ความเคลื่อนไหว

มองความสัมพันธ์ทางการผลิตข่าวบันเทิง ผ่านวิวัฒนาการเทคโนโลยี (ตอนจบ)

2013.08.07

ตอนจบของบทความโดย พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ มองความเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์ทางการผลิต (Mode of Production) ของวงการบันเทิงไทย ยุคดิจิทัลทำให้การทำข่าวบันเทิงไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และยุคดิจิทัลทำให้ผู้ชมมีอำนาจมากขึ้นอย่างไร
14 ส.ค. 13:00-16:00 ห้อง 401/5 อาคารมหาจักรีสิรินธร

[14 ส.ค.] บรรยายสาธารณะ “ทรัพย์สินทางปัญญาในยุคอินเทอร์เน็ตและข้อตกลงการค้าเสรี” @ อักษรจุฬา

2013.08.07

บรรยาย "บทบาทของคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายรัฐบาล (GAC) ในเวทีนโยบายอินเทอร์เน็ตสากล" โดย วรรณวิทย์ อาขุบุตร / บรรยาย "การปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญากับการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้าและข้อมูลข่าวสาร" โดย ไมเคิล ไกสท์

มองความสัมพันธ์ทางการผลิตข่าวบันเทิง ผ่านวิวัฒนาการเทคโนโลยี (ตอนที่ 1 )

2013.08.05

พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ มองความเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์ทางการผลิต (Mode of Production) ของวงการบันเทิงไทย จากยุคแผ่นเสียง สู่ยุค MP3 และยุคยูทูบ
นิเทศจุฬาเปิดงานวิจัย "การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ที่เผยแพร่เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง"

เปิดงานวิจัย Hate Speech คำพูดเกลียดชังออนไลน์ไทย นิยามหลายระดับ กำกับต้องดูวัตถุประสงค์

2013.07.31

นิเทศจุฬา เปิดงานวิจัย "การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ที่เผยแพร่เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง" นิยามหลายระดับ กำกับต้องดูวัตถุประสงค์และความรุนแรง ยุค 2.0 สังคมควรมีส่วนร่วม ระบุนิยามและกลไกกำกับต้องชัดเจน ป้องกันถูกใช้เป็นข้ออ้างจำกัดเสรีภาพการแสดงออก
Urs Gasser ขณะบรรยาย

วัยรุ่นอเมริกันห่วงชื่อเสียงมากกว่าความเป็นส่วนตัว เลือกแชร์-ลบ-คบเพื่อนบนโซเชียลมีเดีย

2013.07.20

สรุปการบรรยายสาธารณะ "วัยรุ่น สื่อสังคม และอนาคตของความเป็นส่วนตัว" -- พบวัยรุ่นอเมริกันห่วงชื่อเสียงมากกว่าความเป็นส่วนตัว ร้อยละ 95 ใช้อินเทอร์เน็ต เกือบทั้งหมดใช้เฟซบุ๊กและเกือบทั้งหมดเป็น “เพื่อน” กับสมาชิกในครอบครัว ในขณะที่อินสตาแกรมได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวัยรุ่นรู้สึกแสดงออกได้มากกว่า นักวิจัยตั้งข้อสังเกต วัยรุ่นไม่ไร้เดียงสา รู้ว่าควรแชร์อะไรในบริบทไหน
Privacy

[งาน] เจ้าหน้าที่โครงการ Online Privacy (ครึ่งเวลา) 1 ตำแหน่ง

2013.07.19

เครือข่ายพลเมืองเน็ตรับสมัครเจ้าหน้าที่โครงการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวออนไลน์ 1 ตำแหน่ง ทำงาน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ช่วยประสานการอบรมสัมมนาเรื่องความปลอดภัยในการใช้เน็ต เดินทางนอกกรุงเทพได้ ถ้าเรียนคอมพิวเตอร์มาจะดีมาก
ขั้นตอนการดูแลเนื้อหาบนสื่ออินเทอร์เน็ตของ MOB

สพธอ.จับมือเครือข่ายสร้างมาตรฐานกำกับเนื้อหาเน็ต – นักวิชาการห่วง “ศาลเตี้ย”

2013.07.19

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และองค์กรเครือข่ายลงนามบันทึกความเข้าใจ ร่วมกำหนดมาตรฐานกำกับดูแลกันเองสำหรับเนื้อหาออนไลน์ สร้างกลไกร้องเรียนและนำเนื้อหาออก สมาคมอีคอมเมิร์ชตอบรับต้องมีเพื่อให้ทำธุรกิจง่าย สายด่วนคุ้มครองเด็กมองจำเป็นต้องมีวิธีติดตามการทำงาน กูเกิลเน้นต้องโปร่งใส ด้านนักสิทธิห่วงกลายเป็นเซ็นเซอร์ตัวเอง ขณะที่นักวิชาการกฎหมายชี้คำว่า "เนื้อหาไม่เหมาะสม" กว้างเกินไป ตั้งคำถามถึงกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจ ไอซีทีเผยแก้พ.ร.บ.คอมใหม่ให้ระงับเว็บไซต้ไม่เหมาะสมได้ทันที ไม่ต้องรอกระบวนการกฎหมาย

ดักฟังแค่ #metadata น่าจะโอเคไหม?

2013.07.07

ภาพนี้เป็นการคุยอีเมลของแอดมิน ช่วงปี 2005-2007 โดยเอาป้ายชื่อออก ไม่ให้เห็นว่าคุยกับใครบ้าง (เราเลือกในโปรแกรมได้) แต่ก็จะยังเห็นว่ามีการจับกลุ่มกี่กลุ่ม คุยกับกลุ่มไหนมากน้อยแค่ไหน เชื่อมโยงกันยังไง และถ้าลองเลื่อนเวลาให้โปรแกรมมันวาดภาพของปีต่างๆ เทียบกัน เราจะเห็นเลยว่า ชีวิตเราเคลื่อนจากคนกลุ่มนึงไปอีกกลุ่มนึงช่วงไหน ซึ่งจากข้อมูลนี้ก็พอจะบอกได้ว่า ตอนนั้นเรากำลังทำอะไรอยู่

[4 ก.ค.] บรรยายสาธารณะ “วัยรุ่น สื่อสังคม และอนาคตของความเป็นส่วนตัว” โดย Urs Gasser

2013.07.02

บรรยายสาธารณะ "วัยรุ่น สื่อสังคม และอนาคตของความเป็นส่วนตัว" (Teens, Social Media, and the Future of Privacy) โดย Urs Gasser ศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด และผู้อำนวยการบริหารศูนย์เบิร์กมานเพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคม // พฤหัสบดี 4 ก.ค. 2556 09.30-11:30 ห้อง 1001 ชั้น 10 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระบอบเจ้าที่ดินและความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต

2013.07.01

การเปิดโปงโครงการดักฟังข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตหรือโครงการ “ปริซึม” (PRISM) ของสหรัฐอเมริกา (NSA) นำมาสู่การถกเถียงอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ขณะที่เราฝากข้อมูลสำคัญต่างๆ ในชีวิตของเราไว้ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ เราในฐานะปัจเจกชนได้รับความคุ้มครองและมีความเป็นส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน Bruce Schneier เสนอให้มองความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าเป็นระบอบเจ้าที่ดินยุคใหม่ การเปรียบเทียบลักษณะนี้อาจทำให้เราเห็นทางออกด้านความปลอดภัยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากระบบเจ้าที่ดินได้