Category: กิจกรรม

เรียน​ท้าร้อน​ ชวนมาสมัคร “โรงเรียนพลเมืองเน็ต”

2015.05.03

อะไรคือการอภิบาลอินเทอร์เน็ต/เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม​ เกี่ยวอะไรกับการอภิบาลอินเทอร์เน็ต/ความเป็นส่วนตัวเป็นส่วนไหนของอินเทอร์เน็ต/สิทธิมนุษยชนบนอินเทอร์เน็ต/ทรัพย์สินทางปัญญา จำเป็นต้องรู้ไหม/การสอดส่องเป็นเรื่องจริงหรือแค่นิยาย ฯลฯ มาหาคำตอบกัน 29​-31 พ.ค. นี้ (3 วัน) ที่มธ. ท่าพระจันทร์ คลิกสมัครเลย

4 องค์กรประชาสังคมยื่น กมธ.รัฐธรรมนูญ สนช. สปช. ทบทวนชุดกฎหมาย “ความมั่นคงดิจิทัล”

2015.02.03

มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง, สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน, มูลนิธิโลกสีเขียว, และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ยื่นจดหมายต่อ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, และสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรียกร้องให้ทบทวนดร่างกฎหมาย “เศรษฐกิจดิจิทัล”
ความจำเป็นของการมีกฎหายดักรับข้อมูลเพื่อใช้ในการอำนวยความยุติธรรม

ถกหนัก กฎหมายดักฟัง นักกฎหมายเตือนต้องเจาะจง ชั่งน้ำหนักสาธารณะ VS บุคคล

2014.12.26

นักกฎหมายชี้ กฎหมายดักฟังมีได้ แต่ต้องครบเงื่อนไข 9 ข้อ เหตุผล-เป้าหมาย-เวลาต้องชัดเจน ยังกังวลหลายอย่าง เช่น คดีทั่วไปอาจกลายเป็นคดีพิเศษไปหมด เจ้าหน้าที่อาจใช้อำนาจในทางมิชอบ กฎหมายที่ยังคลุมเครือและจะทำให้มีปัญหาภายหลัง ระบุต้องรักษาสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิของบุคคล ด้านผู้บังคับใช้กฎหมายระบุ เพื่อคุ้มครองผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ต้องมีเครื่องมือทำงานเพียงพอ ไม่ต้องการละเมิดสิทธิ
ไม่มีความปลอดภัย ไม่คุ้มครองข้อมูลลูกค้า = ตัดโอกาสทางธุรกิจ

ไม่คุ้มครองความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้ผู้บริโภค = “ตัดโอกาสทางธุรกิจ” ของตัวเอง

2014.12.23

นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชี้ การมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคที่ดีคือโอกาสทางธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมควรกดดันกันเองให้เกิดมาตรฐาน ขณะที่รัฐต้องดูว่าเรื่องใดที่กลไกตลาดอาจไม่เพียงพอแล้วเข้าไปกำกับดูแลและส่งเสริม สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักในทุกระดับการทำงาน เพราะที่ผ่านมาการรั่วไหลส่วนใหญ่เกิดจากคนในองค์กร
เปิดผลวิจัย ความเป็นส่วนตัวออนไลน์

[22 ธ.ค.] เสนอผลวิจัย+สัมมนา “บริการออนไลน์ไทยปลอดภัยแค่ไหน?: มาตรการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย”

2014.12.17

บริการออนไลน์ของไทยมีความปลอดภัยแค่ไหน เว็บไซต์ต่างๆ ดูแลข้อมูลของลูกค้าอย่างไร เราจะมีหลักอะไรในการพิจารณาเลือกบริการที่รับผิดชอบต่อลูกค้าได้บ้าง และปัจจุบันมีกฎหมายอะไรบ้างที่คุ้มครองเรา? หาคำตอบร่วมกันได้ในงานนี้
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายใหม่

[28 ส.ค.] สัมมนาวิชาการ “การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในร่างกฎหมายใหม่”

2014.08.25 2 comments

สัมมนาวิเคราะห์ร่างกฎหมายที่กำลังเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พฤหัสที่ 28 สิงหาคม 9:00-12:00 ห้อง 1001 ศูนย์ประชุมศาสตราจารย์บำรุงสุข ชั้น 10 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

NSA สอดแนมมวลชน-ดักฟังข้อมูล เกี่ยวอะไรกับเราด้วย?

2014.03.12

แมทธิว ไรซ์ (Matther Rice) เจ้าหน้าที่จากองค์กรไพรเวซี่อินเตอร์เนชันแนล ชวนคุยย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของข่าวใหญ่เกี่ยวกับการสอดแนมประชาชน ก่อนมีการออกมาเปิดเผยข้อมูลโครงการของสำนักความมั่นคงแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือ เอ็นเอสเอ (NSA) โดยแบ่งยุคเป็น 2 ยุค คือ ยุคก่อนสโนว์เดนและยุคหลังสโนว์เดน
#FightBack

11 ก.พ. วันที่โลกโต้กลับ | 11 Feb. The Day The World Fought Back

2014.02.10

วันนี้ 11 ก.พ. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกยืนเคียงข้างกัน วันนี้ ปัจเจกบุคคล องค์กรประชาสังคม และเว็บไซต์นับพันๆ แห่ง จะบอกกับรัฐบาลต่างๆ ในโลกนี้ ให้รู้ว่า เราไม่ยอมรับการสอดแนมมวลชนทั่วโลก ไม่ว่าจะที่บ้านของเราหรือต่างแดน วันนี้ เราสู้กลับ
#FightBack

[11 ก.พ.] รณรงค์ยุติการสอดแนมมวลชน + มีตติ้ง #FightBack CryptoParty

2014.02.10

ร่วมรณรงค์ให้รัฐบาลทั่วโลกยุติการสอดแนมการสื่อสารของประชาชน และพบปะแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือใช้เน็ตให้ปลอดภัย เรียนรู้วิธีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการดักฟัง #FightBack
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

[16 ธ.ค.] Thai Media Forum: 2 ปี กสทช. กับการติดตามและประเมินผลโดยเครือข่ายภาคประชาสังคม

2013.12.11

"เวทีสื่อไทย" ในวาระครบรอบ 2 ปีกสทช. เครือข่ายภาคประชาชนเปิดเวทีทบทวนการทำงานติดตามและประเมินผลงานกสทช. ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาการทำงานในอนาคตและหาทางขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังภาคส่วนอื่นๆ เพื่อให้งานติดตามกสทช. มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น