2009.07.08 07:02
เวทีวิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต
วันที่ 29 เมษายน 2552
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วิทยากร อังคณา นีละไพจิตร
หลายท่านก็พูดไปแล้วในหลายประเด็น ดิฉันข้อเสนอในประเด็นที่ดิฉันห่วงใย ในเรื่องนี้ก็ คือว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อสำคัญสิ่งหนึ่งที่ให้ความรู้แก่ประชาชน ลองสังเกตุว่าที่ไหนก็ตามที่โทรศัพท์เข้าถึงชาวบ้านก็อยากจะมีคอมพิวเตอร์ อยากจะมีอินเทอร์เน็ตไว้ใช้ อีกอย่างหนึ่งที่กฎหมายไม่ควรไปรังแกคนเล็กคนน้อย ดิฉันเคยเห็นเยาวชนบางคนด้วยความทะลึ่งอะไรก็แล้วแต่โพสต์ข้อความที่ไม่ สุภาพหรืออะไรต่อมิอะไรเข้ามาและเด็กพวกนี้แหล่ะต้องตกเป็นเหยื่อที่ตัวเอง ไม่รู้ตัว ในส่วนของที่จะต้องการจัดสรรผลประโยชน์ ดิฉันให้ความสำคัญในเรื่องคุ้มครองคนเล็กคนน้อยมากกว่า ก็คือกฎหมายต้องไม่รังแกใคร
จริง ๆ แล้วดิฉันคิดว่าในวันนี้ประชาชนอยู่กันลำบาก การถูกแบ่งให้อยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยที่เราไม่รู้ตัว จริง ๆ ดิฉันก็ไม่ได้รู้สึกว่าแบ่งฝ่าย เพียงแต่รู้สึกว่าอยู่ภายใต้รัฐบาลนี้มันสบายกว่ารัฐบาลที่ผ่านมายังไงก็ไม่ รู้ เพราะตัวฉันเองถูกดุน้อยกว่ารัฐบาลที่ผ่านมาก็เลยรู้สึกว่าตัวเองพูดได้มาก ขึ้นกว่ารัฐบาลที่ผ่านมา เดินไปไหนแล้วรู้สึกปลอดภัยขึ้น ในขณที่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าอยู่รัฐบาลนี้มันแย่กว่าหรือว่าอะไรมันก็เป็นความต่างทางความคิดเห็น
ดิฉันเองก็มองว่า รัฐบาลที่มองเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องความขัดแย้งหรืออะไรก็มตามแต่ ความรุนแรง และนำไปสู่การแบ่งฝ่าย จริง ๆ ก็มองว่ารัฐบาลนี้มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งหน่วยงานความมั่นคงมากแค่ไหน รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลพลเรือน ซึ่งเป็นอิสระแค่ไหน ถึงแม้ว่าประชาชนให้ความสนับสนุน
แต่ถ้าหากหน่วยงานความมั่นคงไม่ได้สนับสนุน รัฐบาลนี้จะสามารถทำงานได้ไหม แล้วถ้าหน่วยความมั่นคงที่ทำงานอยู่ แล้วประชาชนที่ขัดกับหน่วยงานความมั่นคงนั้น ประชาชนที่อาจจะถูกรังแก ขณะที่รัฐบาลอาจจะละเลย ใส่ใจน้อยไปไหมกับทุกข์สุขประชาชน
ดิฉันยกตัวอย่างสองสามวันนี้ ที่คำถามต่อตัวเองว่า เหตุการณ์ภาคใต้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นทุกวันนี้มันมีผลต่อเสถียรภาพรัฐ ต่อส่วนกลางไหม เมื่อรัฐส่วนกลางมีความไม่มั่นคงเท่าไร มันก็ไม่มีใครไปดูแลจัดการในภาคใต้ ก็เหมือนกับ กอ รมน.คือทหารเต็ม ๆ นั้นแหล่ะ ดิฉันก็สังเกตุช่วงสงกรานต์ที่มีการทะเลาะกันรุนแรง ภาคใต้เงียบ แต่พอกรุงเทพเบา ตรงนั้นก็เริ่ม
จริง ๆ ดิฉันก็มอง ประชาไท เป็นพื้นที่ที่กลุ่มคนเล็กกลุ่มน้อย ใช้ในการแสดงความคิดเห็นที่อิสระ ขณะเดียวกันที่ประชาไทถูกสั่งปิด ดิฉันมองว่าเป็นการต่อต้านรัฐประหารหรือเปล่าที่โดนสั่งปิด ประชาไทที่ถูกเพ่งเล็งมาตลอด ในขณะเดียวกันดิฉันเห็นเว็บของ กอรมน. คนที่โพสต์เข้ามามีแต่คำว่า ฆ่ามัน ฆ่ามัน เกี่ยวกับคนในสามจังหวัดภาคใต้ ก็เอ๊ะว่าทำไมไม่ถูกปิด ทำไมมีมีใครตรวจสอบ ตำรวจไม่ตรวจสอบ ว่าใครมาจากไหน รับจ้างโพสต์หรือเปล่า
ดิฉันเคยไปทำงานในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง ที่ใช้กฎหมายพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นคนชายขอบทางภาคเหนือ หรือภาคใต้ ก็เคยไปทำงานมาแล้ว สำนักงานที่ปัตตานี ก็ถูกกวนมาแล้ว ท่านก็บอกว่าใช้กฎอัยการศึกจะมาจับโจร มีคนมาแจ้งว่ามีผู้ก่อความไม่สงบเกิดขึ้น เอ๊ะมาจับโจรก็ไม่ว่าเป็นห้องแถวเล็กนิดเดียว ใช้เวลา สองชั่วโมงอยู่กับคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรือค้นคอมพิวเตอร์นั้นหมดแล้ว จะมาจับโจรรู้ว่าไม่มีโจรก็ควรจะกลับได้แล้ว แต่ว่ากลับมาดูข้อมูลในแลปท็อป จริง ๆ แล้ว กับคอมพิวเตอร์มันเป็นสิทธิส่วนบุคคล แล้วดิฉันได้ทำหนังสือชี้แจงกับท่านนายกฯ
ไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึก หรือ พรก.ฉุกเฉินอะไรก็แล้วแต่ท่านมีอำนาจตามกฎหมายที่จะตรวจค้นสถานที่ได้ แต่ท่านไม่สามารถจะตรวจค้นในข้อมูลส่วนตัวในแลปท็อป หรือคอมพิวเตอร์ดิฉันเองก็ตาม อย่างของเพื่อนแคนาดาที่ตั้งโต๊ะทำงานยังไงก็ไม่มีอำนาจเข้ามตรวจค้น พอมาตรวจค้นก็มาเจอคนทำงานด้านสิทธิบางที่ก็ไปเก็บข้อมูลชาวบ้านมาร้องเรียน แล้วทำเป็นไฟล์ข้อมูล แล้วท่านก็ทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาสิ เจอข้อมูลปิดเบือนอะไรต่าง ๆ
คือจริง ๆ ประชาชนได้รับข้อมูลเพียงฝ่ายเดียว เราไม่มีโอกาสได้เข้าถึงข้อมูลจากฝ่ายรัฐ เพราะฉะนั้นการที่ การที่จะมากล่าวหาทำข้อมูลปิดเบือนดิฉันว่าใช้ไม่ได้ แล้วในฐานะหนึ่งที่ตอนนี้ดิฉันเป็นผู้เขียน รายงานประเทศไทยตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมืองที่ต้อง เสนอสหประชาชาติ ในฉบับที่สอง ดิฉันเองก็เก็บข้อมูลหลาย ๆ อย่างไว้ในคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน การที่ท่านมาทำแบบนี้ดิฉันว่าใช้ไม่ได้ การที่จะถูกต้องดิฉันว่าฟ้องศาล
แต่บางทีดิฉันว่าเจ้าหน้าที่ไม่รู้กฎหมายแต่ประชาชนอย่างเราไปฟ้องศาลมันเสียเวลา ที่นี้โยงมาถึงเรื่องของหน่วยงานความมั่นคง วันนี้ฉันมองว่าภายหลังปฏิวัติจนมาถึงวันนี้ ทหารก็ยังมีอำนาจมากหลาย ๆ เรื่อง
ไม่ว่าเมื่อวานเป็นครบรอบห้าปีคดีครือเซะ อัยการก็สั่งไม่ฟ้องคดีกรือเซะ ทั้ง ๆ ที่ประชาชนก็ค้างคาใจ สหประชาชาติก็ตั้งคำถามมาว่าผู้กระทำผิดใครจะรับผิดชอบ รับผิดชอบมากแค่ไหน คือถ้าอัยการสั่งไม่ฟ้องดื้อ ๆ หลังที่ศาลมีคำสั่งไต่สวนการตายสามปี ว่าทหารระดับสูงมีอำนาจทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิต ต้องถามว่าอัยการเป็นผู้มีอำนาจแล้วเรียกร้องการไม่ถูกแทรกแซง แล้วต้องถามว่าอย่างนี้ตัวเองถูกแทรกแซงหรือเปล่า ก็เลยทำให้หลาย ๆ ฝ่าย ที่ถูกมองว่าไม่สามารถทำงานได้กับฝ่ายทหาร ไม่เห็นด้วยกับทหาร ไม่เห็นด้วยกับหน่วยงานความมั่นคง ก็เหมือนจะอยู่อย่างไม่สบาย ถูกเพ่งเล็งหรืออะไรต่อมิอะไรมาโดยตลอด
ดิฉันไม่ทราบเหมือนกันที่คุณกานต์พูดถึงการที่ สนช.กดดันต่อผู้ประกอบการยังไง ที่เป็นเรื่องของ พรบ.คอมพิวเตอร์ แต่ว่าในส่วนของความเป็นผู้ประกอบการแล้วก็ในฐานะที่ดิฉันเองเข้าไปป้วนเปี้ยนอยู่ที่ สนช.ช่วงนั้นดิฉันว่า หลาย ๆ ครั้งมันมีเรื่องของการต่อรองแลกเปลี่ยนอันนี้ยอมเขา อันนี้เขาให้อะไรประมาณนั้น อันนี้ดิฉันขออนุญาตไม่ลงลึกเพราะว่าไม่ทราบข้อมูลมาก แต่หลายเรื่องมันมีแบบนี้ ก็เสียใจที่หลายคนใน สนช.ที่ทำเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่สุดท้ายก็ไปลงชื่อกับ พรบ.ความมั่งคง เพื่อให้ พรบ.อื่น ที่ตัวเองผลักดันผ่าน
อะไรแบบนี้มันมีเรื่องของการต่อรองแลกเปลี่ยนเยอะ ซึ่งตัวเองก็ไม่คุ้นเคยกับเรื่องแบบนี้ ดิฉันเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ เสียงส่วนน้อย แต่ว่าดิฉันเองก็จะมีพื้นที่เองในการทำงานที่ยังทำงานได้สบาย ๆ อยู่ และที่ดิฉันมองอีกแบบหนึ่งในเรื่องของการที่คนโพสต์ข้อความต่าง ๆ ในเว็บดิฉันคิดว่าไม่มีเหตุผล ที่จะโพสต์ข้อความที่ไม่ถูกต้อง และหมิ่นประมาทหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะเป็นการอ้างให้ถูกปิดเว็บ เพราะว่าจริง ๆ เราไม่รู้ว่าคนที่โพสต์เข้ามา เขารับจ้างหรือว่าทำหน้าที่นั่งโพสต์เข้ามาหรือเปล่า เพราะบางทีคนธรรมดาวัน ๆ วัน ๆหนึ่งทำมาหากินก็แย่อยู่แล้ว แล้ว แล้วถ้าเป็นคนกลุ่มที่ว่านี้จริง สาเหตุของการปิดเว็บอันนี้ก็ไม่ชอบธรรมแล้ว และรัฐบาลเองต้องทำใจนิ่ง และเป็นกลางในการพิจารณาเรื่องเหล่านี้ การอ้างเรื่องความมั่นคง คำว่า ความมั่นคงดิฉันคิดว่าเป็นอะไรที่กว้างมาก ๆ จนกระทั่งอะไรก็ตามก็ตีความได้หมด
เหมือนที่คุณเมธาพูดถึงตัวอย่างการใช้ พรก.ฉุกเฉิน เราจำเป็นจะต้องแจ้งรัฐภาคีตามสหประชาชาติ ตามกติกา ICCR ข้อที่ 4 (3) ทันทีที่ประกาศใช้ แต่บ้านเราประกาศใช้มาเกือบครบ 3 ปีแล้ว มิถุนายนนี้ก็จะครบ 3 ปี ก็ยังไม่เคยแจ้ง ใช้ในกรุงเทพฯกี่ครั้งก็ยังไม่เคยแจ้ง ทั้งทีคุณอภิสิทธิ์ก็พูดว่า ไม่มีประเทศไหนที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตลอดเวลา วันหนึ่งต้องหยุด มันมีเหตุที่ต้องหยุด และเหตุที่ต้องหยุดนี้รู้สึกว่า มีความปลอดภัย แล้วดิฉันก็ได้ถามกระทรวงต่างประเทศว่าเพราะเหตุใด จึงไม่แจ้งสหประชาชาติ กระทรวงต่างประเทศตอบว่าเพราะเราไม่ได้ใช้มาตรา 9 ตาม พรก.ฉุกเฉิน แต่ดิฉันเห็นว่าใช้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น โดยเฉพาะการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดการเข้าออกในพื้นที่ ที่จำได้มีคำสั่งแม่ทัพภาคที่ 4 ที่ห้ามประชาชนเข้าไปในเขตที่ห่วงห้าม เอาชาวบ้านมาอบรม 300 กว่าคน และชาวบ้านฟ้องศาลกระทำมิชอบจนมีคำสั่งศาลคำสั่งปล่อย จึงมีคำสั่งแม่ทัพภาคที่ 4 ประกาศรายชื่อผู้มีรายชื่อดังต่อไปนี้ กลับบ้าน จริงแล้วเราใช้มาโดยตลอด แต่เราก็เลี่ยงพันธกรณีระหว่างประเทศมาโดยตลอด ก็คงเท่านี้ ขอบคุณค่ะ
Tags: DSI, Operation of Radio and Television Broadcasting Business Act, workshops