Tag: press freedom

Thai webmaster detained as Web censorship grows

2009.03.07

BANGKOK (AP) — Police detained a webmaster at one of Thailand's top online newspapers on Friday after they said they found a reader's comments offensive to the Thai monarchy posted on the site. The raid on the Prachatai offices comes amid a crackdown on Web sites that authorities say are critical of the monarchy and a flurry of prosecutions for "lese majeste" — a law that prohibits insulting the country's revered king.

เทคนิคเฝ้าระวังภัยเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

2009.03.04

มติชนออนไลน์ได้สรุปวิธีการติดตามและปิดกั้นเว็บไซ้ท์ที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าไม่เหมาะสมไว้ที่เทคนิคเฝ้าระวังภัยเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

Test Thai ‘net censorship: Herdict–fun and easy!

2009.02.28

[FACT comments: We have been talking about distributed network reporting of censored websites for some time. Herdict makes doing your netizen’s civic duty easy. Don’t be a sheep! Test your ISP in Thailand. Use Herdict’s results to look at the sites Thai government doesn’t want you to see using anonymous proxies or VPN. We suggest, in your spare time, entering the URLs in the “Participate” column, “Test a Specific Site” at http://www.herdict.org/web/ from Thailand’s leaked MICT blocklists, and the blocklists from Sweden, Finland, Denmark, Romania and Turkey, available on FACTsite for testing. We think Herdict is the best invention since sliced bread! What remains to be seen is whether Thai government will block Herdict or allow us to force government transparency in censorship.]

แถลงการณ์จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อพลเมือง วันที่ 29 พฤษภาคม 2551

2009.01.29

แถลงการณ์จาก ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อพลเมือง ผู้สนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 29 พฤษภาคม 2551 "ขอเรียกร้องความรับผิดชอบจากนายเทพไท เสนพงศ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ และ ขอเชิญชวนพลเมืองทุกคนร่วมกันปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น"

ค้านมาตรการวอร์รูมคุมสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน เรียกร้องรัฐเปิดการมีส่วนรวมและสร้างความชัดเจน

2009.01.29

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 9.00 น.เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย นำโดยนายกานต์ ยืนยง นายไกลก้อง ไวทยากร นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นายสุเทพ วิไลเลิศ นายสุนิตย์ เชรษฐา นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีซึ่งได้มารับหนังสือและเจรจาเป็นเวลา 5 นาทีโดยรับเรื่องและข้อเสนอคัดค้านการจัดตั้งวอร์รูม หรือการประกาศสงครามกับสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน หลังจากที่ได้เข้าพบ พบว่ารัฐบาลไม่ได้มีแนวทางการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งอาจจะต้องตั้งคณะทำงานร่วมต่อไป ในหนังสือยื่นต่อนายกฯมีรายละเอียดดังนี้

เชื่อปิด ‘ฟ้าเดียวกัน’ ไม่ใช่แค่เรื่องของเอกชน

2009.01.29

ความคืบหน้ากรณี http://sameskybooks.org เว็บไซต์ของวารสารฟ้าเดียวกันถูกปิด เพราะเอกชนผู้ให้บริการพื้นที่บนอินเตอร์เน็ต (web hosting) บอกเลิกการให้บริการ หลังผู้ให้บริการฝากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Internet data center – IDC) ปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพราะเห็นว่ากระดานสนทนา (เว็บบอร์ด) ของเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันมีข้อความอันเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน ให้สัมภาษณ์ว่า แม้จะไม่มีคำสั่งรัฐปรากฎเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ไม่เชื่อว่าเอกชนจะเป็นผู้ทำเพียงฝ่าย โดยเขาเชื่อว่าอาจมีการสั่งการจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กดดันมาเป็นทอดๆ โดยมีการปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์จนทำให้เว็บไซต์จำนวนมากได้รับผลกระทบ เพื่อบีบให้โฮสต์ติ้งจำเป็นต้องปิดเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน

40 ส.ว.จี้ล้างเว็บไซต์หมิ่นเบื้องสูง

2009.01.29

วันเดียวกัน นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีกลุ่มองค์กรภาคประชาชนไม่เห็นด้วยกับแนวทางรัฐบาล ที่จะแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง

RSF: หรือไทยจะเป็น “ศัตรูของอินเทอร์เน็ต” รายใหม่?

2009.01.29

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) เพิ่มระดับความวิตกกังวลต่อต่อเสรีภาพของการแสดงความเห็นผ่านโลกออนไลน์ใน ประเทศไทยอีกครั้ง หลัง ใจ อึ๊งภากรณ์ ถูกดำเนินคดีหมิ่นเป็นรายล่าสุด พร้อมประณามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เป็นตัวแทนในการสร้างกลไก รุกรานเสรีภาพในการแสดงออก

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนสรุปเสรีภาพเน็ตปี 2551

2009.01.29

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน สรุปสถานการณ์เสรีภาพสื่อ 2551 ระบุเอเชีย แปซิฟิก มาเกร็บ (แอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ) และตะวันออกกลาง ยังคงเป็นพื้นที่อันตรายที่สุดสำหรับสื่อ และอินเทอร์เน็ตคือสมรภูมิใหม่ในการปิดกั้นควบคุม องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน หรือ Reporters Without Borders (RSF) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศไม่แสวงกำไรที่เคลื่อนไหวรณรงค์ประเด็นเสรีภาพสื่อ จะจัดทำรายงานสถานการณ์เสรีภาพสื่อเป็นประจำทุกปี ทั้งรายงานภาพรวมทั่วโลก ตามภูมิภาค และตามประเทศ โดยปี 2551 ที่ผ่านมาได้สำรวจใน 98 ประเทศ โดยครั้งนี้ได้แยกเสรีภาพอินเทอร์เน็ตออกมาเป็นการเฉพาะด้วย ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีบล็อกเกอร์ถูกจับ 59 ราย และถูกฆ่าหนึ่งราย