์การละเมิดความเป็นส่วนตัวในสังคมออนไลน์ไทย ม.ค.-มิ.ย. 2556 พุธ 21 ส.ค. 9:30-12.00 ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์