Category: กิจกรรม

[30-31 ม.ค.] สัมมนาสหภาพยุโรป-ไทย ว่าด้วยการปรองดองและเสรีภาพในการแสดงออก

2013.01.23

พฤหัส 31 ม.ค. 10:45-12:30 จะมีวงเสวนา 2 วง / วงสองเกี่ยวกับกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ จากไทยมีผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลกฎหมายฉบับดังกล่าว, ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งถูกลงโทษจำคุกด้วยกฎหมายดังกล่าว, ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต, และมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศคือผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะและรัฐกิจสัมพันธ์ กูเกิลเอเชียแปซิฟิก

[14 ม.ค.] สัมมนา “โซเชียลมีเดีย” ทำให้โลกของคนไทยกว้างขึ้นหรือแคบลง?

2013.01.08

การอภิปรายเรื่อง “บทบาทของสื่อสังคมในการเปลี่ยนแปลงสังคม” โดย ณัฏฐา โกมลวาทิน (รอยืนยัน) — ผู้ประกาศข่าวและบรรณาธิการข่าวอาเซียน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ภาวุธ พงษ์วิทยภานะ — กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งบริษัท TARAD.com สฤณี อาชวานันทกุล — เครือข่ายพลเมืองเน็ต โตมร ศุขปรีชา — บรรณาธิการอำนวยการนิตยสารจีเอ็ม สุภิญญา กลางณรงค์ — กสทช. ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดำเนินการอภิปรายโดย ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล — รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
1st Digital Democracy Conference Bangkok

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการว่าด้วยประชาธิปไตยดิจิทัลครั้งที่ 1 #DiDeBKK

2012.11.28

การจัดประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาองค์ประกอบของ Digital Democracy จากมุมมองทางวิชาการและทางปฏิบัติที่หลากหลาย รวมทั้งริเริ่มสาขาการวิจัยแบบสหสาขาวิชา เพื่อศึกษาประเด็นต่างๆที่จะเกิดตามมากับ Digital Democracy ในอนาคต โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ผู้จัดยังต้องการประสานผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีการสื่อสารระหว่างทั้งสองกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการทางการเมือง

[6-9 พ.ย.] ถ่ายทอดสด+เสวนา เวทีอินเทอร์เน็ตภิบาลโลก #IGF12 @ ดิจิทัลเกตเวย์

2012.11.02

พูดคุยและร่วมเวทีนโยบายอินเทอร์เน็ตของโดยสหประชาชาติ ที่อาเซอร์ไบจาน จากกรุงเทพ // 6 พ.ย. การศึกษาและการพัฒนา / 7 พ.ย. สิทธิมนุษยชนและนิติรัฐออนไลน์ / 8 พ.ย. เสรีภาพและความเกลียดชัง / 9 พ.ย. ทบทวนทิศทางการกำกับดูแลเน็ต
สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย โดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

[vdo] สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย

2012.10.24

บันทึกการเสวนาหัวข้อ “สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย” The Reading Room และเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชวนคุยกับ ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องการจัดสรรทรัพยากรโทรคม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2555 ที่ห้องสมุดศิลปะ The Reading Room ตอนท้ายของการเสวนา มีคุยกันถึงเรื่องข้อเสนอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มากกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตด้วย ความยาว 2 ชั่วโมง ทั้งหมดแบ่งเป็น 5 ส่วน ในใน playlist เรียบร้อยแล้วครับ

[14 ต.ค.] บรรยาย “สิทธิการสื่อสารในสามโลก : การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย”

2012.10.13

ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จะมาบรรยายถึงหลักการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะการประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่กำลังเกิดขึ้น ปัจจัยในการตัดสินใจ พร้อมเปิดให้พลเมืองเน็ตซักถามอย่างละเอียด @ The Reading Room สีลม 19
การประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลปี 2007

(สรุปสั้นๆ) การมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายอินเทอร์เน็ต : กระบวนการระดับภูมิภาคและระดับสากล #tcr2012

2012.09.11

สรุปเนื้อหาจากเสวนา "การมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายอินเทอร์เน็ต : กระบวนการระดับภูมิภาคและระดับสากล" ในการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2555: “อินเทอร์เน็ตกับการจัดทำนโยบายสาธารณะ” วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 อาคารศูนย์การเรียนรู้ สำนักงานไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต

นวัตกรรมนโยบายสาธารณะ : พลเมืองดิจิทัล พลวัตทางเทคโนโลยี #tcr2012

2012.08.07

เอกสารจากการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 1 ช่วงเสวนา “นวัตกรรมนโยบายสาธารณะ : พลเมืองดิจิทัล พลวัตทางเทคโนโลยี” เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2555

[31 ก.ค.] Tech+Rights เชิญร่วมการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 1

2012.07.17

ณ หอประชุม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย The 1st Technology and Civil Rights Conference Tuesday, July 31, 2012 9:00-17:00
โรงเรียนพ(ล)บค่ำ #3: การต่อต้านเชิงสร้างสรรค์/การต่อต้านเชิงวัฒนธรรม: เวิร์กช็อปเชิงยุทธวิธีสำหรับศิลปินและนักกิจกรรม

เคลื่อนด้วยศิลปะ เขย่าด้วยวัฒนธรรม: บันทึกจากโรงเรียนพ(ล)บค่ำ #3

2012.07.01

ความท้าทายที่เกิดขึ้นเมือนำศิลปะมาเกี่ยวข้องกับการรณรงค์ต่อต้านต่างๆ ก็คือ ศิลปะเป็นสิ่งที่เล่นกับจินตนาการ ศิลปินต้องการพื้นที่ในการสร้างสรรค์สิ่งที่ออกไปเล่นกับจินตนาการของผู้คน แต่การรณรงค์ในด้านการเมืองจำเป็นต้องมีข้อความที่ชัดเจน ว่ากำลังพูดถึงอะไร จะเปลี่ยนแปลงอะไร และจะทำอย่างไร ดังนั้นความท้าทายของการนำศิลปะมาใช้ในการรณรงค์ต่อต้านเรื่องใดๆ จึงอยู่ที่จะทำอย่างไรให้สามารถหาสมดุลระหว่าง พื้นที่ที่เปิดให้จินตนาการทำงาน กับ ความชัดเจนของข้อความที่ต้องการจะสื่อสาร นั่นหมายความว่า จำเป็นที่จะต้องเข้าใจทั้ง ธรรมชาติของศิลปะ และ ธรรมชาติของการรณรงค์