พลเมืองเน็ตเสนอ 12 ข้อ แก้ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

2016.06.27 06:11

12 ข้อเสนอแก้ไขร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (ร่างวันที่ 26 เม.ย. 2559)

สรุปข้อเสนอบางส่วน

  • แก้มาตรา 14 (1) ให้ใช้ฟ้องหมิ่นประมาทไม่ได้ แก้มาตรา 14 (2) ให้เจาะจงใช้กับ “โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งยวด” และตัดมาตรา 14 (3) และ 14 (4) ที่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น
  • มาตรา 15 ต้องแยกแยะประเภทผู้ให้บริการ และกำหนดความรับผิดให้เหมาะสมกับประเภท เสนอให้ใช้หลักการ “แจ้งเตือนและแจ้งเตือน” (Notice and Notice) สำหรับขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับ และการนำข้อมูลออกจากระบบ
  • ประกาศรัฐมนตรีตาม มาตรา 15 และ 20 ต้องจำกัดขอบเขตไม่ให้กระทบสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส
  • ตัดมาตรา 16/2 เรื่องความผิดหากผู้ใช้มีข้อมูลที่ศาลตัดสินว่าเป็นความผิดอยู่ในครอบครอง ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ใช้มีโอกาสน้อยมากที่จะรู้ได้ และให้ใช้กลไกลตามมาตรา 20 แจ้งให้ผู้ใช้รู้ด้วยคำสั่งศาลแทน
  • ตัดมาตรา 20 (4) ที่ให้สั่งให้ปิดกั้นและลบข้อมูลได้แม้ไม่ผิดกฎหมาย
  • ให้มีการเก็บข้อมูลสถิติการใช้อำนาจปิดกั้นและลบข้อมูล หน่วยงานใดร้องขอกี่ครั้ง อ้างว่าผิดกฎหมายมาตราใดบ้าง ศาลอนุมัติหรือไม่ กี่ครั้ง เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายต่อไป
  • ให้มีการกำหนดอายุของกฎหมาย (Sunset Provision) เพื่อให้ต้องทบทวนกฎหมายตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

ดาวน์โหลดข้อเสนอโดยละเอียด PDF | OpenDocument Text

Download (PDF, 278KB)

เอกสารอ้างอิง

  1. ร่างฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาแล้ว (เรื่องเสร็จที่ 919/2558) https://ictlawcenter.etda.or.th/de_laws/download_file/2_Krisdika_Draft-de_laws_computer-related-crime-act.pdf
  2. ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ “ตั้งคณะกรรมการปิดเว็บแม้ไม่ผิดกฎหมาย” – iLaw http://ilaw.or.th/node/4092
  3. Frequently asked questions on internet intermediary liability – Association for Progressive Communications https://www.apc.org/en/pubs/frequently-asked-questions-internet-intermediary-l
  4. Directive 2000/31/EC on Electronic Commerce http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=CELEX:32000L0031:en:HTML
  5. หลักการมะนิลาว่าด้วยความรับผิดของสื่อตัวกลาง https://www.manilaprinciples.org/th
  6. The Failure of the DMCA Notice and Takedown System – Center for the Protection of Intellectual Property http://cpip.gmu.edu/2013/12/05/the-failure-of-the-dmca-notice-and-takedown-system-2/
  7. Takedown Hall of Shame – Electronic Frontier Foundation https://www.eff.org/takedowns
  8. รู้จักหลักการ “Notice and Notice” สำหรับการกำกับเนื้อหาออนไลน์ https://thainetizen.org/2016/05/notice-and-notice-content-regulation/
  9. Canada’s Approach to Intermediary Liability for Copyright Infringement: the Notice and Notice Procedure – Berkeley Technology Law Journal http://btlj.org/2014/03/canadas-approach-to-intermediary-liability-for-copyright-infringement-the-notice-and-notice-procedure/ และ Notice and Notice Regime – Innovation, Science and Economic Development Canada: “With the coming into force of the Notice and Notice regime – the final step in implementing the Copyright Modernization Act – Canadians now have balanced, modern copyright laws that will help support innovation and drive investment in the economy.” https://www.ic.gc.ca/eic/site/oca-bc.nsf/eng/ca02920.html
  10. ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2 มิ.ย. 2559 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/050/8.PDF
  11. หลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้หลักสิทธิมนุษยชนกับการสอดแนมการสื่อสาร
    ฉบับแปลภาษาไทย https://thainetizen.org/docs/13-principles/ (แปลจากฉบับวันที่ 10 ก.ค. 2556) ต้นฉบับภาษาอังกฤษ (ฉบับล่าสุด พ.ค. 2557) https://necessaryandproportionate.org
  12. ผลกระทบของการสอดแนมการสื่อสารโดยรัฐต่อการใช้สิทธิมนุษยชนเพื่อเข้าถึงความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก – รายงานของผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก แฟรงค์ ลารัว (A/HRC/23/40) (17 เม.ย. 2557) https://thainetizen.org/docs/a-hrc-23-40-surveillance-of-communications/
  13. Report of the Special Rapporteur to the Human Rights Council on the use of encryption and anonymity to exercise the rights to freedom of opinion and expression in the digital age (A/HRC/29/32) http://www.ohchr.org/EN/Issues/FreedomOpinion/Pages/Annual.aspx
  14. สิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล – รายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (A/HRC/27/37) (30 มิ.ย. 2557) https://thainetizen.org/docs/un-right-to-privacy-in-digital-age/
  15. แนวโน้มสำคัญและความท้าทายที่จะมีสิทธิของบุคคลทุกคนที่จะค้นหา ได้รับ และรับรู้ข้อมูลและความคิดทุกชนิดผ่านอินเทอร์เน็ต – รายงานของผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก แฟรงค์ ลารัว (A/HRC/17/27) (16 พ.ค. 2554) https://thainetizen.org/docs/a-hrc-17-27-right-to-internet/
  16. พ.ร.ฎ.การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/086/91.PDF
  17. Presidential Policy Directive — Critical Infrastructure Security and Resilience (PPD-21) https://www.whitehouse.gov/the-press-office/2013/02/12/presidential-policy-directive-critical-infrastructure-security-and-resil
  18. ภาระรับผิดทางกฎหมายของตัวกลาง: ปกป้องพื้นที่อินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการแสดงออกและสร้างสรรค์นวัตกรรม – Center for Democracy & Technology https://thainetizen.org/docs/cdt-intermediary-liability/
  19. กองทัพเรือ vs สำนักข่าวภูเก็ตหวาน – ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ http://freedom.ilaw.or.th/case/554
  20. Google submission hammers section 92A – PC World http://www.pcworld.co.nz/article/483729/google_submission_hammers_section_92a/
  21. Convention on Cybercrime ของ Council of Europe กำหนดความผิดเอาไว้ในลักษณะคล้ายกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของไทย คือมี 1) ความผิดที่กระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยตรง (Title 1 – Offences against the confidentiality, integrity and availability of computer data and systems ตรงกับความผิดตามมาตรา 5 ถึงมาตรา 13 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) 2) ความผิดที่เป็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ไปเพื่อกระทำความผิดที่เป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่แล้ว (Title 2 – Computer-related offences ตรงกับความผิดตามมาตรา 14) และ 3) ความผิดเกี่ยวกับตัวเนื้อหา (Title 3 – Content-related offences ตรงกับความผิดตามมาตรา 16) อย่างไรก็ตามในการบังคับใช้จริงพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 มักถูกใช้ในความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาด้วย – สิ่งหนึ่งที่ทำให้สังเกตได้ว่า ความผิดตามมาตรา 14 (computer-related offence) และมาตรา 16 (content-related offence) นั้นมีลักษณะต่างกันคือมาตรา 14 นั้นไม่มีบทยกเว้นความผิดในกรณี “นำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยสุจริต อันเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม” ดังที่มาตรา 16 มี http://www.coe.int/en/web/conventions/full-list/-/conventions/treaty/185
  22. “Single Gateway” คืนชีพ ก.ไอซีทีเสนอในพ.ร.บ.คอมพ์ ให้มีวิธีระงับข้อมูลที่เข้ารหัส SSL – เครือข่ายพลเมืองเน็ต https://thainetizen.org/2016/05/single-gateway-back-ssl-censorship/
  23. เอกสารประกอบร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่เสนอ สนช. วาระหนึ่ง https://ictlawcenter.etda.or.th/de_laws/download_file/4_Document_Draft-de_laws_computer-related-crime-act.pdf (ดูส่วนที่ 2 หน้า 28-30)
  24. ‘ครอบครอง’ สื่อลามกอนาจารเด็กผิดกฎหมาย ‘ค้า-ผลิต-เผยแพร่’ จำคุกสูงสุด 10 ปี – iLaw http://ilaw.or.th/node/3849
  25. การฟ้องหมิ่นประมาทกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 – จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน https://thainetizen.org/2016/06/defamation-computer-crime-act/
  26. หวั่น ร่างพ.ร.บ.คอมฉบับใหม่ เปิดช่องให้เลี่ยงมาตรา 20 สั่งปิดเว็บไซต์ — เครือข่ายพลเมืองเน็ต https://thainetizen.org/2015/10/digital-economy-laws-update-sawatree/

ภาพ Ipo-chan ตำรวจตรวจเน็ตในภาพประกอบ ยืมมาจากแคมเปญต้านการเซ็นเซอร์ของอินโดนีเซีย