องค์กรประชาสังคมทั่วโลกค้านข้อเสนอให้ ITU ดูแลเน็ต

2012.10.01 22:36

จดหมายด้านล่างนี้สะท้อนความห่วงใยจากองค์กรประชาสังคมและนักวิชาการจากทั่วโลก ต่อการประชุมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ที่กำลังจะมาถึงในเดือนธันวาคมนี้ องค์กรและบุคคลต่างๆ ที่ลงชื่อท้ายจดหมายดังกล่าวต้องการแสดงให้รัฐสมาชิกและผู้แทนรัฐบาลเห็นถึงปัญหาของกระบวนการที่ปิดของ ITU และเห็นถึงปัญหาของข้อเสนอบางชิ้นที่อาจคุกคามความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ตและอาจจำกัดการใช้สิทธิมนุษยชนออนไลน์

เราขอเชิญชวนองค์กรประชาสังคมและนักวิชาการให้เข้าร่วมการเรียกร้องนี้ จดหมายนี้เปิดให้ลงชื่อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจกรุณาติดต่อ signon@cdt.org

ดาวน์โหลดจดหมายฉบับ PDF | ต้นฉบับภาษาอังกฤษ | ภาษาสเปน

—-

ถึงบรรดารัฐสมาชิกและตัวแทนรัฐบาลในสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ:

เพื่อสนับสนุนและคุ้มครองความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ตสากลและการใช้สิทธิมนุษยชนออนไลน์ พวกเราเขียนจดหมายฉบับนี้เรียกร้องบรรดารัฐสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และตัวแทนของรัฐเหล่านั้นในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (WCIT) ให้ระงับการขยายขอบเขตของสนธิสัญญาข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITRs) ไปสู่อินเทอร์เน็ต

ที่การประชุมระดับโลกว่าด้วยการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (WCIT)1 รัฐบาลต่างๆ จะพิจารณาข้อเสนอจำนวนหนึ่งที่อาจขยายขอบเขตของข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITRS)2 ให้รวมอินเทอร์เน็ตเข้าไปด้วย การขยายขอบเขตดังกล่าวจะมีผลกระทบด้านลบอย่างสำคัญต่อความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ต ต่อผลดีที่มันสร้างให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ และต่อสิทธิมนุษยชนของพลเมือง

ดังที่ได้ยืนยันซ้ำโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รัฐบาลต่างๆ มีหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนในการตัดสินใจจัดทำนโยบายสำหรับอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม แม้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)3 จะมีความเชี่ยวชาญอย่างมากในเรื่องนโยบายและการกำกับดูแลโทรคมนาคม เราไม่เชื่อว่ามันเป็นเวทีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนานโยบายและมาตรฐานที่จะมีผลต่อการใช้สิทธิมนุษยชนบนอินเทอร์เน็ต

มากไปกว่านั้น ITU ยังไม่เปลี่ยนแปลงกระบวนการตัดสินใจที่ค่อนข้างปิดและไม่โปร่งใส ซึ่งมีเฉพาะรัฐบาลเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ ในทางตรงกันข้าม อินเทอร์เน็ตนั้นเติบโตงอกงามด้วยการอภิบาลแบบเปิดและกระจายศูนย์ โดยกลุ่มต่างๆ ทั้งตัวแทนธุรกิจ ชุมชนเทคนิค และผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รวมทั้งรัฐบาล ได้ให้ความสนใจกับประเด็นต่างๆ ในเวทีที่หลากหลาย เราเชื่อว่ากระบวนการที่เปิดกว้างและรวมเอาคนทุกกลุ่มเข้ามาเช่นนั้นจำเป็น เพื่อรับประกันว่านโยบายและมาตรฐานเทคนิคสำหรับอินเทอร์เน็ตสากลจะยังรักษาความเปิดและกระจายศูนย์ซึ่งเป็นธรรมชาติของสื่อดังกล่าว พร้อมกับคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้มัน

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กลุ่มประชาสังคมจำนวนมากได้กระตุ้นให้ ITU ปฏิรูปกระบวนการทำงาน เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวโปร่งใสอย่างเต็มที่และเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้ สาเหตุที่ผู้สนับสนุนต่างๆ ผลักดันเพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ไม่ใช่เพียงเพราะเราเชื่อว่าความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมคือวิธีการที่ดีที่สุด กระทั่งสำหรับเรื่องโครงข่ายโทรศัพท์ แต่ยังเพราะเรากลัวว่าข้อเสนอจากบางประเทศจะนำมาซึ่งการคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อสิทธิมนุษยชนบนอินเทอร์เน็ต เอกสารต่างๆ ซึ่งหลุดออกมาได้ให้รายละเอียดของข้อเสนอต่อการประชุม WCIT และยืนยันว่าความกลัวดังกล่าวเป็นความจริง ดังนั้น เราจะเรียกร้องต่อไป ทั้งให้รัฐสมาชิกจัดให้มีความโปร่งใสอย่างเต็มที่และเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถเข้าร่วมในระหว่างที่รัฐสมาชิกเตรียมตัวเพื่อการประชุม WCIT และทั้งให้ผู้แทนการประชุมทั้งหมดปฏิเสธข้อเสนอใดๆ ที่อาจคุกคามต่อความเปิดกว้างและสิทธิมนุษยชนออนไลน์

เราเรียกร้องให้รัฐสมาชิกทั้งหมด:

จัดให้มีกระบวนการเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุม WCIT ที่โปร่งใสและรวมเอาทุกภาคส่วน ซึ่งเปิดให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เราเรียกร้องให้รัฐบาลต่างๆ:

  • เปิดเผยเอกสารสู่สาธารณะ ทั้งข้อเสนอและหนังสือแสดงจุดยืนสำหรับการประชุม WCIT เอกสารจากการประชุมระดับภูมิภาคที่ได้เข้าร่วม และเอกสารที่ออกโดยรัฐสมาชิกอื่นๆ
  • จัดให้มีการปรึกษาหารือที่เปิดกว้างในเรื่อง WCIT กับสาธารณะ เพื่อที่ตัวแทนของรัฐบาลจะได้พิจารณาประโยชน์ของพลเมืองได้อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับของธุรกิจและของรัฐบาล
  • แจ้งให้พลเมืองของตนทราบถึงจุดยืนที่รัฐสมาชิกตั้งใจจะแสดงในการประชุม WCIT เกี่ยวกับข้อเสนอหลักที่เสนอโดยรัฐบาลอื่นๆ

คัดค้านการการขยายขอบเขตสนธิสัญญาข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศให้รวมถึงอินเทอร์เน็ตด้วย เราเรียกร้องให้ผู้แทนในการประชุม:

  • สอบทานข้อเสนอต่างๆ อย่างเข้มงวด ถึงผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ต นวัตกรรม และการเข้าถึงไอซีทีและการพัฒนาไอซีที
  • คัดค้านข้อเสนอที่อาจลดทอนสิทธิของผู้ใช้หรือจำกัดความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ต

ด้วยความนับถือ

Access
Article 19
Asociación por los Derechos Civiles, Argentina
Association for Progressive Communications
Association of Digital Culture ไต้หวัน
Bytes For All ปากีสถาน
Cambodian Center for Human Rights กัมพูชา
Center for Democracy & Technology สหรัฐอเมริกา
Center for Technology and Society – FGV บราซิล
Committee to Protect Journalists
Consumers International
Derechos Digitales ชิลี
Eduardo Bertoni, Centro de Estudios en Libertad de Expresión y Acceso a la Información (CELE), Universidad de Palermo อาร์เจนตินา
Electronic Frontier Foundation สหรัฐอเมริกา
European Digital Rights
Friedrich-Ebert-Stiftung ปากีสถาน
Fundación Karisma โคลัมเบีย
Global Voices
Human Rights in China สหรัฐอเมริกา
Human Rights Watch
Index on Censorship
Internet Democracy Project อินเดีย
Internet Society บัลแกเรีย
Internet Society ฟิลิปปินส์
Kictanet เคนยา
La Quadrature du Net ฝรั่งเศส
LIRNEasia
Nawaat ตูนิเซีย
Open Rights Group สหราชอาณาจักร
Open Technology Institute สหรัฐอเมริกา
OpenMedia แคนาดา
Panoptykon โปแลนด์
Public Knowledge สหรัฐอเมริกา
Reporters Without Borders
Spanish Internet Users Association
เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network)

รายชื่อเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555

1 WCIT – World Conference on International Telecommunications เป็นการประชุมระดับสนธิสัญญาของ ITU ในวันที่ 3-14 ธันวาคม 2555 ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2 ITRs – International Telecommunications Regulations ข้อบังคับนี้มีสถานะเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
3 ITU – International Telecommunication Union เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ มีหน้าที่พัฒนามาตรฐานและกฎระเบียบสำหรับการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

Tags: , , ,
%d bloggers like this: