Tag: Thai Netizen Network

ค้านมาตรการวอร์รูมคุมสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน เรียกร้องรัฐเปิดการมีส่วนรวมและสร้างความชัดเจน

2009.01.29

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 9.00 น.เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย นำโดยนายกานต์ ยืนยง นายไกลก้อง ไวทยากร นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นายสุเทพ วิไลเลิศ นายสุนิตย์ เชรษฐา นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีซึ่งได้มารับหนังสือและเจรจาเป็นเวลา 5 นาทีโดยรับเรื่องและข้อเสนอคัดค้านการจัดตั้งวอร์รูม หรือการประกาศสงครามกับสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน หลังจากที่ได้เข้าพบ พบว่ารัฐบาลไม่ได้มีแนวทางการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งอาจจะต้องตั้งคณะทำงานร่วมต่อไป ในหนังสือยื่นต่อนายกฯมีรายละเอียดดังนี้

เครือข่ายพลเมืองเน็ตท้วงนโยบายวอร์รูมไอซีที

2009.01.29

สมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต ท้วงนโยบายวอร์รูมไอซีที เรียกร้องรัฐเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายร่วมพูดคุย หาทางออก แทนการประกาศศึก กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนอิสระ และบล็อกเกอร์ (www.fringer.org) สมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต ตั้งคำถามท้วงติงถึงมาตรการล่าสุดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ว่า แทนที่ภาครัฐจะมุ่งใช้มาตรการที่ลิดรอนเสรีภาพแบบขาว-ดำ โดยไม่เคารพในวิจารณญาณของประชาชนและในทางที่ไม่โปร่งใส รัฐควรหันไปเน้นเรื่องการสร้างบรรทัดฐาน ความชัดเจน และความโปร่งใสในการบังคับใช้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เช่น ปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเพื่อตกลงกันว่า นิยามของคำว่า "หมิ่นฯ" ควรอยู่ที่ใด เว็บที่เข้าข่าย "เว็บหมิ่นฯ" มีลักษณะอย่างไร วิธีปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ควรเป็นเช่นไรในทางที่จะรับประกันได้ว่า สิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่ถูกละเมิด

พลเมืองเน็ตแนะรัฐบาลตั้งเวทีระดมความเห็นแก้เว็บหมิ่น “เอ็นจีโอ” หวั่นเป็นเครื่องมือจัดการฝ่ายตรงข้าม

2009.01.29

เครือข่ายพลเมืองเน็ตร้องนายกฯจัดเวที ระดมความคิดเห็น แก้ปัญหาเว็บไซต์-วิทยุชุมชน พร้อมกำหนดนิยาม"หมิ่นเบื้องสูง" หวั่นปิดเว็บเข้าข่ายลิดรอนเสรีภาพเข้าถึงข้อมูล ทำชุมชนออนไลน์หวาดกลัว แนะต้องขอหมายศาลตามสากล เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ซอยรัชดา 14 เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าวกรณี มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามเว็บไซต์และวิทยุชุมชน เรื่อง "ขอรัฐอย่าจับเสรีภาพ สิทธิพลเมือง เป็นตัวประกัน"

พลเมืองเน็ต-คปส.-FACT ร้องรัฐ “อย่าจับสิทธิประชาชนเป็นตัวประกัน”

2009.01.29

วานนี้ (10 ม.ค.52) เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network: TNN) ร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand: FACT) จัดแถลงข่าวแสดงจุดยืน กรณีมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการจับกุม ปราบปรามเว็บไซต์และวิทยุชุมชน ในหัวข้อ “ขอรัฐอย่าจับเสรีภาพ สิทธิพลเมือง เป็นตัวประกัน” ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่อพลเมืองของตนเอง ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

คปส. ยื่นหนังสือเรียกร้องนายกฯ จัดมาตรการคุมเข้มสื่อพาดพิงสถาบัน เสนอยุติวอร์รูม

2009.01.29

คปส. ยื่นหนังสือเรียกร้องนายกฯ จัดมาตรการคุมเข้มสื่อพาดพิงสถาบัน พร้อมเสนอแนะให้รัฐยุติวอร์รูมที่ประกาศสงครามกับสื่อ เมื่อเวลา 08.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ นำเครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (เอฟเอซีที) เข้าพบและยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี

คปส.ยื่นหนังสือถึงนายกฯจี้จัดการสื่อผิดกฎหมาย

2009.01.29

(13 ม. ค.) น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ นำเครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (เอฟเอซีที) ได้พบและยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีโอกาสเข้าพบและพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานประชุม ครม.ประมาณ 5 นาที เพื่อขอให้รัฐบาลดูแลการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต และวิทยุชุมชนตามที่รัฐบาลมีนโยบายป้องกันไม่ให้มีการนำสื่อไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือพาดพิงสถาบัน