Category: ข่าว

ฮิวแมนไรท์สยูเอสเอ: พลเมืองสหรัฐฟ้องบริษัทเว็บโฮสติ้ง ฐานส่งข้อมูลบุคคลของเขาให้รัฐบาลไทย

2011.08.26

องค์กรสิทธิมนุษยชนสหรัฐฯ รายงานกรณีพลเมืองสหรัฐถูกทางการไทยจับกุมและสอบสวน ทั้งในประเทศไทยและในสหรัฐอเมริกา เหตุเกี่ยวพันกับเว็บไซต์ Manusaya.com ที่ทางการไทยกล่าวหาว่ามีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติ: รายงานและข้อเสนอแนะด้านเสรีภาพการแสดงออกบนอินเทอร์เน็ต

2011.08.24

รายงานว่าด้วยการสนับสนุนและปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออก ซึ่งแฟรง ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก นำเสนอต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งรายงานดังกล่าวใช้เวลาเก็บข้อมูลในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นเวลา 1 ปี (มี.ค. 2553 – มี.ค. 2554)

Google ร่วมกับมหาวิทยาลัยเยอรมนี ตั้งสถาบันวิจัยอินเทอร์เน็ตและสังคม

2011.07.14

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา เอริก ชมิดท์ ประธานกรรมการบริหารของกูเกิลประกาศสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันเพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคมในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี และตอนนี้บล็อกนโยบายสาธารณะยุโรปของกูเกิล ได้รายงานความคืบหน้าของโครงการดังกล่าว ว่าได้สถาบันวิชาการในเยอรมนี 4 แห่งมาร่วมเป็นสถาบันก่อตั้งแล้ว และจะเปิดดำเนินการในเดือนตุลาคมปีนี้

แนะนำหน่วยงานใหม่: สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.)

2011.07.13

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดตั้งองค์กรแห่งใหม่ขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะเฉพาะ ซึ้่งแน่นอนว่าจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการเข้าถึงบริการของรัฐ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ วันนี้เลยจะขอแนะนำหน่วยงานดังกล่าว ซึ่งก็คือ “สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิสก์”

ประชาสังคมอาเซียน: หยุด “คิด” ก่อนเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต

2011.06.22

ในโอกาสการประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2011 ที่สิงคโปร์ ภาคประชาสังคมในอาเซียน แสดงความเป็นห่วงต่อการควบคุมอินเทอร์เน็ตและการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลออนไลน์ พร้อมกับย้ำว่าการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตนั้น จะต้องเป็นไปตามข้อแนะนำของผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ที่ได้เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

Patient Protection Bill campaigner got charged for “forged computer data”

2011.05.22 1 comment

May 22, 2011. Thai patient rights activist [Preeyanan Lorsermvattana](http://www.ashoka.org/plorsermvattana), from [Thai Medical Error Network](http://thai-medical-error.blogspot.com/) (TMEN), was accused of "forging computer data". The data in question is from the Network's campaign to support Medical Malpractice Victims Protection Bill. A medical doctor who filed the charge is from a group of medical doctors who strongly oppose the Bill, as we learned from [Preeyanan's post in her Facebook](https://www.facebook.com/photo.php?fbid=147709408634305&set=a.146290688776177.36901.146288745443038). This is probably the first known case of using Computer-related Crime Act to stop a legal campaign, targeting one of the campaign leaders.

นักเคลื่อนไหวสิทธิผู้ป่วย ถูกหมอฟ้อง “ข้อมูลเท็จ” มาตรา 14 พ.ร.บ.คอม

2011.05.22

นักรณรงค์เพื่อสิทธิผู้ป่วย ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ถูกแพทย์แจ้งข้อกล่าวหา "นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" หลักเผยแพร่ตัวเลขประเมินสถิติคนไข้ที่เสียชีวิตจากความผิดพลาดในการรักษา ซึ่งใช้ในการรณรงค์ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยปรียนันท์ต้องเดินทางจากกรุงเทพไปรับทราบข้อกล่าวหาที่สุรินทร์

PlayStation Network ที่ถูกเจาะ ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีรูรั่วความปลอดภัย และไม่มีไฟร์วอลล์

2011.05.06 2 comments

ผู้เชี่ยวชาญเผย เครือข่ายเกมออนไลน์ PlayStation Network ของโซนี่ ถูกเจาะเนื่องจากใช้ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัย ไม่ได้ปรับปรุงเพื่อปิดรูรั่วความปลอดภัย อีกทั้งไม่ได้ติดตั้งไฟร์วอลล์ป้องกันการบุกรุก องค์สิทธิผู้บริโภคระบุเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบ

ผู้ใช้เน็ตยื่นค้านพ.ร.บ.คอมฯฉบับใหม่หน้าสภา นายกบอกไม่ต้องห่วง

2011.04.19

เครือข่ายพลเมืองเน็ต iLaw เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย และพลเมืองผู้ร่วมลงนาม นำรายชื่อประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนกว่า 560 ชื่อ ที่ร่วมกันลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันแสดงออกเพื่อ “หยุด”การนำร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เข้าสู่ครม. ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี

iLaw ล่าชื่อ รณรงค์ “หยุด” ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่

2011.04.18

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เรียกร้องให้ร่วมกันแสดงออกเพื่อหยุดการนำร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการที่อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมาย มีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพเกินความจำเป็น นอกจากจะไม่ได้แก้ไขปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แล้ว ยังเพิ่มสาระสำคัญที่ยิ่งสวนทางกับการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อีกด้วย ผู้ที่ต้องการร่วมลงชื่อ สามารถแจ้งชื่อสกุลได้ที่[เว็บไซต์ iLaw](http://ilaw.or.th/node/883) หรือทางเฟซบุ๊กในบันทึก ["หยุด" ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์](https://www.facebook.com/note.php?note_id=10150538950950551&id=299528675550) หรือส่งชื่อไปที่ ilaw@ilaw.or.th **อ่านจดหมายเปิดผนึกและร่วมลงชื่อ ที่ [http://ilaw.or.th/node/883](http://ilaw.or.th/node/883)**