2013.11.17 09:15
เสวนา “การยกเลิกความผิดจากการแสดงออกทางการเมืองในอาเซียนระยะเปลี่ยนผ่าน” และปาฐกถาโดย Frank La Rue ผู้รายงานพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก
ศุกร์ 22 พฤศจิกายน 2556 14:30-20:00 [Facebook event] [Google+ event]
ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [แผนที่]
มีแปลอังกฤษ<->ไทยตลอดการประชุม
“Political Expression, Violations, and Impunity in Transitional ASEAN” seminar and “Implication of States’ surveillance of communications on the exercise of human rights to privacy and to freedom of expression,” a Keynote Speech by UN Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression, Frank La Rue
4th Floor, Prajadhipok-Rambhai Barni Building, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University [maps]
กำหนดการ
- 14.30-15.00 ลงทะเบียน
- 15.00-17.00 เสวนา “การยกเลิกความผิดจากการแสดงออกทางการเมืองในอาเซียนระยะเปลี่ยนผ่าน”
- อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เจษฎ์ โทณวณิก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ดำเนินเสวนาโดย พิรงรอง รามสูต ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 17.00-17.30 เปิดเวที ถาม-ตอบ
- 17.30-18.30 รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน
- 18.30-19.30 ปาฐกถา “Implication of States’ surveillance of communications on the exercise of human rights to privacy and to freedom of expression” โดย Frank La Rue ผู้รายงานพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก
- 19.30-20.00 เปิดเวที ถาม-ตอบ
หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากการพิจารณาออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ได้นำไปสู่การอภิปรายถึงประเด็นดังกล่าวในสังคมว่า การนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดดังกล่าวนั้นเหมาะสมเพียงใด และการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวจะสร้างผลกระทบทางสังคมอย่างไร
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่เพียงเกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น กระแสความต้องการความเป็นอยู่ที่มั่นคงขึ้นของประชาชนในประเทศกลุ่มอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุม สภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม อำนาจในการจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่น สิทธิในการเลือกตั้งและอำนาจในการปกครองตัวเอง การต่อต้านการทุจริต ความไม่พอใจการดำเนินนโยบายที่ไม่โปร่งใส รวมไปถึงความขัดแย้งเชิงวัฒนธรรม ฯลฯ นำมาสู่ขบวนการทางสังคมและการแสดงออกทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ บนสื่อและบนท้องถนน ซึ่งในหลายครั้งตามมาด้วยการเผชิญหน้าระหว่างมวลชน การปราบปรามจับกุมโดยรัฐ และการออกกฎหมายควบคุมการแสดงออกที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ในบางประเทศของอาเซียนก็มีความพยายามในการยกเลิกความผิดจากการแสดงออก ผ่อนปรนการควบคุมสื่อ และปล่อยนักโทษการเมือง เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจกันในช่วงเปลี่ยนผ่านของสังคม
ในโอกาสวันรณรงค์สากลเพื่อยุติการไม่รับผิดของผู้กระทำผิด (International Day to End Impunity) ในวันที่ 23 พฤศจิกายน[1] และในโอกาสที่ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก นาย Frank La Rue เยือนประเทศไทยเพื่อร่วมเวทีปรึกษาหารือระดับภูมิภาคเอเชียเพื่อจัดทำรายงานเรื่องการแสดงออกทางการเมืองและการแสดงออกที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อีกทั้งเห็นความสำคัญของการหาความรู้ในประเด็นนโยบายของรัฐต่อการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านของสังคม สถาบันเอเชียศึกษาและศูนย์ศึกษานโยบายสื่อจึงเห็นสมควรให้มีการเสวนาสาธารณะในเรื่องดังกล่าว โดยเชิญผู้มีความรู้ในสาขาต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
[1] ตรงกับวันที่เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่มากวินดาเนา (Maguindanao massacre) ในประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2552 มีผู้เสียชีวิต 58 รายในบริเวณขบวนรถของผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในจำนวนนี้มีภรรยาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และนักข่าวอีก 32 ราย วุฒิสภาฟิลิปปินส์ประกาศรับรองให้วันดังกล่าวเป็นวันรณรงค์แห่งชาติเพื่อยุติการไม่รับผิดของผู้กระทำผิด (National Day to End Impunity)
เอกสารประกอบการเสวนา
- “ผลกระทบของการสอดแนมการสื่อสารโดยรัฐต่อการใช้สิทธิมนุษยชนเพื่อเข้าถึงความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก” — คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 23 วาระที่ 3 รายงานของผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก แฟรงค์ ลารัว (A/HRC/23/40) [ฉบับแปลไทยอย่างไม่เป็นทางการ]
- “Implications of States’ surveillance of communications on the exercise of the human rights to privacy and to freedom of opinion and expression” — Human Rights Council 23rd session. Agenda item 3. Report of the Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression, Frank La Rue. (A/HRC/23/40) (17 Apr 2013) [ต้นฉบับภาษาอังกฤษ]
- International Principles on the Application of Human Rights to Communications Surveillance
งานประชุมที่เกี่ยวข้อง: Freedom of Expression for Civil Liberties in Asia (21-23 พ.ย. 2556)
Tags: Frank La Rue, freedom of expression, impunity, political expression, seminar, surveillance