ความเคลื่อนไหว

ความจำเป็นของการมีกฎหายดักรับข้อมูลเพื่อใช้ในการอำนวยความยุติธรรม

ถกหนัก กฎหมายดักฟัง นักกฎหมายเตือนต้องเจาะจง ชั่งน้ำหนักสาธารณะ VS บุคคล

2014.12.26

นักกฎหมายชี้ กฎหมายดักฟังมีได้ แต่ต้องครบเงื่อนไข 9 ข้อ เหตุผล-เป้าหมาย-เวลาต้องชัดเจน ยังกังวลหลายอย่าง เช่น คดีทั่วไปอาจกลายเป็นคดีพิเศษไปหมด เจ้าหน้าที่อาจใช้อำนาจในทางมิชอบ กฎหมายที่ยังคลุมเครือและจะทำให้มีปัญหาภายหลัง ระบุต้องรักษาสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิของบุคคล ด้านผู้บังคับใช้กฎหมายระบุ เพื่อคุ้มครองผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ต้องมีเครื่องมือทำงานเพียงพอ ไม่ต้องการละเมิดสิทธิ
ไม่มีความปลอดภัย ไม่คุ้มครองข้อมูลลูกค้า = ตัดโอกาสทางธุรกิจ

ไม่คุ้มครองความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้ผู้บริโภค = “ตัดโอกาสทางธุรกิจ” ของตัวเอง

2014.12.23

นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชี้ การมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคที่ดีคือโอกาสทางธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมควรกดดันกันเองให้เกิดมาตรฐาน ขณะที่รัฐต้องดูว่าเรื่องใดที่กลไกตลาดอาจไม่เพียงพอแล้วเข้าไปกำกับดูแลและส่งเสริม สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักในทุกระดับการทำงาน เพราะที่ผ่านมาการรั่วไหลส่วนใหญ่เกิดจากคนในองค์กร
การละเมิดสิทธิผู้ใช้ 30 จาก 40 คะแนน

เสรีภาพเน็ตไทยปี 2557: การละเมิดสิทธิผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (สรุป Freedom on the Net 2014 ตอนที่ 4)

2014.12.19

ประเทศไทยได้คะแนนในส่วนของ "การจำกัดเนื้อหาและการสื่อสาร" (Limit on Content) 30 จาก 40 คะแนน (0 = ดีที่สุด, 40 = แย่ที่สุด) // ผู้ใช้เน็ตถูกขู่ ทำร้าย / 1 เดือนหลังรัฐประหาร เรียกตัวมากกว่า 500 คน / ค้นบ้าน ยึดค้นอุปกรณ์สื่อสาร / ดำเนินคดีคนชูสามนิ้ว // สรุปประเด็นของไทย (ตอนที่ 4) จากรายงานเสรีภาพอินเทอร์เน็ตประจำปี 2556-2557 โดยฟรีดอมเฮาส์
เปิดผลวิจัย ความเป็นส่วนตัวออนไลน์

[22 ธ.ค.] เสนอผลวิจัย+สัมมนา “บริการออนไลน์ไทยปลอดภัยแค่ไหน?: มาตรการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย”

2014.12.17

บริการออนไลน์ของไทยมีความปลอดภัยแค่ไหน เว็บไซต์ต่างๆ ดูแลข้อมูลของลูกค้าอย่างไร เราจะมีหลักอะไรในการพิจารณาเลือกบริการที่รับผิดชอบต่อลูกค้าได้บ้าง และปัจจุบันมีกฎหมายอะไรบ้างที่คุ้มครองเรา? หาคำตอบร่วมกันได้ในงานนี้

จะปลดปล่อยพลังของ Big Data ต้องจัดการกับความเป็นส่วนตัวให้ได้เสียก่อน

2014.12.17

Internet Society และพันธมิตรจัดประชุม “ความเป็นส่วนตัวในโลกอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” หารือเรื่อง Big Data และ Internet of Things กับความเป็นส่วนตัว ผู้เชี่ยวชาญชี้ นี่เป็นยุคแห่ง "data ethic" พร้อมถกประเด็นการคุ้มครองข้อมูลในยุคที่ข้อมูลเป็นดิจิทัลและไร้พรมแดน
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา

ทำไม “แท็กซี่” ต้องมีแบบเดียว? – มุมมองกฎหมายมหาชนเรื่อง Uber และการกำกับดูแลแท็กซี่

2014.12.13

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ชวนคิดทำไมรัฐจึงกำกับดูแลแท็กซี่ ควรอนุญาตให้แท็กซี่มีหลายระดับหรือไม่ ชี้ ณ วันนี้ Uber ผิดแน่นอนเรื่องความปลอดภัย
Freedom on the Net 2014 - Thailand - Limits on Content

เสรีภาพเน็ตไทยปี 2557: การจำกัดเนื้อหา (สรุป Freedom on the Net 2014 ตอนที่ 3)

2014.12.10

ไทยได้คะแนน "การจำกัดเนื้อหา" (Limits on Content) 21 จาก 35 คะแนน (0 = ดีที่สุด ไม่มีการจำกัดเนื้อหาเลย) / ตรวจสอบการสื่อสารทางสื่อสังคม / ใช้กฎอัยการศึกคุมสื่อ จับนักข่าว ผู้บริหารสถานี / ประกาศคสช.จำกัดเสรีภาพการแสดงออก / ห้ามวิจารณ์คณะรัฐประหาร / ปิดกั้นเว็บไซต์ข่าว / มีการปิดกั้นเฟซบุ๊ก กสทช. "คาดโทษ" บริษัทที่เปิดเผยว่ากสทช.เป็นผู้สั่งการปิดกั้น

มุมมอง​การคุ้มครอง​ข้อมูล​ส่วนบุคคลในยุคอินเทอร์เน็ต​จากสองทวีป​

2014.12.08

คาร์ล ฟิลิปป์ เบอร์เคิร์ต (Carl Philipp Burkert) ที่ปรึกษาด้านไอทีจากเยอรมนี มาบรรยายในหัวข้อ "ความปลอดภัยไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูล” ชวนคุยเรื่องความเป็นส่วนตัวและกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในสหภาพยุโรป
นายประวิตร ฉัตตะละดา ผู้อำนวยการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI)

สัมภาษณ์​ ประวิตร ฉัตตะละดา ผอ.ATCI ว่าด้วย “เศรษฐกิจดิจิทัล”

2014.12.08

สำหรับประเทศไทย เวลานั้นไม่มีขีดจำกัด เราถึงไม่มีความเร็ว สำหรับเรา “time is nothing” (เวลานั้นไม่มีความหมาย) -- คุยกับ ประวิตร ฉัตตะละดา กรรมการและผู้อำนวยการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย เรื่อง "เศรษฐกิจดิจิทัล"
Freedom on the Net 2014 - Thailand - Access (11/25 points)

เสรีภาพเน็ตไทยปี 2557: อุปสรรคในการเข้าถึง (สรุป Freedom on the Net 2014 ตอนที่ 2)

2014.12.05

ประเทศไทยได้คะแนนในส่วน “อุปสรรคในการเข้าถึง” (Obstacle to Access) 11 จาก 25 คะแนน (0 = ดีที่สุด) / คนเข้าถึงเน็ต 37% / ในจำนวนนี้ 34% ใช้จากสมาร์ตโฟน / อีสานเข้าถึงต่ำสุด ส่วนหนึ่งเพราะพื้นที่บริการไม่ถึง / 3G ล่าช้า เลื่อนประมูล 4G / มีนักวิชาการวิจารณ์การดำเนินนโยบายของกสทช.และถูกฟ้องหมิ่นประมาท