Tag: Thai Netizen Network

Digital Weekly: 18 เม.ย.-12 พ.ค. 59 สรุปข่าวนโยบายดิจิทัลรอบหลายสัปดาห์

2016.05.13

เครือข่ายพลเมืองเน็ตล่ารายชื่อจี้เฟซบุ๊กตอบ ให้ข้อมูล-ร่วมมือรัฐบาลไทยหรือไม่/ จับแอดมินเพจล้อเลียนนายก 8 คน/ เฟซบุ๊กแบนเพจ 'กูkult' ในไทย/ กกต. แจ้งความ ‘กองทุนในจังหวัดขอนแก่น’ โพสต์เฟซบุ๊ก ผิดพ.ร.บ.ประชามติ/ สนช.รับหลักการ 'ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์'-ร่างพ.ร.บ.พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล/ แบบฟอร์มของสนง.ตรวจคนเข้าเมืองถามข้อมูลโซเชียลมีเดีย บัญชีธนาคาร ชาวต่างชาติที่ขอต่อวีซ่า ฯลฯ

Digital Weekly: 26 ก.พ.-2 มี.ค. 59 สรุปข่าวนโยบายดิจิทัลรอบสัปดาห์

2016.03.03

แอมเนสตี้-เครือข่ายพลเมืองเน็ต-ไอลอว์ ยื่นจดหมายให้ครม.เปิดเผยชุดร่างกฎหมาย "มั่นคงดิจิทัล"/ ยูทูบเปิดตัวเครื่องมือเบลอบางวัตถุในวิดีโอ/ สภากลาโหมเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ไซเบอร์ป้องกันประเทศ/ นักศึกษามหาวิทยาลัยถูกจับกุมฐานขายปืนผ่านเฟซบุ๊ก/ อดีตแกนนำพรรคเพื่อไทยและอดีตรมว.กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ถูกฝากขัง เหตุโพสต์วิจารณ์รองนายก ฯลฯ

Digital Weekly: 1-21 ธ.ค. 2558 สรุปข่าวนโยบายดิจิทัลรอบ 3 สัปดาห์

2015.12.21

จับผู้โพสต์แผนผังการทุจริตโครงการราชภักดิ์-คลิกไลก์ภาพหมิ่น/ เครือข่ายพลเมืองเน็ตออกแถลงการณ์ ย้ำคลิกไลก์ไม่ผิด-ม.14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่ใช่เรื่องหมิ่นประมาท/ รมว.มหาดไทย ยันไม่ใส่ 'อาชีพ-รายได้' บนบัตรประชาชน/ เฟซบุ๊กปรับวิธีรายงานปัญหาชื่อปลอม-อธิบายเหตุผลที่เลือกใช้ชื่อง่ายขึ้น ป้องกันการรายงานกลั่นแกล้ง/ 'ศูนย์ทนายสิทธิ' จัดทำคำแนะนำหากถูกคุมตัวจากการโพสต์-แชร์ข้อความในโซเชียลมีเดีย/ ดีแทคจับมือมูลนิธิวิกิมีเดีย เปิดบริการแบบซีโรเรตติ้ง "Wikipedia Zero" ฯลฯ
มาราธอน: อินเทอร์เน็ต การเมือง วัฒนธรรม ฉบับออกตัว

มาราธอน: อินเทอร์เน็ต การเมือง วัฒนธรรม ฉบับ “ออกตัว” — วางแผงแล้ว

2012.06.12

วางแผงแล้ว -- หนังสือเล่มนี้รวมเนื้อหาคัดสรรจากเทศกาลเน็ตติเซ่นมาราธอนและงานเสวนาโดยเครือข่ายพลเมืองเน็ตระหว่างปี 2010 และ 2011 ประกอบกับบทความเพิ่มเติมจากวิทยากรในงานเสวนาและนักเขียนรับเชิญ ซึ่งมีทั้งผู้ใช้เน็ต นักกิจกรรม นักวิชาการ ศิลปิน นักสื่อสารมวลชน และอีกสารพัด เพื่อเปิดพื้นที่วิจัย "ออนไลน์ศึกษา"

[14 ธ.ค.] แถลงสถานการณ์เน็ตไทยปี 2554 + สัมมนา “น้ำท่วม ข้อมูลท้น สิทธิมนุษยชน และกลไกรัฐ”

2011.12.07

การแถลงรายงานสถานการณ์อินเทอร์เน็ตประเทศไทยประจำปี 2554 และสัมมนาสาธารณะ "น้ำท่วม ข้อมูลท้น สิทธิมนุษยชน และกลไกรัฐ" / วันพุธที่ 14 ธ.ค. 2554 9:00-16:30 น. ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้

“ชวนคิด” ประกวดออกแบบนามบัตรเครือข่ายพลเมืองเน็ต [หมดเขต 20 ก.ย.]

2011.09.08

"ชวนคิด" ร่วมกับ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ชวนออกแบบนามบัตรเครือข่ายพลเมืองเน็ต แบบไหนถูกใจกรรมการ ได้ตังค์ 3,000 บาท และงานจะถูกนำไปทำจริง ใช้งานจริง หมดเขตส่งผลงาน 20 ก.ย. ประกาศผล 30 ก.ย. 54

พลเมืองเน็ตถามนโยบายสิทธิอินเทอร์เน็ตกับพรรคการเมือง

2011.06.28

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต: ขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองแถลงนโยบายเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และสิทธิเสรีภาพประชาชนไทย -- ในโอกาสการเลือกตั้งทั่วไป 2554

[28 มิ.ย.] แถลงข่าวถามนโยบายอินเทอร์เน็ตพรรคการเมือง – เปิดตัวโครงการ “ร่างพ.ร.บ.คอมฯ ฉบับประชาชน”

2011.06.23

เครือข่ายพลเมืองเน็ต แถลงข่าว เรียกร้องพรรคการเมืองแถลงนโยบายการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ เปิดตัวการจัดทำ ร่าง “พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับประชาชน” ในวาระการเลือกตั้ง เครือข่ายพลเมืองเน็ตจะแถลงข่าวเรียกร้องให้แต่ละพรรคการเมืองเปิดนโยบายการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ว่าจะให้เสรีภาพหรือลิดรอนสิทธิ และ นโยบายเสรีภาพอินเทอร์เน็ต ว่าจะบล็อคเว็บและจับกุมสื่อออนไลน์มากขึ้นน้อยลงอย่างไร

เน็ตไทย 2553: โซเชียลมีเดียเพิ่มบทบาทในการเมือง บล็อคเว็บสูงเป็นประวัติการณ์

2011.04.07 1 comment

รายงานเสรีภาพอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พ.ศ. 2553 โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (เผยแพร่ครั้งแรก: ธันวาคม 2553) สถานการณ์โดยรวม การเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น แต่เสรีภาพในการเข้าถึงเนื้อหาน้อยลง สื่อทางสังคมอย่าง Facebook, Twitter, และ YouTube เพิ่มบทบาทอย่างสูงในทางการเมือง เว็บไซต์ถูกปิดกั้นสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะระหว่างสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการประกาศใช้กฎหมายพิเศษ ที่ให้อำนาจรัฐในการปิดกั้นเว็บโดยไม่ต้องขออำนาจศาล

[18 ธ.ค.] Clip Kino Bangkok: The Video as the Expression ฉาย “คลิป” + คุยเรื่องเสรีภาพในการสร้างสรรค์สื่อออนไลน์

2010.12.12

The Reading Room ร่วมกับ Clip Kino จากฟินแลนด์ และเครือข่ายพลเมืองเน็ต จัดกิจกรรมฉายคลิป ทั้งวีดิโอและสารคดีขนาดสั้นที่เจอออนไลน์ โดยให้ผู้ร่วมงานพกคลิปมาฉายและพูดคุยกัน และเสวนาในประเด็นที่เกี่ยวกับ “คลิป” โดยเฉพาะประเด็นการแสดงความคิดเห็น การเข้าถึง และการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่ออินเทอร์เน็ต สภาวะส่วนตัว/สาธารณะของสื่อเหล่านี้ การเซ็นเซอร์ (ทั้งจากรัฐและเซ็นเซอร์ตัวเอง) นอกจากนี้ยังเชิญบุคคลจากสาขาต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องและมีความสนใจในประเด็นเหล่านี้มาจัดโปรแกรมคลิปตามความสนใจ โดยโปรแกรมหนึ่งยาวประมาณ 10-15 นาที โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ร่วมสมัยในสังคมไทย