Category: บทความ

กลไกการกำกับดูแล: โค้ดสร้างค่านิยม ค่านิยมสร้างโค้ด

2011.06.14

ตอนที่ 5 ของคอลัมน์ “ความจริงจากโลกเสมือน” โดย สฤณี อาชวานันทกุล (พฤษภาคม 2554) วันนี้จะมาว่ากันเรื่อง “โค้ด” – โค้ดคอมพิวเตอร์ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของโปรแกรม เว็บไซต์ และทุกสิ่งทุกอย่างในโลกดิจิตอล แต่เราไม่ค่อยนึกถึงมันเพราะเรามองไม่เห็น หรือถ้าเห็นก็ไม่ค่อยได้ไตร่ตรอง

จัดด่วน “ใช้เน็ตแบบปลอดภัย” โดย Security-in-a-Box

2011.05.27

คู่มือฉบับย่อ เพื่อการสื่อสารอย่างปลอดภัย แปลจากเอกสารของโครงการ [Security-in-a-box](https://security.ngoinabox.org/) โดยเน้นความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ และการรักษาข้อมูลส่วนตัว ครอบคลุมเนื้อหา 6 ส่วน **"อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร", "ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย", "เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมอย่างปลอดภัย", "ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัย", "ปกป้องอีเมลให้ปลอดภัย", "รหัสผ่าน: การป้องกันด่านแรก"** แต่ละส่วนจบใน 1 หน้ากระดาษ A4 ดาวน์โหลด: [สำหรับพิมพ์ลงกระดาษ A5](http://thainetizen.org/sites/default/files/security-in-a-box-flash-cards-thai-20110527.pdf) | [A4 (แนวนอน)](http://thainetizen.org/sites/default/files/security-in-a-box-flash-cards-thai-20110527-a4print.pdf) | [ต้นฉบับ OpenDocument Text](http://thainetizen.org/sites/default/files/security-in-a-box-flash-cards-thai-20110527.odt) | [Google Docs](https://docs.google.com/document/pub?id=1RNg4ZAXt0ZXjEdBh10ebz5b87CCLXq_1ficbdSG6Yr4) "คู่มือฉบับย่อ" หรือ "flash cards" นี้สามารถพิมพ์ลงกระดาษ A5 หน้า-หลัง (หรือ A4 ด้านเดียว) ได้รวม 6 แผ่น เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการอบรม แปลไทยโดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต เนื้อหาต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยโครงการ Security-in-a-Box ซึ่งเป็นโครงการโดย [Front Line](http://www.frontlinedefenders.org/) ร่วมกับ [Tactical Technology Collective](http://www.tacticaltech.org/) สำหรับคู่มือฉบับเต็ม ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตกำลังจัดทำอยู่ โดยได้รับการสนับสนุนจาก[มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์](http://www.boell-southeastasia.org/web/47.html)

สฤณี อาชวานันทกุล: “10 + 10” สำหรับกฎหมายอินเทอร์เน็ต

2011.04.29

ตอนที่ 4 ของคอลัมน์ "ความจริงจากโลกเสมือน" โดย สฤณี อาชวานันทกุล ทดลองเสนอไอเดีย 10 เอา + 10 ไม่เอา สำหรับกฎหมายอินเทอร์เน็ต

กลไกกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และปัญหาในไทย (2): ค่านิยมในสังคมสองขั้ว

2011.04.29

ตอนที่ 3 ของคอลัมน์ "ความจริงจากโลกเสมือน" โดย สฤณี อาชวานันทกุล วันนี้จะหันมามองกลไก “ค่านิยม” บ้าง ว่ามันทำงานอย่างไร ค่านิยมออฟไลน์ส่งผลกระทบต่อสังคมออนไลน์อย่างไร สังคมออนไลน์มี “ค่านิยมเฉพาะ” อะไรบ้างหรือไม่

สถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ต: ลักษณะและนัยต่อความรับผิด

2011.01.31 6 comments

เมื่อโลกล่วงเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 อินเทอร์เน็ตก็ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตสำหรับคนส่วนใหญ่ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กที่ชอบเล่นเกมออนไลน์ คนหนุ่มสาวที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่หลักในการรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ไปจนถึงคนเฒ่าคนแก่ที่มีความสุขกับการได้กลับมาพบปะพูดคุยกับเพื่อนเก่าอีกครั้งผ่านเฟซบุ๊ก

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ‘ฮีโร่หรือผู้ร้าย’ วงการอินเทอร์เน็ตไทย?

2010.11.27

นานาทรรศนะจากนักวิชาการหลายแขนงและผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับสื่ออินเทอร์เน็ตในฐานะพื้นที่ทางการเมือง การกำกับดูแล และปัญหาจากการบังคับใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

(โดน) สวมรอยบน Facebook ด้วย Firesheep – และการป้องกัน

2010.10.26

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 27 ตุลาคม 2553 – เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับชุดคำสั่ง Idiocy ความปลอดภัยของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตนั้นถูกท้าทายอยู่ตลอดเวลา เมื่อเร็ว ๆ นี้ Eric Butler นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวอเมริกันได้เผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้การ “สวมรอย” เป็นผู้อื่นในเว็บไซต์สังคมออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Twitter นั้นง่ายเพียงคลิกเมาส์

‘ฉันไม่มีอะไรต้องปกปิด’ และความเข้าใจผิดอื่น ๆ เรื่องความเป็นส่วนตัว

2010.08.27 2 comments

“ไม่เห็นมีอะไรต้องปกปิด” (nothing to hide) หรือ “ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิด ก็ไม่เห็นต้องกลัวอะไร” วาทกรรมลักษณะนี้พบได้เสมอในการถกเถียงประเด็นสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล. ข้ออ้างนี้ไม่เพียงพบในประเทศไทย แต่เป็นข้ออ้างที่พบได้ทั่วไปทั่วโลก. ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของข้อมูล Bruce Schneier เรียกมันว่าเป็น “คำโต้แย้งเพื่อปฏิเสธความเป็นส่วนตัวที่พบได้บ่อยที่สุด” ขณะที่นักวิชาการกฎหมาย Geoffrey Stone เรียกมันว่า “คำพูดซ้ำ ๆ ที่แสนจะซ้ำซาก”. คำอ้างดังกล่าวนี้ทำให้ประโยชน์ของความเป็นส่วนตัวดูเป็นเรื่องเล็กน้อยจนไม่มีความสำคัญ และทำให้ความมั่นคงเป็นฝ่ายชนะแบบนอนมา ในการพิจารณาระหว่างความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคง.

เว็บหมิ่น

2010.08.13

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ รัฐบาล 4 ชุดหลังการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2549 ล้วนตั้งภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งให้แก่ตนเองเหมือนกัน คือปิดเว็บไซต์ที่ถูกถือว่ามีความผิดตามกฎหมายอาญา ม.112 หรือที่เรียกกันว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

บทความแปล “อย่าโทษคนนำสาร: ภาระรับผิดทางกฎหมายของสื่อตัวกลางและการคุ้มครองหลักการของอินเทอร์เน็ต”

2010.08.03

วันนี้ขอเสนอบทความสั้น ๆ ว่าด้วยสื่อตัวกลาง (Intermediary) อีกชิ้นที่จะเรียกว่าเป็นฉบับย่อของรายงาน ภาระรับผิดทางกฎหมายของตัวกลาง: ปกป้องพื้นที่อินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการแสดงออกและสร้างสรรค์นวัตกรรม ก็มิได้ห่างไกลความจริงนัก