[28 ส.ค.] สัมมนาวิชาการ “การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในร่างกฎหมายใหม่”

2014.08.25 16:30

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายใหม่

พฤหัสที่ 28 สิงหาคม 2557 เวลา 9:00-12:00

ห้อง 1001 ศูนย์ประชุมศาสตราจารย์บำรุงสุข ชั้น 10 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [แผนที่]

สัมมนา​สาธารณะ​ บุคคล​ทั่วไปเข้า​ฟังได้ทันที​ ไม่มี​ค่าใช้จ่าย​

ในร่างกฎหมายมากกว่า 30 ฉบับที่เสนอสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่างพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่…) และร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อและองค์กรร่วมจัดเห็นความสำคัญของกฎหมายข้อมูลข่าวสารและเห็นว่ามีนักวิชาการหลายท่านในหลายสถาบันที่กำลังศึกษาวิจัยกฎหมายต่างๆ ดังกล่าวอยู่ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดสัมมนาวิชาการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว

วิทยากร

  • รศ.คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.เซนต์จอห์น
  • ดร.จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.หอการค้าไทย
  • ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • ดร.นคร เสรีรักษ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
  • ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการโดย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต

จัดโดย ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และ เครือข่ายพลเมืองเน็ต

เอกสารสัมมนา

ร่างกฎหมาย

  • ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ….
  • ร่างพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. ….

    (ร่างที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายใช้รับฟังความคิดเห็นเมื่อ 20 มิ.ย. 2557 – เป็นฉบับเดียวกับที่เข้าสนช.)

    ในร่างพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์จะมีส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการทางเทคโนโลยี (technological measure) เพื่อการบริหารจัดการสิทธิ์ (หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ DRM – digital rights management) ซึ่งอาจมีการเก็บข้อมูลและพฤติกรรมของผู้ใช้

  • ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย พ.ศ. ….

    ในร่างพ.ร.บ.สิ่งยั่วยุฯ มีมาตรา 16 ที่เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลที่รวมถึงข้อมูลการสื่อสารระหว่างบุคคล:

    “มาตรา 16 ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมาตรา 18 หรือ 19 หรือมีสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตรายอยู่ในพัสดุภัณฑ์ จดหมาย ตู้ไปรษณียภัณฑ์ ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจหรือศาลอาญาเพื่อการเข้าถึง ตรวจสอบ และทำสำเนาข้อมูลหรือวัตถุดังกล่าวได้

    เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้รายงานการดำเนินการต่อศาลโดยเร็ว”

บทวิเคราะห์

หลักการระหว่างประเทศ

Tags:
%d bloggers like this: