Category: ข่าว

ความเป็นส่วนตัว: เรื่องร้อนในเวทีอินเทอร์เน็ตภิบาลครั้งที่ 8 #IGF2013

2013.10.28

สรุปประเด็นถกเถียงในประเด็นความเป็นส่วนตัว จากที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลครั้งที่ 8 ทั่วโลกตื่นตัวเรื่องความเป็นส่วนตัวและการสอดส่องการสื่อสาร เยาวชนห่วงการควบคุมข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคม ภาคประชาสังคมเรียกร้องมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิ ในขณะที่รัฐบาลหลายประเทศแสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อกรณีโครงการสอดแนมของสหรัฐอเมริกา โดยบราซิลและเยอรมนีเป็นหัวขบวนในการเคลื่อนไหวเรื่องนี้สู่เวทีระหว่างประเทศ

นิติมธ. เสนอ สพธอ. ตั้ง “ศูนย์ระงับข้อพิพาทออนไลน์” คุ้มครองผู้บริโภคม้วนเดียวจบ

2013.09.16

บันทึกงานสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “แนวทางการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจากการซื้อขายออนไลน์” โดยโครงการเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอันเกิดจากการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต: รัฐไทยต้องให้ความชัดเจนเรื่องการสอดส่องประชาชนบนไลน์และสื่อสังคมอื่น

2013.08.13 1 comment

แถลงการณ์ ซึ่งรวมคำถาม ข้อเรียกร้อง และคำแนะนำต่อรัฐไทยและผู้ให้บริการ ที่จะรับมือกับข่าวลืออย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธืประชาชน
นิเทศจุฬาเปิดงานวิจัย "การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ที่เผยแพร่เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง"

เปิดงานวิจัย Hate Speech คำพูดเกลียดชังออนไลน์ไทย นิยามหลายระดับ กำกับต้องดูวัตถุประสงค์

2013.07.31

นิเทศจุฬา เปิดงานวิจัย "การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ที่เผยแพร่เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง" นิยามหลายระดับ กำกับต้องดูวัตถุประสงค์และความรุนแรง ยุค 2.0 สังคมควรมีส่วนร่วม ระบุนิยามและกลไกกำกับต้องชัดเจน ป้องกันถูกใช้เป็นข้ออ้างจำกัดเสรีภาพการแสดงออก
Urs Gasser ขณะบรรยาย

วัยรุ่นอเมริกันห่วงชื่อเสียงมากกว่าความเป็นส่วนตัว เลือกแชร์-ลบ-คบเพื่อนบนโซเชียลมีเดีย

2013.07.20

สรุปการบรรยายสาธารณะ "วัยรุ่น สื่อสังคม และอนาคตของความเป็นส่วนตัว" -- พบวัยรุ่นอเมริกันห่วงชื่อเสียงมากกว่าความเป็นส่วนตัว ร้อยละ 95 ใช้อินเทอร์เน็ต เกือบทั้งหมดใช้เฟซบุ๊กและเกือบทั้งหมดเป็น “เพื่อน” กับสมาชิกในครอบครัว ในขณะที่อินสตาแกรมได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวัยรุ่นรู้สึกแสดงออกได้มากกว่า นักวิจัยตั้งข้อสังเกต วัยรุ่นไม่ไร้เดียงสา รู้ว่าควรแชร์อะไรในบริบทไหน
ขั้นตอนการดูแลเนื้อหาบนสื่ออินเทอร์เน็ตของ MOB

สพธอ.จับมือเครือข่ายสร้างมาตรฐานกำกับเนื้อหาเน็ต – นักวิชาการห่วง “ศาลเตี้ย”

2013.07.19

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และองค์กรเครือข่ายลงนามบันทึกความเข้าใจ ร่วมกำหนดมาตรฐานกำกับดูแลกันเองสำหรับเนื้อหาออนไลน์ สร้างกลไกร้องเรียนและนำเนื้อหาออก สมาคมอีคอมเมิร์ชตอบรับต้องมีเพื่อให้ทำธุรกิจง่าย สายด่วนคุ้มครองเด็กมองจำเป็นต้องมีวิธีติดตามการทำงาน กูเกิลเน้นต้องโปร่งใส ด้านนักสิทธิห่วงกลายเป็นเซ็นเซอร์ตัวเอง ขณะที่นักวิชาการกฎหมายชี้คำว่า "เนื้อหาไม่เหมาะสม" กว้างเกินไป ตั้งคำถามถึงกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจ ไอซีทีเผยแก้พ.ร.บ.คอมใหม่ให้ระงับเว็บไซต้ไม่เหมาะสมได้ทันที ไม่ต้องรอกระบวนการกฎหมาย

[งาน] โครงการวิจัยความเป็นส่วนตัวออนไลน์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต รับสมัครเพื่อนร่วมงาน 2 คน

2013.03.17

เครือข่ายพลเมืองเน็ตรับสมัครนักวิจัย 1 ตำแหน่ง และนักศึกษาผู้ช่วยนักวิจัย 1 ตำแหน่ง ประจำโครงการสำรวจนโยบายความเป็นส่วนตัวและมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการออนไลน์ในประเทศไทย - รับสมัครถึงวันที่ 12 เม.ย. 2013

สฤณี อาชวานันทกุล: ข้อคิดเห็นต่อคำพิพากษาจำคุกโบรกเกอร์ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

2013.01.11

พูดอีกอย่างคือ คำพิพากษาของศาลเท่ากับว่า การพูดว่า “ตอนนี้มีข่าวลือว่า xxx” ผิดกฎหมายเท่ากับการพูดว่า “ตอนนี้ xxx” ตราบใดที่ข่าวลือนั้นเป็นเท็จ ผู้เขียนมองว่าการตีความกฎหมายแบบนี้เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เนื่องจากเท่ากับว่าเราทุกคนมีภาระจะต้องไปตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนว่า ข่าวลืออะไรเป็นความจริง ข่าวลืออะไรเป็นความเท็จ ก่อนที่จะโพสต์ข้อความใดก็ตามบนอินเทอร์เน็ต จะบอกว่ามันเป็นข่าวลือก็ไม่ได้!
แผนที่แสดงปริมาณการใช้เทคโนโลยี DPI เพื่อตรวจข้อมูลในเครือข่าย

ผลวิจัยระบุ ISP ไทย ส่องข้อมูลเน็ตสูงอันดับต้นของโลก

2012.11.23

คณะนักวิจัยนานาชาติพบการตรวจข้อมูลในเครือข่ายโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของไทย 3 ราย คือทรู ทีโอที และสามบีบี ตั้งแต่ปี 2552, 2553, 2554 โดยเมื่อถ่วงน้ำหนักทั้งประเทศแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการตรวจข้อมูลในระดับสูง หรือ "ทำกันโดยทั่วไป" (pervasive) ติดต่อกันทุกปี และสูงที่สุดในปี 2553 หนึ่งในคณะวิจัยระบุว่าส่วนใหญ่แล้วการตรวจดังกล่าวทำด้วยเหตุผลทางธุรกิจเพื่อจัดการปริมาณจราจร แต่เทคโนโลยีเดียวกันสามารถใช้เพื่อเฝ้าระวังทางการเมืองได้
มาราธอน: อินเทอร์เน็ต การเมือง วัฒนธรรม ฉบับออกตัว

มาราธอน: อินเทอร์เน็ต การเมือง วัฒนธรรม ฉบับ “ออกตัว” — วางแผงแล้ว

2012.06.12

วางแผงแล้ว -- หนังสือเล่มนี้รวมเนื้อหาคัดสรรจากเทศกาลเน็ตติเซ่นมาราธอนและงานเสวนาโดยเครือข่ายพลเมืองเน็ตระหว่างปี 2010 และ 2011 ประกอบกับบทความเพิ่มเติมจากวิทยากรในงานเสวนาและนักเขียนรับเชิญ ซึ่งมีทั้งผู้ใช้เน็ต นักกิจกรรม นักวิชาการ ศิลปิน นักสื่อสารมวลชน และอีกสารพัด เพื่อเปิดพื้นที่วิจัย "ออนไลน์ศึกษา"