ความเคลื่อนไหว

อภิสิทธิ์ เล็งรื้อ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร

2009.01.29

"อภิสิทธิ์"ห่วงทีวี"คุยข่าว" ชี้นำ"อันตราย" แนะองค์กรวิชาชีพแก้ไข เล็งรื้อพรบ.ข้อมูลข่าวสาร นายกฯ เล็งรื้อ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ไม่เป็นไปตามคาดหวัง เผยคิดหนักอยากให้ช่องเอ็นบีทีเป็นทีวีสาธารณะ อยากให้แลกเปลี่ยนมุมมองนโยบายมากกว่ามุ่งทำลายทางการเมือง ชี้รายการคุยข่าวอันตราย ชี้นำตั้งแต่คำพูดยันสีหน้า ยุองค์กรวิชาชีพเข้าไปแก้ไข จ้องสังคายนาวิทยุชุมชนให้กลับไปสู่เจตนารมณ์เดิม

คปส.-เครือข่ายพลเมืองเน็ต-FACT ยื่นหนังสือขอความชัดเจนการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง จัดการเว็บหมิ่นสถาบันกษัตริย์

2009.01.29

เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) พร้อมด้วยเครือข่ายพลเมืองเน็ต และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) เข้ายื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความชัดเจนกรณีรัฐบาลเตรียมจะใช้ข้ออ้างเรื่องหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และความมั่นคงเข้าจัดการเวบไซต์และวิทยุชุมชน ถึงขนาดจะมีการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร รวมถึงคัดค้านการประกาศสงครามกับวิทยุชุมชนและอินเตอร์เน็ต หรือวอร์รูม โดยจะใช้งบ 80 ล้านบาท เพื่อจัดการ เพราะเป็นการละเมิดนโยบายด้านสื่อของรัฐบาลและสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน

“ดีเอสไอ” รวบตัวแสบโพสต์เว็บ “หมิ่นเบื้องสูง”

2009.01.29

"ดีเอสไอ" นำกำลังบุกค้นบ้านมือทำเว็บไซต์หมิ่นสถาบันเบื้องสูง พร้อมรวบตัวขณะซื้อของที่ตลาดในตัวเมืองนครพนม หลังสืบพบหนีไปกบดาน นำตัวสอบที่ กทม.คืนนี้

“พีระพันธุ์” ตั้ง 3 ธงเอาผิดมือโพสต์เว็บ “หมิ่นสถาบัน”

2009.01.29

รมว.ยุติธรรม จัดสรรความผิด "หมิ่นเบื้องสูง" ไว้ 3 ระดับ "รู้เท่าไม่ถึงการณ์โทษแค่ตักเตือน -จงใจทำผิดหรือเจตนาไม่ดี และตั้งใจทำเป็นขบวนการ" พร้อมวอนให้ทุกฝ่ายร่วมมือเผยแพร่พระเกียรติยศในหลวง ให้ชาวโลกรับรู้มากขึ้น

รมว.ยธ.รับจับคนทำเว็บหมิ่นฯยาก แบ่งความผิด 3 ระดับ

2009.01.29

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเก็บตกจากเนชั่น ถึงการปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นเบื้องสูง และข่าวการแถลงข่าวการจับกุมผู้กระทำผิดว่า วันที่ 14 มกราคมจะไม่มีการแถลงข่าวใดๆ และไม่ได้มตั้งใจออกมาพูดเรื่องนี้ ตนไม่ทราบว่าทำไมถึงปล่อยให้เป็นข่าวแบบนี้ ทั้งที่ได้มีการกำชับกันไว้แล้ว

ฮิวแมนไรท์วอท์ช สรุปสถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทย ปี 2551

2009.01.29

องค์การฮิวแมนไรท์วอท์ช สรุปสถานการณ์สำคัญด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การสิ้นสุดวาระของรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของกองทัพไม่ได้นำไปสู่การฟื้นฟู สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยในประเทศไทย ทั้งนี้ การแบ่งขั้วทางการเมืองระหว่างกลุ่มที่สนับสนุน และกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล ได้นำไปสู่การประท้วงอย่างยืดเยื้อ และในบางครั้งก็เกิดการปะทะกันจนถึงขั้นที่มีผู้เสียชีวิต รวมทั้งยังได้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความ มั่นคง และผู้ประท้วงกลุ่มต่างๆ

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนสรุปเสรีภาพเน็ตปี 2551

2009.01.29

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน สรุปสถานการณ์เสรีภาพสื่อ 2551 ระบุเอเชีย แปซิฟิก มาเกร็บ (แอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ) และตะวันออกกลาง ยังคงเป็นพื้นที่อันตรายที่สุดสำหรับสื่อ และอินเทอร์เน็ตคือสมรภูมิใหม่ในการปิดกั้นควบคุม องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน หรือ Reporters Without Borders (RSF) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศไม่แสวงกำไรที่เคลื่อนไหวรณรงค์ประเด็นเสรีภาพสื่อ จะจัดทำรายงานสถานการณ์เสรีภาพสื่อเป็นประจำทุกปี ทั้งรายงานภาพรวมทั่วโลก ตามภูมิภาค และตามประเทศ โดยปี 2551 ที่ผ่านมาได้สำรวจใน 98 ประเทศ โดยครั้งนี้ได้แยกเสรีภาพอินเทอร์เน็ตออกมาเป็นการเฉพาะด้วย ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีบล็อกเกอร์ถูกจับ 59 ราย และถูกฆ่าหนึ่งราย

นโยบายด้านเทคโนโลยีของบารัค โอบามา – SIU

2009.01.29

รายงานพิเศษโดย อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ Siam Intelligence Unit ถึงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ บารัค โอบามา ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ โดยมีนโยบายจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความเปิดกว้าง เป็นธรรม โปร่งใส ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร อินเทอร์เน็ต และทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้

โอบามาเลือกนักกฎหมายคู่ซี้อุตฯแผ่นเสียง นั่งเก้าอี้ยุติธรรม

2009.01.29

ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้รับการสนันสนุนอย่างอบอุ่นจากกลุ่มที่ต่อสู้เรื่องกฎหมายกับอุตสาหกรรมบันทึกเสียง ลอว์เรนซ์ เลสสิก อาจารย์กฎหมายที่ชูธงนำขบวนการ “วัฒนธรรมเสรี” สนับสนุนวุฒิสมาชิกจากรัฐอิลลินอยส์ผู้นี้อย่างเปิดเผย เช่นเดียวกับ เอริก ชมิดท์ ซีอีโอของกูเกิล และกระทั่งพรรคไพเรตปาร์ตี้อเมริกา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ต่อสู้เพื่อการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาและมีแนวร่วมในระดับนานาชาติ

เชิญร่วมการสำรวจทัศนคติเกี่ยวกับ ‘ความเป็นส่วนตัว’

2009.01.29

เชิญร่วมตอบแบบสอบถาม "ทัศนคติของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว" แบบสอบถามชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (privacy) ความคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์และมีส่วนสนับสนุนอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของงานวิจัยนี้