Category: ข่าว

ยัน “ความมั่นคง” ในร่างมั่นคงไซเบอร์ฯคือความมั่นคงสารสนเทศ ไม่ใช่ “ความมั่นคงทางทหาร”

2015.02.03

ผู้ร่างกม.เผย คนไทยไม่ค่อยใส่ใจความเป็นส่วนตัว/กม.คุ้มครองข้อมูลฯต้องให้เข้ากับบริบทแบบเอเชีย/ “ความมั่นคง” ในร่าง"มั่นคงไซเบอร์ฯ" คือความมั่นคงของระบบ ไม่ใช่ "ความมั่นคงทางทหาร"/ประธานTDRI ชี้ ศก.ดิจิทัลต้องคู่กับ Open Government

4 องค์กรประชาสังคมยื่น กมธ.รัฐธรรมนูญ สนช. สปช. ทบทวนชุดกฎหมาย “ความมั่นคงดิจิทัล”

2015.02.03

มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง, สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน, มูลนิธิโลกสีเขียว, และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ยื่นจดหมายต่อ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, และสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรียกร้องให้ทบทวนดร่างกฎหมาย “เศรษฐกิจดิจิทัล”
จับจ้องมองกฎหมายสื่อและไอซีทียุค สนช. 2558

กฎหมายไอซีทียุคสนช: ดักฟัง 4 ฉบับไม่เฉพาะ “มั่นคงไซเบอร์” นักวิชาการสื่อย้ำ “คลื่นความถี่เป็นของเราทุกคน”

2015.01.25

นักกม.เผย ร่างกม.ดักฟังมีทั้งหมด 4 ร่าง ห่วงเรื่องหน่วยงานเดียวกันดูแลข้อมูลส่วนบุคคล&ความมั่นคง วงเสวนาชี้ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณากม./แก้ไขร่างกสทช.ควรรอ รธน.ก่อน/ยกเลิกกองทุนกทปส.กระทบสื่อภาคประชาชน
ไม่มีความปลอดภัย ไม่คุ้มครองข้อมูลลูกค้า = ตัดโอกาสทางธุรกิจ

ไม่คุ้มครองความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้ผู้บริโภค = “ตัดโอกาสทางธุรกิจ” ของตัวเอง

2014.12.23

นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชี้ การมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคที่ดีคือโอกาสทางธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมควรกดดันกันเองให้เกิดมาตรฐาน ขณะที่รัฐต้องดูว่าเรื่องใดที่กลไกตลาดอาจไม่เพียงพอแล้วเข้าไปกำกับดูแลและส่งเสริม สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักในทุกระดับการทำงาน เพราะที่ผ่านมาการรั่วไหลส่วนใหญ่เกิดจากคนในองค์กร

จะปลดปล่อยพลังของ Big Data ต้องจัดการกับความเป็นส่วนตัวให้ได้เสียก่อน

2014.12.17

Internet Society และพันธมิตรจัดประชุม “ความเป็นส่วนตัวในโลกอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” หารือเรื่อง Big Data และ Internet of Things กับความเป็นส่วนตัว ผู้เชี่ยวชาญชี้ นี่เป็นยุคแห่ง "data ethic" พร้อมถกประเด็นการคุ้มครองข้อมูลในยุคที่ข้อมูลเป็นดิจิทัลและไร้พรมแดน

วาระดิจิทัลของคสช.: สองเดือนแรก

2014.08.19

ความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มด้านนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 – มีอะไรเปลี่ยนไปใน 60 วัน รายงานฉบับนี้แบ่งเป็นสองส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นรายงานสถานการณ์การควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ตและการละเมิดสิทธิเสรีภาพที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่สองเป็นการรายงานความเปลี่ยนแปลงในนโยบายสื่ออินเทอร์เน็ตและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

การควบคุมข้อมูลข่าวสารในประเทศไทยนับแต่รัฐประหาร 2557 : งานวิจัยโดย Citizen Lab

2014.07.17

Citizen Lab มหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา ได้ทดสอบการเข้าถึงเว็บไซต์ในประเทศไทยระหว่าง 22 พฤษภาคม - 26 มิถุนายน 2557 โดยใช้การทดสอบหลายวิธีเพื่อดูว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตคัดกรองการเข้าถึงเว็บไซต์อย่างไร และวิเคราะห์การรวมศูนย์ของโครงสร้างพื้นฐานในการคัดกรองเนื้อหา
Edward Snowden Christmas Message 2013 (AP/Channel 4)

“ยุติการสอดแนมมวลชน” สโนว์เดนส่งความสุขให้กับทุกคนในวันคริสต์มาส

2013.12.26

Alternative Christmas message จากเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน “เด็กที่เกิดวันนี้จะเติบโตขึ้นมาโดยไม่สามารถคิดถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวได้อีกต่อไป พวกเขาจะไม่รู้เลยว่าชั่วขณะที่เป็นส่วนตัวซึ่งไม่ถูกบันทึกและไม่ถูกวิเคราะห์นั้นเป็นอย่างไร และนี่เป็นปัญหา เพราะว่าความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญ ความเป็นส่วนตัวปล่อยให้เรากำหนดได้เองว่าเราคือใคร และเราอยากจะเป็นอะไร”
Navy Captain Uses Computer Crimes Act to Sue Journalists for Criminal Defamation

กรณีนักข่าว PhuketWan ถูกกองทัพเรือไทยฟ้อง: นักข่าวที่ทำงานเปิดเผยการละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องได้รับการคุ้มครอง

2013.12.18

กองทัพทัพเรือฟ้องสองนักข่าว "ภูเก็ตวัน" ด้วยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อ้างทำกองทัพเรือเสียชื่อเสียงจากการรายงานข่าวโรฮิงญา อเเลน มอริสัน และ ชุติมา สีดาเสถียร สองนักข่าวเข้ารายงานตัวกับตำรวจแล้วและปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา เครือข่ายพลเมืองเน็ตขอสนับสนุนการทำงานอย่างอิสระของสื่อ และเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองให้สื่อมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามทั้งทางกายภาพและทางกฎหมาย

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต: ความขัดแย้งต้องไม่พุ่งเป้าช่องทางสื่อสารของประชาชน

2013.11.30 2 comments

ภายใต้สถานการณ์อันเปราะบางนี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์เต็มไปด้วยข่าวลือและข้อมูลไร้ที่มา ประชาชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับข้อมูลที่หลากหลายและรอบด้าน เพื่อจะได้นำข้อเท็จจริงไปตรวจสอบกับข้อมูลไร้ที่มาและข่าวลือเหล่านั้น การกระทำที่ส่งผลต่อการปิดกั้นข้อมูลในภาวะเช่นนี้ จึงอันอาจนำไปสู่การเข้าใจผิดและความรุนแรงได้ ดังนั้นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นคือ การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะด้วยวิธีการและช่องทางใดก็ตาม