Tag: surveillance

การแสดงออกทางการเมือง การแทรกแซงโดยรัฐ และการยุติการไม่รับผิด ในอาเซียนระยะเปลี่ยนผ่าน

[22 พ.ย.] การแสดงออกทางการเมือง การแทรกแซงโดยรัฐ และการยุติการไม่รับผิด ในอาเซียนระยะเปลี่ยนผ่าน

2013.11.17

เสวนา "การแสดงออกทางการเมือง การแทรกแซงโดยรัฐ และการยุติการไม่รับผิด ในอาเซียนระยะเปลี่ยนผ่าน" ในโอกาสวันรณรงค์สากลเพื่อยุติการลอยนวลของผู้กระทำผิด และในโอกาสที่ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก นาย Frank La Rue เยือนประเทศไทย

ความเป็นส่วนตัว: เรื่องร้อนในเวทีอินเทอร์เน็ตภิบาลครั้งที่ 8 #IGF2013

2013.10.28

สรุปประเด็นถกเถียงในประเด็นความเป็นส่วนตัว จากที่ประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลครั้งที่ 8 ทั่วโลกตื่นตัวเรื่องความเป็นส่วนตัวและการสอดส่องการสื่อสาร เยาวชนห่วงการควบคุมข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคม ภาคประชาสังคมเรียกร้องมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิ ในขณะที่รัฐบาลหลายประเทศแสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อกรณีโครงการสอดแนมของสหรัฐอเมริกา โดยบราซิลและเยอรมนีเป็นหัวขบวนในการเคลื่อนไหวเรื่องนี้สู่เวทีระหว่างประเทศ
หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง

[25 ก.ย.] “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร” ประชุมประจำปี #tcrc13

2013.09.05

พุธ 25 ก.ย. 2556 08:30-16:30 / ห้อง 5303 อาคาร 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต / คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเครือข่ายพลเมืองเน็ต ขอเชิญร่วมการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2556 ในหัวข้อ “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร (Online Privacy and Communications Surviellance)”

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต: รัฐไทยต้องให้ความชัดเจนเรื่องการสอดส่องประชาชนบนไลน์และสื่อสังคมอื่น

2013.08.13 1 comment

แถลงการณ์ ซึ่งรวมคำถาม ข้อเรียกร้อง และคำแนะนำต่อรัฐไทยและผู้ให้บริการ ที่จะรับมือกับข่าวลืออย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธืประชาชน

ดักฟังแค่ #metadata น่าจะโอเคไหม?

2013.07.07

ภาพนี้เป็นการคุยอีเมลของแอดมิน ช่วงปี 2005-2007 โดยเอาป้ายชื่อออก ไม่ให้เห็นว่าคุยกับใครบ้าง (เราเลือกในโปรแกรมได้) แต่ก็จะยังเห็นว่ามีการจับกลุ่มกี่กลุ่ม คุยกับกลุ่มไหนมากน้อยแค่ไหน เชื่อมโยงกันยังไง และถ้าลองเลื่อนเวลาให้โปรแกรมมันวาดภาพของปีต่างๆ เทียบกัน เราจะเห็นเลยว่า ชีวิตเราเคลื่อนจากคนกลุ่มนึงไปอีกกลุ่มนึงช่วงไหน ซึ่งจากข้อมูลนี้ก็พอจะบอกได้ว่า ตอนนั้นเรากำลังทำอะไรอยู่

ระบอบเจ้าที่ดินและความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต

2013.07.01

การเปิดโปงโครงการดักฟังข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตหรือโครงการ “ปริซึม” (PRISM) ของสหรัฐอเมริกา (NSA) นำมาสู่การถกเถียงอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ขณะที่เราฝากข้อมูลสำคัญต่างๆ ในชีวิตของเราไว้ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ เราในฐานะปัจเจกชนได้รับความคุ้มครองและมีความเป็นส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน Bruce Schneier เสนอให้มองความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าเป็นระบอบเจ้าที่ดินยุคใหม่ การเปรียบเทียบลักษณะนี้อาจทำให้เราเห็นทางออกด้านความปลอดภัยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากระบบเจ้าที่ดินได้