Category: ข่าวตัด

เครือข่ายพลเมืองเน็ตท้วงนโยบายวอร์รูมไอซีที

2009.01.29

สมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต ท้วงนโยบายวอร์รูมไอซีที เรียกร้องรัฐเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายร่วมพูดคุย หาทางออก แทนการประกาศศึก กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนอิสระ และบล็อกเกอร์ (www.fringer.org) สมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต ตั้งคำถามท้วงติงถึงมาตรการล่าสุดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ว่า แทนที่ภาครัฐจะมุ่งใช้มาตรการที่ลิดรอนเสรีภาพแบบขาว-ดำ โดยไม่เคารพในวิจารณญาณของประชาชนและในทางที่ไม่โปร่งใส รัฐควรหันไปเน้นเรื่องการสร้างบรรทัดฐาน ความชัดเจน และความโปร่งใสในการบังคับใช้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เช่น ปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเพื่อตกลงกันว่า นิยามของคำว่า "หมิ่นฯ" ควรอยู่ที่ใด เว็บที่เข้าข่าย "เว็บหมิ่นฯ" มีลักษณะอย่างไร วิธีปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควรเป็นเช่นไรในทางที่จะรับประกันได้ว่า สิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่ถูกละเมิด

พลเมืองเน็ตแนะรัฐบาลตั้งเวทีระดมความเห็นแก้เว็บหมิ่น “เอ็นจีโอ” หวั่นเป็นเครื่องมือจัดการฝ่ายตรงข้าม

2009.01.29

เครือข่ายพลเมืองเน็ตร้องนายกฯจัดเวที ระดมความคิดเห็น แก้ปัญหาเว็บไซต์-วิทยุชุมชน พร้อมกำหนดนิยาม"หมิ่นเบื้องสูง" หวั่นปิดเว็บเข้าข่ายลิดรอนเสรีภาพเข้าถึงข้อมูล ทำชุมชนออนไลน์หวาดกลัว แนะต้องขอหมายศาลตามสากล เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ซอยรัชดา 14 เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าวกรณี มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามเว็บไซต์และวิทยุชุมชน เรื่อง "ขอรัฐอย่าจับเสรีภาพ สิทธิพลเมือง เป็นตัวประกัน"

พลเมืองเน็ต-คปส.-FACT ร้องรัฐ “อย่าจับสิทธิประชาชนเป็นตัวประกัน”

2009.01.29

วานนี้ (10 ม.ค.52) เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network: TNN) ร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand: FACT) จัดแถลงข่าวแสดงจุดยืน กรณีมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการจับกุม ปราบปรามเว็บไซต์และวิทยุชุมชน ในหัวข้อ “ขอรัฐอย่าจับเสรีภาพ สิทธิพลเมือง เป็นตัวประกัน” ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่อพลเมืองของตนเอง ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

คปส. ยื่นหนังสือเรียกร้องนายกฯ จัดมาตรการคุมเข้มสื่อพาดพิงสถาบัน เสนอยุติวอร์รูม

2009.01.29

คปส. ยื่นหนังสือเรียกร้องนายกฯ จัดมาตรการคุมเข้มสื่อพาดพิงสถาบัน พร้อมเสนอแนะให้รัฐยุติวอร์รูมที่ประกาศสงครามกับสื่อ เมื่อเวลา 08.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ นำเครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (เอฟเอซีที) เข้าพบและยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี

คปส.ยื่นหนังสือถึงนายกฯจี้จัดการสื่อผิดกฎหมาย

2009.01.29

(13 ม. ค.) น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ นำเครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (เอฟเอซีที) ได้พบและยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีโอกาสเข้าพบและพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานประชุม ครม.ประมาณ 5 นาที เพื่อขอให้รัฐบาลดูแลการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต และวิทยุชุมชนตามที่รัฐบาลมีนโยบายป้องกันไม่ให้มีการนำสื่อไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือพาดพิงสถาบัน

คปส.-เครือข่ายพลเมืองเน็ต-FACT ยื่นหนังสือขอความชัดเจนการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง จัดการเว็บหมิ่นสถาบันกษัตริย์

2009.01.29

เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) พร้อมด้วยเครือข่ายพลเมืองเน็ต และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) เข้ายื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความชัดเจนกรณีรัฐบาลเตรียมจะใช้ข้ออ้างเรื่องหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และความมั่นคงเข้าจัดการเวบไซต์และวิทยุชุมชน ถึงขนาดจะมีการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร รวมถึงคัดค้านการประกาศสงครามกับวิทยุชุมชนและอินเตอร์เน็ต หรือวอร์รูม โดยจะใช้งบ 80 ล้านบาท เพื่อจัดการ เพราะเป็นการละเมิดนโยบายด้านสื่อของรัฐบาลและสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน