2012.11.28 07:25
เอกสารจากงานสัมมนาวิชาการ “First Digital Democracy Conference Bangkok” 20 พฤศจิกายน 2555 ณ ตึกมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต (สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ), เครือข่ายพลเมืองเน็ต และโนวิสเคปคอนซัลติ้งค์กรุ๊ป
การจัดประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาองค์ประกอบของ Digital Democracy จากมุมมองทางวิชาการและทางปฏิบัติที่หลากหลาย รวมทั้งริเริ่มสาขาการวิจัยแบบสหสาขาวิชา เพื่อศึกษาประเด็นต่างๆที่จะเกิดตามมากับ Digital Democracy ในอนาคต โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ผู้จัดยังต้องการประสานผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีการสื่อสารระหว่างทั้งสองกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการทางการเมือง (ดูวัตถุประสงค์และกำหนดการทั้งหมด)
หัวข้อนำเสนอ (คลิกที่หัวข้อเพื่อดูเอกสารประกอบ)
- ปัญหาช่องว่างทางการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล — กษมา กองสมัคร (สวทช.)
- ความเป็นกลางในการให้บริการอินเทอร์เน็ต — โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- ความมั่นคงกับโลกดิจิทัล — ธีรนันท์ นันขว้าง (กองบัญชาการกองทัพไทย)
- ความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์: ความตระหนักรู้ของประชาชน — โสภาค พาณิชพาพิบูล (มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)
- ตอบโต้ Hate Speech โดยใช้ Wikipedia? — ชาญชัย ชัยสุขโกศล (มหาวิทยาลัยมหิดล)
- การก่อตัวของสถาบันของการเมืองในโลกดิจิทัล: บทบาทของสื่อใหม่ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน — สมบัติ บุญงามอนงค์ (มูลนิธิกระจกเงา)
รายงานจากงานสัมมนา
- รายงาน: ประเด็นจากการสัมมนาเรื่อง First Digital Democracy Conference Bangkok — เรียบเรียงโดย ภาคภูมิ แสงกนกกุล
- สมบัติ บุญงามอนงค์: บทบาทสื่อใหม่ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน — เรียบเรียงโดย จิตติพร ฉายแสงมงคล