2011.10.25 10:25
ประชาสังคมเวทีโลกเรียกร้องรัฐบาลประชาธิปไตยออกกฎหมายห้ามส่งออกเทคโนโลยีที่ใช้ทำลายพลเมือง และเรียกร้องผู้ให้บริการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวคนเล่นเน็ต
เมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในการประชุมระดับโลกว่าด้วยธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ต ณ สหประชาชาติ ประเทศเคนยา กลุ่มตัวแทนจากภาคประชาสังคมร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลทั่วโลกเกี่ยวกับนโยบายด้านอินเทอร์เน็ตในฐานะเครือข่ายอันทรงพลังเพื่อส่งเสริมขบวนการประชาธิปไตยดังที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ
Amira Yahyaoui บล็อกเกอร์และนักเคลื่อนไหวด้านเสรีภาพอินเทอร์เน็ตจากประเทศตูนีเซีย เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ในนามกลุ่มภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งมาจาก บาห์เรน เบลารุส บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย อิหร่าน มาเลเซีย ไนจีเรีย ปากีสถาน รัสเซีย ไทย และสหรัฐอเมริกา
ใจความหลักในแถลงการณ์ เรียกร้องต่อรัฐบาลประชาธิปไตยทั่วโลกให้สั่งห้ามมิให้ส่งออกเทคโนโลยีที่นำไปใช้ปราบปรามพลเมือง โดยขอให้รัฐบาลออกกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ ในประเทศของตนสามารถปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณขององค์กรตนที่จะไม่ทำลายพลเมืองประเทศอื่น ๆ และคุ้มครองให้เกิดสนามการแข่งขันที่เท่าเทียม
นอกจากนี้ ตัวแทนภาคประชาสังคมจากประเทศต่าง ๆ ยังเรียกร้องให้ผู้ให้บริการร่วมส่งเสริมขบวนการประชาธิปไตย ซึ่งต้องเปิดให้มีการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัย นั่นคือต้องรักษาสิทธิความเป็นส่วนตัวและสิทธิที่จะไม่เปิดเผยชื่อด้วย
ดาวน์โหลด แถลงการณ์ตัวแทนภาคประชาสังคมโลก ว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต ปี 2554 ในแบบ PDF | OpenDocument (ภาษาอังกฤษและแปลภาษาไทย)
Download “2011 Global Civil Society Representatives Statement on Internet Governance” in PDF | OpenDocument (English with Thai translation)
***********************
(Please scroll down for English version)
แถลงการณ์ตัวแทนภาคประชาสังคมโลก ว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต ปี 2554
แถลงการณ์นี้จัดเตรียมให้ Amira Yahyaoui แห่งตูนีเซียเป็นผู้กล่าวในฐานะตัวแทนภาคประชาสังคมจากหลายภูมิภาค
30 ก.ย. 2554 กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา
ก่อนอื่น เราขอแสดงความยินดีที่มีโอกาสได้มาประชุมในที่ประชุมว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต (Internet Governance Forum – IGF) ที่ประเทศเคนยา ในฐานะชาวตูนีเซีย ดิฉันมีโอกาสได้เห็นกับตาถึงขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพในทวีปแอฟริกาที่ได้รับประโยชน์จากวิธีการสื่อสารใหม่ ๆ เมื่อมีการประชุมสุดยอดโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society – WSIS) ที่ประเทศดิฉันเมื่อปี 2548 รัฐบาลในสมัยนั้นคิดว่าเป็นการประชุมที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบเผด็จการของตน แต่เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนั้นจำนวนมาก เช่นเดียวกับคนจำนวนมากในห้องประชุมแห่งนี้ พวกเราที่มาจากตูนีเซียและต้องการอนาคตใหม่จึงได้รับแรงบันดาลใจมากมายจากเพื่อนต่างชาติที่คอยให้กำลังใจและสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพของพวกเรา ในโอกาสที่มีผู้เข้าประชุมจากทั่วโลก และต่างคนต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างหลากหลาย เป็นเหตุให้การประชุมครั้งนั้นส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลที่กดขี่ปราบปราม ตรงข้ามกับความคาดหวังของระบอบเผด็จการ เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นอุทาหรณ์ให้กับเผด็จการในที่อื่น ๆ ว่าพวกเขาจะไม่ประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของชุมชนโลกที่มีการสื่อสารกันอย่างงดงาม
เป็นครั้งแรกที่ดิฉันได้เข้าร่วมการประชุม IGF ในฐานะส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้สนับสนุนเสรีภาพด้านอินเทอร์เน็ต เรามาจากประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น บาห์เรน เบลารุส บราซิล แคนาดา จีน ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย อิหร่าน มาเลเซีย ไนจีเรีย ปากีสถาน รัสเซีย ไทย ตูนีเซีย และสหรัฐอเมริกา
ในท่ามกลางความหลากหลาย เราเห็นชอบร่วมกันดังนี้
เราขอเรียกร้องให้ประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย นำนโยบายและกฎหมายมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบอบเผด็จการกดขี่ประชาชนได้ต่อไป ซึ่งรวมถึงการสั่งห้ามอย่างเป็นระบบไม่ให้ส่งออกเทคโนโลยีไปยังรัฐบาลที่นำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้ปราบปรามพลเมืองของตนเอง จรรยาบรรณที่กำหนดขึ้นโดยสมัครใจของบริษัทขนาดใหญ่นับเป็นก้าวย่างในเชิงบวก แต่ในอีกด้านหนึ่งรัฐบาลในแต่ละประเทศก็ควรออกกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณเหล่านั้นด้วย บางบริษัทได้ให้ความเห็นว่า ยินดีหากจะมีกฎหมายเช่นนั้นเพื่อให้สนามแข่งขันเท่าเทียมกัน
นักกิจกรรมและพลเรือนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในประเทศเผด็จการ ต้องการพื้นที่ที่ปลอดภัยและเปิดเผยเพื่อการสื่อสาร รวมทั้งการสื่อสารทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ เราได้เห็นแล้วว่าเครือข่ายเช่นนั้นเป็นเครื่องมืออันทรงพลังเพื่อต่อต้านการปราบปราม ผู้ให้บริการจึงควรพยายามส่งเสริมให้ขบวนการประชาธิปไตยสามารถสื่อสารกันในลักษณะที่ปลอดภัยได้ ด้วยเหตุดังกล่าว สิทธิความเป็นส่วนตัวและสิทธิที่จะไม่เปิดเผยชื่อจึงเป็นปัจจัยหลักเพื่อประกันความปลอดภัยดังกล่าว การจำกัดสิทธิเหล่านั้นให้กระทำได้โดยกำหนดเป็นข้อยกเว้น โดยเฉพาะกรณีที่มีเงื่อนไขพิเศษและมีการกำหนดเป็นกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิอย่างชัดเจนและเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ผู้เผด็จการมักมีข้ออ้างสวยหรูเพื่อจำกัดเสรีภาพของเรา บ้างก็อ้างความมั่นคงในราชอาณาจักร บ้างก็อ้างการต่อต้านฝ่ายหัวรุนแรง บ้างก็อ้างการปกป้องศีลธรรม การคุ้มครองวัฒนธรรม การเคารพต่อศาสนา หรือการคุ้มครองเจ้าพนักงานจากการดูหมิ่น ข้ออ้างเหล่านี้ได้ถูกใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนการจำกัดสิทธิมนุษยชนของเรา ทั้งโดยผ่านการเซ็นเซอร์และการปิดกั้นการเข้าถึง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางเวทีธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ตควรแสดงจุดยืนคัดค้านอย่างเข้มแข็ง
ข้อเรียกร้องที่สำคัญเหล่านี้ไม่ใช่เป็นข้อกังวลทั้งหมดของประชาคมสิทธิมนุษยชน แต่หากได้รับการตอบสนอง ย่อมจะมีส่วนส่งเสริมบรรยากาศธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ตอย่างชัดเจนในโลก
ขอบคุณค่ะ Asante sana
—-
2011 Global Civil Society Representatives Statement on Internet Governance
The following statement was prepared for delivery by Amira Yahyaoui of Tunisia on behalf of a cross-regional group of civil society representatives
Sept. 30, 2011—Nairobi, Kenya
First, we want to say how pleased we are to be meeting at the IGF here in Kenya. As a Tunisian, I can bear witness to the fact that the movement for freedom on the African continent has been facilitated by the availability of new ways for us to communicate. When the World Summit on the Information Society was held in my country in 2005, the regime thought that it would serve to legitimate its dictatorship. Instead, because so many people were present, like those who are here in this hall, those of us in the country who wanted a new future were inspired by the show of solidarity and support from abroad for our striving for freedom. Given that so many people were present from around the globe, with so many connections to each other across the world, the effect on a repressive regime was exactly the reverse of what the dictator hoped for. This precedent shows that other dictatorships trying to exploit the magnificent prospects of the new global information society will not succeed.
I am attending the IGF for the first time and I am part of a group of internet freedom advocates. We come from Bahrain, Belarus, Brazil, Canada, China, France, Indonesia, Iran, Malaysia, Nigeria, Pakistan, Russia, Thailand, Tunisia and the United States.
As diverse as we are, we all agree on the following:
We appeal to the democracies to adopt policies and legislation that will prevent repressive regimes from continuing to oppress their people. This means that the export of technologies to governments that use them to repress their citizens should systematically be banned. Voluntary codes of conduct adopted by major companies are a positive step that should be backed up by strong legislation enacted by their home governments. Some companies have indicated that they would welcome such legislation to create a level playing field.
Activists and ordinary citizens everywhere, especially those living under repressive regimes, need a safe and open environment for communicating, including on social networks. We have seen that such networks provide a powerful tool against repression. Those who provide such services should therefore make it possible for democratic movements to communicate among themselves in a secure way. In that regard, privacy and the right to anonymity are major factors for security. Any violation of those principles must be the exception, allowed only in extraordinary circumstances defined by law in accordance with the Universal Declaration of Human Rights.
Dictators always have a good excuse to limit our freedoms, whether in the name of national security, defending against extremism, safeguarding morality, cultural protection, respect for religion, or protection of officials against insult. These are all among the pretexts for limiting our human rights through censorship and denial of access, against which the IGF should take a strong stand.
These essential demands are not, of course, the only concerns of the human rights community. If they were to be met, however, they would clearly improve the climate for internet governance in the world.
Thank you for your attention. Asante sana.
Tags: export policy, internet governance, Internet Governance Forum