ความเคลื่อนไหว

1st Digital Democracy Conference Bangkok

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการว่าด้วยประชาธิปไตยดิจิทัลครั้งที่ 1 #DiDeBKK

2012.11.28

การจัดประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาองค์ประกอบของ Digital Democracy จากมุมมองทางวิชาการและทางปฏิบัติที่หลากหลาย รวมทั้งริเริ่มสาขาการวิจัยแบบสหสาขาวิชา เพื่อศึกษาประเด็นต่างๆที่จะเกิดตามมากับ Digital Democracy ในอนาคต โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ผู้จัดยังต้องการประสานผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีการสื่อสารระหว่างทั้งสองกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการทางการเมือง
แผนที่แสดงปริมาณการใช้เทคโนโลยี DPI เพื่อตรวจข้อมูลในเครือข่าย

ผลวิจัยระบุ ISP ไทย ส่องข้อมูลเน็ตสูงอันดับต้นของโลก

2012.11.23

คณะนักวิจัยนานาชาติพบการตรวจข้อมูลในเครือข่ายโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทย 3 ราย คือทรู ทีโอที และสามบีบี ตั้งแต่ปี 2552, 2553, 2554 โดยเมื่อถ่วงน้ำหนักทั้งประเทศแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการตรวจข้อมูลในระดับสูง หรือ "ทำกันโดยทั่วไป" (pervasive) ติดต่อกันทุกปี และสูงที่สุดในปี 2553 หนึ่งในคณะวิจัยระบุว่าส่วนใหญ่แล้วการตรวจดังกล่าวทำด้วยเหตุผลทางธุรกิจเพื่อจัดการปริมาณจราจร แต่เทคโนโลยีเดียวกันสามารถใช้เพื่อเฝ้าระวังทางการเมืองได้

[6-9 พ.ย.] ถ่ายทอดสด+เสวนา เวทีอินเทอร์เน็ตภิบาลโลก #IGF12 @ ดิจิทัลเกตเวย์

2012.11.02

พูดคุยและร่วมเวทีนโยบายอินเทอร์เน็ตของโดยสหประชาชาติ ที่อาเซอร์ไบจาน จากกรุงเทพ // 6 พ.ย. การศึกษาและการพัฒนา / 7 พ.ย. สิทธิมนุษยชนและนิติรัฐออนไลน์ / 8 พ.ย. เสรีภาพและความเกลียดชัง / 9 พ.ย. ทบทวนทิศทางการกำกับดูแลเน็ต
สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย โดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

[vdo] สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย

2012.10.24

บันทึกการเสวนาหัวข้อ “สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย” The Reading Room และเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชวนคุยกับ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องการจัดสรรทรัพยากรโทรคม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2555 ที่ห้องสมุดศิลปะ The Reading Room ตอนท้ายของการเสวนา มีคุยกันถึงเรื่องข้อเสนอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มากกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตด้วย ความยาว 2 ชั่วโมง ทั้งหมดแบ่งเป็น 5 ส่วน ในใน playlist เรียบร้อยแล้วครับ

[14 ต.ค.] บรรยาย “สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย”

2012.10.13

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จะมาบรรยายถึงหลักการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะการประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่กำลังเกิดขึ้น ปัจจัยในการตัดสินใจ พร้อมเปิดให้พลเมืองเน็ตซักถามอย่างละเอียด @ The Reading Room สีลม 19
ธง ITU

องค์กรประชาสังคมทั่วโลกค้านข้อเสนอให้ ITU ดูแลเน็ต

2012.10.01

เพื่อสนับสนุนและคุ้มครองความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ตสากลและการใช้สิทธิมนุษยชนออนไลน์ พวกเราเขียนจดหมายฉบับนี้เรียกร้องบรรดารัฐสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และตัวแทนของรัฐเหล่านั้นในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (WCIT) ให้ระงับการขยายขอบเขตของสนธิสัญญาข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITRs) ไปสู่อินเทอร์เน็ต
การประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลปี 2007

(สรุปสั้นๆ) การมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายอินเทอร์เน็ต : กระบวนการระดับภูมิภาคและระดับสากล #tcr2012

2012.09.11

สรุปเนื้อหาจากเสวนา "การมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายอินเทอร์เน็ต : กระบวนการระดับภูมิภาคและระดับสากล" ในการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2555: “อินเทอร์เน็ตกับการจัดทำนโยบายสาธารณะ” วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 อาคารศูนย์การเรียนรู้ สำนักงานไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต

Giving up on technicality is giving away your liberty (VDO interview with SEAPA Director)

2012.09.01

A video interview with SEAPA executive director which touches on four key issues: Why Internet access is human rights?, What are the roles of governments to protect Internet rights? What about civil society?, What to do with Internet Governance Forum and International Telecommunication Union?, Why we have to understand technology behind the Internet?

นวัตกรรมนโยบายสาธารณะ : พลเมืองดิจิทัล พลวัตทางเทคโนโลยี #tcr2012

2012.08.07

เอกสารจากการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 1 ช่วงเสวนา “นวัตกรรมนโยบายสาธารณะ : พลเมืองดิจิทัล พลวัตทางเทคโนโลยี” เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2555
courtesy to NathanaeIB on Flickr

ผลการวิจัย ราคาของการเซ็นเซอร์ (เบื้องต้น)

2012.07.31

ผลการวิจัยราคาของการเซ็นเซอร์: มุมมองทางเศรษฐศาสตร์ (เบื้องต้น) โดย สฤณี อาชวานันทกุล เผยแพร่ครั้งแรก ในการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2555 "อินเทอร์เน็ตกับการจัดทำนโยายสาธารณะ" วันที่ 31 กรกฎาคม 2555