สรุปเวทีวิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต (1) [สุภิญญา กลางณรงค์]

2009.07.08 01:17

เวทีวิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต
วันที่ 29 เมษายน 2552
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

วิทยากร สุภิญญา กลางณรงค์

ข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมธาก็ได้สรุปไปบ้างแล้ว ซึ่งก็เป็นเอกสารที่ได้ทำและนำเสนอไปก่อนหน้านี้เหมือนกัน เป็นเรื่องเคส แต่จริงทั้ง 5 เคสที่ได้พูดไป คือผู้ที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวข้องกับความผิดที่ถูกกล่าวหาว่านำเสนอเนื้อหา ที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ คือถ้าดูเรื่องพลเมืองเน็ตและผลกระทบจากกฎหมาย พระบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ทั้งหมดก็อาจจะมีหลายรายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ก็ถูกดำเนินคดีจาก พรบ คอมพิวเตอร์ฯ โดยที่มีปัญหาเรื่องกระบวนการอย่างเช่นในกรณีเว็บมาสเตอร์ของ 212 café ซึ่งก็เจอข้อหาเดี่ยวกันกับที่คุณจีรนุชเจอ คือมาตรา 15 คือยินยอมพร้อมใจให้มีเนื้อหาที่ขัดต่อกฎหมาย ก็กลายเป็นว่าคนที่ดูแลหรือเว็บมาสเตอร์ก็คือคนที่ผิดไปด้วย แม้จะไม่ได้เห็นด้วยกับคนที่โพสต์ข้อความนั้น

กฎหมาย พ.ร.บ.ความผิดคอมพิวเตอร์ฯ ครอบคลุมความรับผิดชอบไปถึงทุกคน ที่อยู่และใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะคนที่ดูแลเว็บ อันนี้ก็เป็นประการสำคัญที่คนในวงการอินเทอร์เน็ตก็พูดมายาวนาน ว่าส่งผลกระทบต่อวงกว้างที่ไม่เฉพาะแค่มิติเรื่องการเมือง มิติทั่ว ๆ ไปก็อาจก่อให้เกิดการใช้กฎหมายขัดสิทธิและเสรีภาพและก็ขาดความเป็นธรรมด้วย ก็ได้

แต่วันนี้อาจจะไม่ได้ขยายตรงนี้มากเพราะเราจะเน้นเรื่อง ผลกระทบเรื่องการเมืองซึ่งไม่ว่าจะเป็นคดีเรื่องความมั่งคงของรัฐโดยตรงเป็น หลัก ต้องเริ่มต้นด้วยการพูดว่าตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมายนี้ตั้งแต่ 2 ปีทีแล้ว (พ.ศ. 2550) ก็ มีหลายคดีที่เกิดขึ้น หลายคดีก็เกี่ยวข้องกับอาชญกรรมคอมพิวเตอร์ หลายคดีก็ยังคลุมเครือเกี่ยวกับอาชญกรรมคอมพิวเตอร์หรือบางอันก็เกี่ยวแล้ว ก็ตามแต่ว่ากระบวนการบังคับใช้กฎหมายก็อาจจะมีช่องโหว่ อย่างเช่นเรื่องการประกันตัวได้หรือไม่ หรือว่าการที่ตำรวจจะวินิจฉัยว่า ใครเข้าข่ายฐานความผิดมันก็ยังคลุมเครืออยู่ เวลากี่วันในการที่จะกำกับดูแล เพราะฉะนั้นในเรื่องมิติการบังคับใช้กฎหมายนี้

กลุ่มพลเมืองเน็ตก็พูดว่าต้องทบทวนในเรื่องของกระบวนการตีความและก็เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย คือผู้ที่จะเป็นต้นเรื่อง และตั้งเรื่องดำเนินคดีว่า ใครผิดไม่ผิดอย่างไรอันนี้ก็ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่าในระยะยาวจะมีการปรับแก้เรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯหรือเปล่าหรือว่าจะมีการทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายนี้ มันชัดขึ้นหรือไม่ อันนี้เป็นภาพรวม

วันนี้เราคุยเรื่องผลกระทบกฎหมายและการเมือง ก็จะเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิเสรีภาพสื่อ อินเทอร์เน็ตและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

ตัวชี้วัดก็อยู่หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จากสถิติของ Freedom Against Censorship Thailand (FACT) เขาก็ไปได้สถิติบอกว่าการปิดกั้น หรือ บล็อคเว็บเพิ่มมากขึ้น 500 % เลย ทีเดียวหลังจากการรัฐประหารถ้าเราดูไปก่อนหน้านั้นเราก็จะเห็นได้ว่าประเทศ ไทยนี้มีเสรีภาพสื่ออินเทอร์เน็ตระดับหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่ฟรีที่สุด ถ้าเทียบกับสื่ออื่นๆจนกระทั่งหลังรัฐประหารเราจะเห็นแนวทางของรัฐในการมา คุมสื่ออินเทอร์เน็ตคุมเข้มมากขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่การบล็อคเว็บ จนนำไปสู่การจับกุมคนที่อยู่ในชุมชนเว็บ ซึ่งสถิติหลังรัฐประหารนี้ เพิ่มขึ้นแบบหลายเท่าตัวอย่างเห็นได้ชัดว่ามีสถิติการบล็อคสูงมาก ตอนนั้นก็ยังไม่มี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็ตามก็ถือว่าเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นจุดสำคัญของประเทศไทยที่รัฐมีการควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างชัดเจน จนนำมาสู่แรงทำให้เกิดการผ่าน พรบ คอมพิวเตอร์ฯในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการที่รัฐในการที่จะปิดกั้นเว็บไซต์ได้ แม้ว่ามี พรบ คอมพิวเตอร์ฯ บอกว่าการปิดกั้นเว็บต้องผ่านคำสั่งศาลแต่เราก็จะเห็นอยู่เนือง ๆ ว่าหลังจาก นั้นเป็นต้นมาว่าถ้ามีเหตุการณ์การเมืองครั้งสำคัญ ๆ เช่นล่าสุด การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้ก็มีเหตุการปิดเว็บอย่างพิเศษนอกเหนือจากการ ที่ใช้กฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อีกประมาณกว่า 70 เว็บ

ซึ่งพอหลังจากเลิกใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ก็ได้เลิกปิดเว็บแล้ว แต่ว่าในความเป็นจริงก็อาจจะเป็นทั้งรัฐปิดโดยตรงหรือเป็นทั้งปิดโดยการขอความร่วมมือจากลักษณะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันว่ามันจะเป็นเรื่องที่ขัดต่อสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานหรือไม่

หลังจากรัฐประหาร 19 กันยายนจนมี พรบ.คอมพิวเตอร์ เราก็จะเห็นได้จากการประกาศใช้ พ.ร.บ.คอมพ์เพียงหนึ่งเดือน ซึ่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้กลางเดือนกรกฎาคม และก็ประมาณวันที่ 24 สิงหาคม ปี 49 ก็ได้ทราบข่าวของผู้ถูกจับรายแรกที่คุณเมธาเรียกซื่อเขาว่าเป็นพระยาพิชัย แล้วก็เรื่อยมาจน 5 รายต่าง ๆ ก่อนหน้า นี้ก็มีการตั้งข้อสังเกตุว่าถ้ามันมีการละเมิดในเว็บ ถ้าเป็นการหมิ่นประมาทใครก็ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทตามปกติ การมี พรบ คอมพิวเตอร์ฯ เข้ามาอีกอันหนึ่งก็เท่ากับทำให้ดูซับซ้อนขึ้นและก็มีโทษหนักขึ้น

วันนี้เราก็เห็นแล้วว่า แม้ว่าจะมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แต่ก็มีการใช้กฎหมายอื่น ๆ เช่น กฎหมายหมิ่นประมาทปกติ และก็กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ถูกใช้ควบคู่กัน

กฎหมายที่มีอยู่เป็นตัวกฎหมายอาญาก็ถูกใช้ตามปกติเพียงแต่ว่าถ้าไม่มีกฎหมาย คอมพิวเตอร์รัฐก็จะมีอำนาจในการสืบค้นว่าความเป็นนิรนามเป็นใคร ใครคือเจ้าของไอพี อะไรต่อมิอะไร พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เป็นกุญแจไปสู่การสืบค้นว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต นิรนามเป็นใครและก็เป็นเครื่องมือที่จะเอาผิดกับผู้ที่เป็นผู้รับผิดชอบซึ่ง เป็นเจ้าของเว็บหรือผู้ดูแลเว็บให้ต้องผิดตามไปด้วย ซึ่งก็เปรียบเทียบคล้ายกับการออก พรบ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ซึ่งก็เป็นการเหมารวมความผิดกับรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไปด้วยก็คือในสมัยก่อน ที่ถ้ามีคนเขียนบทความในหนังสือพิมพ์แทนที่ผู้ที่เป็นคนเขียนจะรับผิดชอบก็ เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โดยตรง พรบ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ว่า เมื่อใดก็ตามการพิมพ์ไปปรากฏหนังสือพิมพ์ของใคร ไม่ว่าบรรณาธิการจะเห็นด้วยความคิดเห็นนั้นหรือไม่ บรรณาธิการก็ต้องรับผิดในฐานะผู้พิมพ์ผู้โฆษณาเหมือนกัน

ซึ่งกฎหมายนี้ก็กินเวลายาวนานจนกระทั่งเมื่อปี 2550 กลุ่มสื่อหนังสือพิมพ์ได้ต่อสู้ปลดแอกโซ่ตรวนอันนี้ทำให้ความคิดเห็น บรรณาธิการไม่ต้องรับผิดต่อไปนี้ ถ้าใครจะฟ้องหมิ่นประมาทก็ฟ้องจำเพาะบทความผู้ที่เป็นผู้เขียน หรือแหล่งข่าวนั้นโดยตรง โดยที่บรรณาธิการไม่ต้องรับผิดซึ่งก็มีคนมองปรากฎการณ์นี้ทั้งบวกและลบ บางคนก็บอกว่าอย่างนี้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ก็สบายไม่ต้องรับผิด หลังจากที่รับผิดชอบตามกฎหมายนี้มายาวนาน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องไปขึ้นศาลตามทั่วราชอาณาจักรตามที่โจทก์จะ ฟ้องร้อง

อันนี้เองก็ถูกมองเป็นโซ่ตรวนที่ยึดกุมเสรีภาพของสื่อหนังสือพิมพืในประเทศไทย จนกระทั่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจเมื่อปี 2550 นี้ เป็นปีที่ สนช. ออกกฎหมายหลายฉบับแล้วก็ สนช. ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ และ ออก พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ แทน ซึ่งก็ปลดโซ่ตรวนให้กับหนังสือพิมพ์ เป็นข่าวดีที่เสรีภาพสื่อมีมากขึ้น แต่ว่าโซ่ตรวนอันนี้มันก็มาผูกแทนที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือไปเอาผิดกับบรรณาธิการเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ เว็บโมโดเรเตอร์และทุกคนแม้กระทั่งไอเอสพี ก็ต้องรับผิดพวงตามไปด้วย ไม่ว่าผู้โพสต์ข้อความนั้นจะเป็นใคร

เป็นที่น่าสนใจที่ว่าภาระมันย้ายจากบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาไปสู่ผู้ที่อยู่ในโลกออนไลน์เสียแล้ว เป็นข่าวดีสำหรับหนังสือพิมพ์แต่เป็นข่าวร้ายสำหรับโลกออนไลน์ ที่อาจจะต้องดูว่าจะกินเวลาไปอีกสักกี่ปี ห้าสิบปี เท่ากับนักหนังสือพิมพ์ในการที่จะต่อสู้หรือเปล่า ซึ่งหนังสือพิมพ์เขาก็สู้มานานเต็มที่เหมือนกันตั้งแต่ 2484 กันมาและก็มีกฎหมายหลายฉบับ เช่น ปร 42 ปร เขาก็สู้กันมาตามแบบขั้นโดยเฉพาะที่ในยุคเผด็จการตอนนี้หนังสือพิมพ์ถ้าเทียบตามกฎหมายถือว่าหนังสือพิมพ์ไทยมีเสรีภาพมากระดับหนึ่ง เพราะ พ.ร.บ.ฉบับสำคัญถูกปดล็อคไปแล้ว

แต่อย่างที่ว่าภาระมาอยู่ที่โลกออนไลน์ โดยเฉพาะคนที่เป็นเว็บมาสเตอร์ เว็บโมโดเรเตอร์ ไม่ว่าเขาจะเห็นด้วยบาทความนั้นหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าจะตั้งใจลบไม่ทันหรือไม่อย่างไรตามกฎหมายถือว่าผิด ซึ่งตรงนี้ก็คิดว่าเป็นช่องโหว่เหมือนกันของการตีความการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อาจจะนำไปสู่ปัญหาที่มากขึ้นได้อย่างกรณีคุณจีรนุชก็สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ที่ตั้งข้อกล่าวหาก็เห็นว่าคุณจีรนุชยินยอมพร้อมใจหรือไม่ก็ตามแต่ ก็ต้องเป็นความผิดตามคนที่โพสต์ด้วย ก็อาจเป็นเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันต่อไปในประเด็นนี้ ซึ่งเดี๋ยวทั้ง อาจารย์จอน คุณกานต์ และคุณจีรนุชอาจจะสะท้อนเรื่องนี้กันอีกที เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของมัน

ที่นี้เขยิบไปถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ที่จริงแล้วมีหลายฉบับไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328, 326 ที่ว่าด้วยเรื่องหมิ่นประมาทซึ่งแต่เดิมสถิติที่ทราบมาจากตำรวจก็คือคดีที่เป็นการฟ้องร้องมากที่สุดก็คือระหว่างหว่างประชาชนกับประชาชนฟ้องกันเอง เพราะมีการหมิ่นประมาท

อย่างคดีล่าสุดที่เราได้เห็นกันเป็นข่าว ดาราโพสต์ว่ากันในไฮไฟว์ แล้วจะฟ้องร้องกัน เหล่านี้ เห็นว่ามีการก็อปข้อมูลในไฮไฟฟ์ แม้ว่าจะมีการลบไปแล้ว แต่ว่าฝ่ายผู้เสียหายก็ยังมีหลักฐานทุกอย่างว่ายังมีอีกฝ่ายหนึ่งมาโพสว่า ตัวเองเสียหายต่าง ๆ อาจต้องมีการขึ้นโรง ขึ้นศาลพิสูจน์กัน

เราก็จะเห็นว่าสถิติการฟ้องหมิ่นประมาทนั้นเขยิบมาเหมือนกัน เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วการฟ้องหมิ่นประมาทหนังสือพิมพ์ยังเยอะอยู่เลย ตัวเองก็ยังถูกฟ้อง หนังสือพิมพ์ทุกฉบับถูกนักการเมืองฟ้อง ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง แต่เมื่อการเมืองเปลี่ยนคดีหมิ่นประมาทก็เชิงนักการเมืองฟ้องหนังสือพิมพ์ก็ ลดลง แต่ว่ามันก็มาฟ้องหมิ่นประมาทในคอมพิวเตอร์เยอะขึ้น บุคคลสาธารณะก็ตามมาฟ้องด้วย ประชาชนและประชาชนก็ฟ้องกันเองด้วย ดาราก็ฟ้องกัน คงเพราะว่าอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างจะเปิดเสรีการแสดงความคิดเห็น แล้วก็คนก็รู้สึกว่าตัวเองเสียหายเยอะอันนี้ก็ต้องคุยกันว่าจะเป็นอย่างไร คือมุมหนึ่ง คนที่ฟ้องเขาก็ถือว่าเขามีสิทธิฟ้องเพราะเขาเสียหาย อีกมุมเราก็อาจจะมองว่าเป็นการใช้กฎหมายพร่ำเพื่อ หรือถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ตหรือเปล่า ถ้ามีการฟ้องร้องการมาก ๆ คนอาจจะไม่วิจารณ์กันล่ะ อย่างมีการฟ้องร้องกันร้านขนมว่าสินค้าไม่อร่อยอาจจะถูกฟ้องกลับก็เป็นได้ หรือไปวิจารณ์บริษัทโน่นนี้ว่าบริการไม่ดีทั้งที่เป็นการแสดงความคิดเห็นของ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปที่อยากจะสะท้อนความรู้สึก เหมือนคุยกับเพื่อนและโลกอินเทอร์เน็ตพื้นที่ส่วนตัวก็กลายเป็นพื้นที่ สาธารณะไปด้วย

การ ฟ้องหมิ่นประมาทได้เช่นกัน ถ้ามันมาก ๆเข้ามันก็จะส่งผลต่อบรรยากาศการแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแน่นอนอันนี้ เป็นเรื่องของทั่วไปก่อน ยังไม่เข้าสู่เรื่องที่ละเอียดอ่อนที่มันเป็นเรื่องการเมืองเหลืองแดงหรือ ที่เกี่ยวโยงกับสถาบันที่เรากำลังพูดถึง เราเห็นปรากฎการณ์การใช้กฏหมายคุมอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเป็นสถิติที่สูงในการ ฟ้องกันกันอยู่ในขณะนี้

นั้นก็คือประมวลกฎหมายอาญา 326, 328 ที่ฟ้องกันหลัก ๆ 326 ก็จำคุก 1 ปี 328 ก็จำคุก 2 ปีรวมกันแล้วก็คือเป็น 3 ปี 326 ก็คือการหมิ่นประมาทเมื่อเกิดขึ้นที่ไหนก็ไม่ว่าจะเป็นการฝ่ายสื่อหรือไม่ถือว่าเป็นการหมิ่น แต่ 328 เป็นการหมิ่นต้องเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ ด้วยทั้งเป็นใบปลิว เว็บไซต์ โฆษณา เวลาเขาฟ้องเขาจะฟ้องคู่กัน อย่างตัวเองก็ถูกฟ้องคู่กัน เพราะถือว่าเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องกันที่นี้นอกจากกฎหมายหมิ่นประมาทที่ เป็นประมวลกฎหมายอาญา กรณีของคุณสุวิชา ท่าค้อ ก็คือมาตรา 112 กฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งว่าด้วยการหมิ่นการดูหมิ่น การอาฆาต มาดร้าย ซึ่งก็คือการจำคุกอันนี้ก็คือ 15 ปี ซึ่งคุณสุวิชา ท่าค้อ เขารับสารภาพว่าเป็นคนโพสต์คลิป เขาก็ถูกจับตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ แล้วก็ฐานความผิดมาตรา112 ประมวลกฎหมายอาญา รวมแล้วศาลก็ตัดสินจำคุก 20 ปี แล้วก็ลดโทษเหลือ 10 ปี ซึ่งก็คิดว่าโทษหนักและทั้งมาตรา 112 ตัวโทษก็หนักอยู่แล้วก็คือโทษสูงสุดจำคุก 15 ถือว่าหนัก ถ้าลงสูงสุด 20 ปี เพราะทำผิดสองกระทง ก็คือว่าสร้างความตกใจสำหรับหลายท่านที่ทราบข่าวเหมือนกันเพราะว่าเป็นคดี แรกที่ถูกตัดสินแล้วลงโทษแรงเลย คุณสุวิชา ก็คือรายแรก และเป็นบรรทัดฐานอยู่เหมือนกันว่าความผิดสูงสุดก็ย่อมน่ากลัว และก็ทำให้หลายฝ่ายก็ประหวั่นพรั่นพรึงอันนี้ก็เป็นเรื่องที่นำมาสู่การที่ เราคุยกันวันนี้ด้วยเหมือนกันก็คงต้องฟังมุมมองของนักสิทธิมนุษยชนเพราะว่า กรณีของคุณสุวิชามีมุมมองทางสิทธิมนุษยชนหลายอย่างที่นอกเหนือในเรื่องของ คอมพิวเตอร์ฯ และการแสดงความคิดเห็นคือกระบวนการยุติธรรมในฐานะสิทธิพลเมืองตั้งแต่การได้รับประกันตัวหรือไม่ได้รับประกันตัวอะไรต่าง ๆ นาๆ

โดยพื้นฐานเราคิดว่ากันว่าเขาน่าจะได้รับการประกันตัว แต่คุณสิวิชาไม่ได้รับการประกันตัวมันจะเป็นบรรทัดฐานไปยังคดีอื่น ๆ หรือเปล่า ซึ่งอันนี้ก็ทำให้ตัวเองตั้งคำถามว่าผู้ที่ได้รับการถูกฟ้องร้องอื่น ๆ โดยมาตรา 112 เช่น คุณจักรภพ เพ็ญแขหรือใครต่อใครหลายคนที่อยู่ในจุดที่สังคมรู้จัก พี่เกราะป้องกันระดับหนึ่ง เช่น อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือนักข่าวต่างประเทศจะมีแนวที่ต่างกันอยู่คือว่าถ้าเป็นบุคคลที่อยู่ใน การเมืองหรือเป็นบุคคลที่มีชื่อสักหน่อยเราก็จะเห็นได้ว่าได้รับ โอกาสการได้รับประกันตัวมากกว่า

แต่ถ้าเป็นผู้ใช้เป็นพลเมืองเน็ตซึ่งเขาไม่ได้เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและ เขาไม่ได้ทำงานสังคมมาก่อน ไม่มีใครเคยได้ยินชื่อคุณสุวิชา ท่าค้อมาในฐานะ ผู้แสดงบทบาทการเมืองคือเขาแสดงบทบาทในฐานะพลเมืองที่อยู่ในโลกออนไลน์ใน ฐานะนิรนามมายาวนานวันหนึ่งเมื่อต้องถูกเปิดเผยตัวขึ้นมาแน่นอนที่สุดเขาก็ ไม่พร้อมที่จะแก้ต่างหรือต่อสู้ อะไรก็ตามแต่ พูดง่าย ๆ ก็คือกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็น vanurable โอกาสที่ได้รับการประกันตัวก็อาจจะน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งตรงนี้ก็คงต้องถามนักสิทธิมนุษยชนเช่นกันว่าคดีเดียวกัน ความผิดคล้ายกันหรืออะไรก็คล้ายกัน แต่ว่า บางกรณีสามารถประกันตัวได้บางกรณีไม่สามารถประกันตัวได้ หลักประกันสิทธิพลเมืองในเรื่องตรงนี้ก็จะต้องเสนอแนะเพื่อการปรับเหมือนกัน เพราะว่ากระบวนการควรจะดำเนินไปอย่างไร แล้วผู้ถูกกล่าวหาน่าจะได้รับสิทธิในการประกันตัวในระหว่างการสู้คดี

ตัวประมวลกฎหมายอาญาเอง มาตรา 112 เอง เราก็จะเห็นในช่วงปีหรือสองปีที่ผ่านมามีการพูดถึงเรื่องนี้มากขึ้นทำนองว่า กฎหมายฉบับนี้ก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองสูงแล้วก็มีผลกระทบต่อ สิทธิมนุษยชน อีกทั้งความไม่ชัดเจนของการใช้กฎหมายหรือกระทั่งตัวกฎหมายเองที่ขัดต่อหลัก พื้นฐานสิทธิมนุษยชนในเรื่องสิทธิเสรีภาพ เราได้ยินว่ามีข้อเสนอมากมายจากหลายกลุ่ม เริ่มจากกลุ่มอาจารย์ใจที่เสนอ รวมทั้งนักวิชาการต่างประเทศ และก็อีกหลายวงและล่าสุดที่มีการคุยกันที่ธรรมศาสตร์ว่าอาจจะต้องมีการทบทวน กฎหมายฉบับนี้ แต่ว่าจะทบทวนแล้วไปในทิศทางใดก็เป็นเรื่องที่สังคมต้องถกเถียงกันอยู่ ทางรัฐบาลเองก็ถูกกดดันเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ก็พูดกันอยู่หลายครั้ง ล่าสุดก็เห็นกระทรวงยุติธรรมพยายามจะพูดเรื่องนี้แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะปรับไป ในทิศทางไหน มันมีได้สองทางคือปรับให้โทษหนักขึ้นหรือปรับให้โทษเบาลง ปรับให้ชัดขึ้นหรือว่าปรับให้แรงขึ้น คือสรุปมีคนเกือบทุกฝ่ายคิดว่าต้องปรับ ทีนี้จะปรับไปทางไหนเป็นเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันแลแลกเปลี่ยนกัน ส่วนตัวคิดว่าโทษสูงสุดค่อนข้างหนัก เพราะ 15 ปีนี้ อาจจะต้องคุยกันว่า ปรับลดโทษลงมาจะเป็นไปได้หรือเปล่าเพราะว่าถ้าเราเทียบกับความผิดทาง อาชญากรรม จากฐานอื่นดูว่าถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นเทียบกับฐานอาชญากรรมอื่น ๆ มันควรจะเป็นอย่างไร และก็ดูมาตรฐานที่จะสอดรับกับสังคม กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และก็ดูบทเรียนจากประเทศอื่น ๆ ด้วย

นอกจากกฎหมายดังกล่าวแลว้ ล่า สุดก็จะมีกฎหมายพิเศษ ๆ ซึ่งสามารถเข้ามาจำกัดสิทธิเสรีภาพอินเทอร์เน็ตได้เหมือนกันเช่น พรบ.ฉุกเฉิน ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นระยะ ๆ แล้วก็กฎหมายว่าด้วยความผิดต่อความมั่นคงซึ่งก็เป็นหนึ่งในกฎหมายประมวลอาญา เหมือน กัน นอกนั้นยังมี พรบ.มั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งดีที่รัฐยังไม่ได้นำมาใช้ อย่างการปิดสถานีวิทยุชุมชน รัฐก็อ้าง พรก.ฉุกเฉิน แต่ถ้าเป็นวิทยุชุมชนในต่างจังหวัดซึ่งไม่มี พรก.ฉุกเฉิน ก็ยังงง ๆ อยู่ว่าใช้กฎหมายอะไร มีการใช้กฎหมายเฉพาะสื่อ เช่น พรบ.วิทยุโทรคมนาคม 2498 ซึ่งถ้าใช้ไปจับใครทุกคนก็ยังผิดเหมือนกันหมด ประเทศไทยยังมี พรบ.วิทยุโทรคมนาคม 2498 ซึ่งให้อำนาจหน่วยงานของรัฐสามารถไปจับกุมใครก็ได้ที่มีเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์โดยไม่ได้มีใบอนุญาต

ในกฎหมายไทยตั้งแต่ก่อนเก่าใครจะตั้งสถานีวิทยุ โทรทัศน์ต้องขอใบอนุญาต 2 ใบก็คือขอจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้ได้ใบอนุญาตตาม พรบ.วิทยุโทรคมนาคม 2498 และก็สมัยก่อนก็คือขอกรมประชาสัมพันธ์เพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบการตามพ.ร.บ.วิทยุ โทรทัศน์ 2498 แต่ พ.ร.บ.โทรทัศน์ 2498 ถูกยกเลิกแล้วโดย สนช.ออกกฎหมายใหม่มาแทน คือ พ.ร.บ.วิทยุ โทรทัศน์ 2551 มันทำให้กรมประชาสัมพันธ์ และ รัฐบาลไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลสื่อวิทยุโทรทัศน์ตามกฏหมายเหมือนเดิมแล้ว แต่ยังมีอำนาจในฐานะเป็นเจ้าของสื่อแต่เดิม แต่ไม่มีอำนาจไปจัดการสื่อใหม่ๆที่เกิดขึ้นเช่นวิทยุ ชุมชน เคเบิลทีวี หรือทีวีดาวเทียม อำนาจไปอยู่ที่อนุกรรมการวิทยุโทรทัศน์ และ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

คุณสาทิตย์ วงหนองเตย เขาเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เขาไม่สามารถสั่งปิดวิทยุเองได้เหมือนกับสมัยก่อนที่ รัฐมนตรี ที่คุมกรมประชาสัมพันธ์สามารถปิดได้เพราะอำนาจเขาถูกลิดรอนไปแล้วเพราะว่า มันเป็นไอโรนี (irony) อีกเหมือนกันเพราะว่ากฎหมาย พ.ร.บ.2551 ผ่านโดยกฎหมาย สนช ซึ่งตอนนั้นเขาเขียนยึดอำนาจจากกรมประชาสัมพันธ์เอามาไว้ที่ กทช. กับ อนกรรมการฯ

ซึ่งตอนนั้นเขาเขียนกฏหมายตอนนั้น เพราะกลัวรัฐบาลพลังประชาชน กลัวการแทรกแซงก็เขียนเขียนยึดอำนาจจากกรมประชาสัมพันธ์มาไว้ที่ อนุฯ และ กทช. แทน แต่ปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์กลับมาเป็นรัฐบาลแต่ต้องเคารพกฎหมายนี้ทำให้ รัฐบาลไม่มีอำนาจปิด วิทยุ โทรทัศน์ ด้วยตัวเองตามกฎหมายนี้ เหมือนกับที่รัฐมนตรีในอดีตเคยทำได้เพราะว่าอำนาจมันถูกโยกไปแล้วโดย กทช. ทีนี้รัฐบาลก็เลยไปกดดัน กทช. แต่กทช. เขาก็ถือเป็นองค์กรอิสระ ก็คานดุลกันอยู่

เนื่องจาก กทช. เป็นองค์กรอิสระไม่จำเป็นต้องทำตามรัฐบาล รัฐบาลก็กดดัน กทช. อยู่เนือง ๆ ว่าเมื่อไหร่จะปิดสักที แต่เนื่องจาก กทช. ต้องอิงกฎหมายและ กทช. เองก็ไม่ใช่องค์กรทางการเมืองโดยตัวของเขาเองทำให้เขาเองก็อีหลักอิเหลื่อ ปิดมั่งไม่ปิดมั่ง

จนกระทั่งล่าสุด พอรัฐบาลออกกฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ กทช. ก็ ปฎิเสธที่จะไม่ได้ ก็ต้องใช้ พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม 2498 ไปจับ พูดง่าย ๆ กฏหมายฉบับนี้ไปจับใครก็ผิดหมดเพราะว่าไม่มีใครมีใบอนุญาตทั้งนั้น เพราะทั้งหมด 3,000 กว่าสถานีรวมทั้ง เอเอสทีวี มันก็เป็นอยู่ที่ว่าใครจะใช้อำนาจอย่างไรซึ่งรัฐบาลไม่มีอำนาจแต่พอประกาศ พรก.ฉุกเฉินก็ใช้อำนาจตาม พรก.ได้แต่ตอนนี้ไม่มี พรก.แล้วอำนาจการสั่งปิดก็กลับที่อยู่ที่อนุกรรมการและก็ กทช ซึ่ง กทช ก็ถูกกดดันอยู่เหมือนกันจากทุกฝ่าย แต่ก็ยังมี กทช เขาเรียกว่า กทช ยังไม่ตัดสินใจเร็วก็คือฟังความเห็นทุกฝ่ายอันนี้ก็เป็นเรื่องที่สังคมต้อง ไปกดดัน กทช เหมือนกันว่าจะมีมาตรการใดที่จะไม่เลือกปฎิบัติว่ารัฐบาลเองก็ไม่มีอำนาจ เพราะว่ากฎหมายมันถูกเปลี่ยนหลายฉบับไปมา

อย่างหลายคนก็บ่น ๆ กัน พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ออกมาสมัยรัฐบาลทักษิณ ซึ่งจะเห็นหลายกลุ่มตอนนั้นเชียร์คุณทักษิณก็ไม่คัดค้าน พ.ร.ก.ฉบับนี้ ในขณะที่ตอนนั้นก็มีกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มออกมาคัดค้านว่า พรก.ฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

รัฐบาลทักษิณจะใช้ในการขยายอำนาจ และดาบนั้นก็คืนสนอง เมื่อรัฐบาลประชาธิปัตย์ขึ้นมามีอำนาจก็ใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ ควบคุมมวลชนกลุ่มเสื้อแดง โดยที่เราก็ลืมไปว่ากฎหมายฉบับนี้ออกโดยรัฐบาลทักษิณไปใช้เพื่อปรามปราบแก้ ปัญหากับพี่น้องชาวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

สรุปก็คือทั้งหมดทั้งปวงก็เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองก็คือว่าเพราะการ เกิดความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่พันธมิตรก่อน หรือว่าตั้งแต่รัฐประหารก่อนหรือว่าตั้งแต่ระบอบทักษิณก่อนอยู่ที่ว่าใครจะพูด ถ้าถามพันธมิตรก็บอกว่าวิกฤตเกิดที่ระบอบทักษิณ ถ้าถาม นปช.บอกว่าวิกฤตเกิดขึ้นที่รัฐประหาร

มันก็ทำทุกอย่างให้นั่วเนียกันไปหมด ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพ เพราะทุกอย่างถูกทำให้เป็นผลประโยชน์ทางการเมืองไปหมด คนที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพตามปกติ หรือทางอินเทอร์เน็ตอะไรก็ตามแต่ โดยบริสุทธิ์ใจหรืออะไรก็ตามก็อาจจะทำงานหรือการใช้ชีวิตที่ลำบากขึ้น เพราะว่ากระบวนการใช้กฎหมายก็ไม่มีคนมั่นใจว่าจะถูกต้องและเป็นธรรมได้จริง ขณะเดียวกันกระบวนการสร้างฉันทาคติหรือความลำเอี่ยงก็มีอยู่ในทุกวงการ

ฉะนั้น ถ้าไม่แก้ปัญหาทางการเมืองให้กลับมาสู่การยอมรับซึ่งกันและกัน การไว้วางใจซึ่งกันและกัน หรือการเคารพซึ่งกันและกันระดับหนึ่ง กฎหมายมันก็ถูก abuse อยู่แล้วไม่ว่าจะแก้กฎหมายกันไปกันมาอย่างไร มันก็ถูก abuse อยู่ วันยังค่ำ เพราะว่าจะไม่มีใครยอมรับกฎหมายนั้นถ้าใครหรืออีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์หรือ เสียเปรียบ อย่างไรก็ดีคงต้องแก้ไขกฎหมายให้มีมาตรฐานมากขึ้นในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันโจทย์ทางการเมืองมันก็ต้องกเป็นโจทย์ที่ต้องเรียกร้องการเจรจา และการหันหน้ามาสร้าง dialog ถึงจะเป็นทางแก้ เราหวังว่างานด้านสิทธิเสรีภาพที่เป็นภาพรวมจะได้รับการคุ้มครองมากขึ้น ด้วยความเป็นธรรมและไม่ถูกเลือกปฎิบัติ

Tags: , ,