ความเคลื่อนไหว

[งาน] โครงการวิจัยความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต รับสมัครเพื่อนร่วมงาน 2 คน

2013.03.17

เครือข่ายพลเมืองเน็ตรับสมัครนักวิจัย 1 ตำแหน่ง และนักศึกษาผู้ช่วยนักวิจัย 1 ตำแหน่ง ประจำโครงการสำรวจนโยบายความเป็นส่วนตัวและมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการออนไลน์ในประเทศไทย - รับสมัครถึงวันที่ 12 เม.ย. 2013

[30-31 ม.ค.] สัมมนาสหภาพยุโรป-ไทย ว่าด้วยการปรองดองและเสรีภาพในการแสดงออก

2013.01.23

พฤหัส 31 ม.ค. 10:45-12:30 จะมีวงเสวนา 2 วง / วงสองเกี่ยวกับกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ จากไทยมีผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลกฎหมายฉบับดังกล่าว, ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งถูกลงโทษจำคุกด้วยกฎหมายดังกล่าว, ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต, และมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศคือผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะและรัฐกิจสัมพันธ์ กูเกิลเอเชียแปซิฟิก

สฤณี อาชวานันทกุล: ข้อคิดเห็นต่อคำพิพากษาจำคุกโบรกเกอร์ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

2013.01.11

พูดอีกอย่างคือ คำพิพากษาของศาลเท่ากับว่า การพูดว่า “ตอนนี้มีข่าวลือว่า xxx” ผิดกฎหมายเท่ากับการพูดว่า “ตอนนี้ xxx” ตราบใดที่ข่าวลือนั้นเป็นเท็จ ผู้เขียนมองว่าการตีความกฎหมายแบบนี้เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เนื่องจากเท่ากับว่าเราทุกคนมีภาระจะต้องไปตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนว่า ข่าวลืออะไรเป็นความจริง ข่าวลืออะไรเป็นความเท็จ ก่อนที่จะโพสต์ข้อความใดก็ตามบนอินเทอร์เน็ต จะบอกว่ามันเป็นข่าวลือก็ไม่ได้!

[14 ม.ค.] สัมมนา “โซเชียลมีเดีย” ทำให้โลกของคนไทยกว้างขึ้นหรือแคบลง?

2013.01.08

การอภิปรายเรื่อง “บทบาทของสื่อสังคมในการเปลี่ยนแปลงสังคม” โดย ณัฏฐา โกมลวาทิน (รอยืนยัน) — ผู้ประกาศข่าวและบรรณาธิการข่าวอาเซียน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ภาวุธ พงษ์วิทยภานะ — กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งบริษัท TARAD.com สฤณี อาชวานันทกุล — เครือข่ายพลเมืองเน็ต โตมร ศุขปรีชา — บรรณาธิการอำนวยการนิตยสารจีเอ็ม สุภิญญา กลางณรงค์ — กสทช. ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดำเนินการอภิปรายโดย ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล — รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
1st Digital Democracy Conference Bangkok

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการว่าด้วยประชาธิปไตยดิจิทัลครั้งที่ 1 #DiDeBKK

2012.11.28

การจัดประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาองค์ประกอบของ Digital Democracy จากมุมมองทางวิชาการและทางปฏิบัติที่หลากหลาย รวมทั้งริเริ่มสาขาการวิจัยแบบสหสาขาวิชา เพื่อศึกษาประเด็นต่างๆที่จะเกิดตามมากับ Digital Democracy ในอนาคต โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ผู้จัดยังต้องการประสานผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีการสื่อสารระหว่างทั้งสองกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการทางการเมือง
แผนที่แสดงปริมาณการใช้เทคโนโลยี DPI เพื่อตรวจข้อมูลในเครือข่าย

ผลวิจัยระบุ ISP ไทย ส่องข้อมูลเน็ตสูงอันดับต้นของโลก

2012.11.23

คณะนักวิจัยนานาชาติพบการตรวจข้อมูลในเครือข่ายโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทย 3 ราย คือทรู ทีโอที และสามบีบี ตั้งแต่ปี 2552, 2553, 2554 โดยเมื่อถ่วงน้ำหนักทั้งประเทศแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการตรวจข้อมูลในระดับสูง หรือ "ทำกันโดยทั่วไป" (pervasive) ติดต่อกันทุกปี และสูงที่สุดในปี 2553 หนึ่งในคณะวิจัยระบุว่าส่วนใหญ่แล้วการตรวจดังกล่าวทำด้วยเหตุผลทางธุรกิจเพื่อจัดการปริมาณจราจร แต่เทคโนโลยีเดียวกันสามารถใช้เพื่อเฝ้าระวังทางการเมืองได้

[6-9 พ.ย.] ถ่ายทอดสด+เสวนา เวทีอินเทอร์เน็ตภิบาลโลก #IGF12 @ ดิจิทัลเกตเวย์

2012.11.02

พูดคุยและร่วมเวทีนโยบายอินเทอร์เน็ตของโดยสหประชาชาติ ที่อาเซอร์ไบจาน จากกรุงเทพ // 6 พ.ย. การศึกษาและการพัฒนา / 7 พ.ย. สิทธิมนุษยชนและนิติรัฐออนไลน์ / 8 พ.ย. เสรีภาพและความเกลียดชัง / 9 พ.ย. ทบทวนทิศทางการกำกับดูแลเน็ต
สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย โดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

[vdo] สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย

2012.10.24

บันทึกการเสวนาหัวข้อ “สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย” The Reading Room และเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชวนคุยกับ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องการจัดสรรทรัพยากรโทรคม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2555 ที่ห้องสมุดศิลปะ The Reading Room ตอนท้ายของการเสวนา มีคุยกันถึงเรื่องข้อเสนอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มากกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตด้วย ความยาว 2 ชั่วโมง ทั้งหมดแบ่งเป็น 5 ส่วน ในใน playlist เรียบร้อยแล้วครับ

[14 ต.ค.] บรรยาย “สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย”

2012.10.13

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จะมาบรรยายถึงหลักการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะการประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่กำลังเกิดขึ้น ปัจจัยในการตัดสินใจ พร้อมเปิดให้พลเมืองเน็ตซักถามอย่างละเอียด @ The Reading Room สีลม 19
ธง ITU

องค์กรประชาสังคมทั่วโลกค้านข้อเสนอให้ ITU ดูแลเน็ต

2012.10.01

เพื่อสนับสนุนและคุ้มครองความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ตสากลและการใช้สิทธิมนุษยชนออนไลน์ พวกเราเขียนจดหมายฉบับนี้เรียกร้องบรรดารัฐสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และตัวแทนของรัฐเหล่านั้นในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (WCIT) ให้ระงับการขยายขอบเขตของสนธิสัญญาข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITRs) ไปสู่อินเทอร์เน็ต