สรุปเวทีวิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต (2) [เมธา มาสขาว]

2009.07.08 01:34

เวทีวิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต
วันที่ 29 เมษายน 2552
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

ผู้ดำเนินรายการ เมธา มาสขาว

คุณสุภิญาก็ได้พูดเสนอได้อย่างลงตัวชัดเจน รวมถึงข้อเสนอทางออก หลายเรื่องได้โยงคำถามมายังนักสิทธิมนุษยชนหลายคำถาม ก็หันมามองว่ามีใครบ้าง หรือแม้ว่าผม ผมลืมแนะนำตัวครับ ผมเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน ก็รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการในวันนี้และเพื่อเป็นการประมวลผลและก็อาจจะ เป็นกระบวนการการทำงานในอนาคตในเรื่องของสิทธิของพลเมืองเน็ต จะมีคุณอังคนา นีละไพจิตร ตามมาอีกท่าน

แต่ว่าโดยรวมแล้วเราก็เห็นว่า ถ้าภาคประชาชนไทยนอกจากต้องการคนที่ต้องการต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้อื่น หรือแม้กระทั่งต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองของตนเองก็สำคัญ จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน หรือถ้าคนไทยหลาย ๆคน มีความกระตื้อรื้อล้นก็จะทำให้ทางออกของสังคมไทยแก้ไม่ยากนะครับ

หลายเรื่องที่คุณสุภิญญาพูดก็อาจจะเป็นปัญหาที่ยิ่งคิดยิ่งปวดหัว หันไปย้อนดูกฎหมายที่ละเมิดสิทธิ จริงแล้วช่วงก่อนที่รัฐประหารด้วยซ้ำ กรรมการปฎิรูปกฎหมายก็พยายามรื้อออกมาก็มี 600-700 กว่าฉบับ จริง ๆ แล้วที่มันละเมิดอยู่และไม่ได้แก้ไขตามรัฐธรรมนูญ 2540 ในอดีต จริง ๆ แล้วเรื่องที่เราคุยกันเนื้อหาหลักอยู่ที่การตีความ การอ้างความมั่นคงรัฐในการใช้กฎหมายต่าง ๆ นั้นไปคาบเกี่ยวการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

คุณสุภิญญาได้พูดถึงกฎหมายคอมพิวเตอร์ ที่โลกเปลี่ยนแต่ปัญหายังไม่เปลี่ยน ซึ่งก็น่าคิดต่อว่ากฎหมายคอมพิวเตอร์อาจจะเน้นสองส่วนหลัก คือ ความผิดที่การเกิดอาชญากรรมโดยการใช้คอมพิวเตอร์โดยตรงหรือการที่ใช้ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การละเมิด

ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพทางความคิดเห็น ซึ่งก็ไปพ่วงอีกกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นประมาทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป ผมเคยได้คุยกับนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องสังคมที่เป็นอารยะ กฎหมายที่เป็นการหมิ่นประมาท ไม่จำเป็นต้องมีด้วยซ้ำ การที่เป็นเรื่องหมิ่นประมาท สังคมที่มีวุฒิภาวะแล้วตระหนักรู้แล้วก็คนที่เปิดประเด็นในการโจมตีผู้อื่น โดยไร้หลักฐานก็จะเป็นคนที่น่ารังเกียจของสังคมเอง

แต่ว่าสังคมไทยเองยังก้าวไปไม่ถึงด้วยซ้ำ แล้วก็ยังถูกกฎหมายเหล่านี้มากระทำอยู่เรื่อย ๆ อีกเรื่องหนึ่งก็คือความคุมเครือของการตีความเรามีกฎหมายอย่างน้อยมาช่วง หลัง ๆ มีสองฉบับที่เป็นกฎหมายเปลี่ยนรูปออกมาในรูปแบบการใช้อำนาจแบบเก่า คือกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ซึ่งครอบคุมถึง สิทธิทางความเห็น ความเชื่อทางการเมืองผ่านระบบทางอินเทอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ด้วย อาจจะเปลี่ยนรูปมาจาก พ.ร.บ.คอมมิวนิสต์ด้วย

พ.ร.บ.ความมั่งคง ก็ชัดเจนว่าเป็นการพยายามรองรับอำนาจทางทหาร ในโลกโลกาภิวัตน์ ซึ่งสองกฎหมายที่ว่านี้ถูกนำมาในการจัดระเบียบใช้ในโลกยุคใหม่ ยุคโลกาภิวัตน์ที่ซับซ้อน และกฎหมายสองอันนี้ก็มีปัญหามาก ทางองค์กรสิทธิก็ออกเคลื่อนไหวในอดีตให้ยกเลิกหรือแก้ไข กฎหมายคอมพิวเตอร์ที่เป็นปัญหานี้ดูเหมือนว่ากำลังจะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อีกด้วยซ้ำ ซึ่งมีเนื้อหาทีรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่คุณสุภิญญา ก็ชวนพวกเราคุยว่าในแง่ของการกระทำความผิดฐานความผิดทางคอมพิวเตอร์ซึ่งมันรุนแรงกว่าการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงกับบุคคล โทษที่มันหนักในกฎหมายนี้ 10–20 ปีอาจจะต้องมีการปรับปรุงในอนาคตอันนี้คือเบื้องต้นที่ อาจจะเป็นข้อเสนอหนึ่งในการที่จะคุยกันเพื่อรณรงค์ต่อ

ผมขอต่อไปที่ ท่านผู้มีประสบการณ์เคลื่อนไหวเรื่องนี้มาอย่างยาวนานด้วย เชิญ อ.จอน อึ้งภากรณ์ ต่อครับ …

Tags: , ,