[25 ก.ย.] “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร” ประชุมประจำปี #tcrc13

2013.09.05 19:19

หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง

การประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 2
หัวข้อ “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร”
2nd Technology and Civil Rights Conference
“Online Privacy and Communications Surveillance”

พุธ 25 ก.ย. 2556 08:30-16:30
ห้อง 5303 อาคาร 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต [แผนที่] [Facebook]

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเครือข่ายพลเมืองเน็ต โดยการสนับสนุนของมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไพรเวซีอินเทอร์เนชันแนล และอินเทอร์นิวส์ ขอเชิญพลเมืองเน็ต นักวิชาการ ผู้ประกอบการ องค์กรประชาสังคม องค์กรกำกับดูแล และสื่อมวลชน ร่วมการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2556 ในหัวข้อ “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร (Online Privacy and Communications Surviellance)”

หลักการและเหตุผล

อินเทอร์เน็ตเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างรวดเร็วขึ้น เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง และในขอบเขตกว้างขวางขึ้น อย่างที่ไม่เคยมีเทคโนโลยีสื่อสารอื่นทำได้ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางการซื้อขายสินค้าและบริการทำให้การทำธุรกรรมระหว่างภาคธุรกิจและผู้บริโภคเป็นไปได้สะดวกสบาย อย่างไรก็ตามการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆหรือ การทำธุรกรรมออนไลน์ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ข้อมูลส่วนตัวในรูปแบบต่างๆ เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่ ประวัติการศึกษา สถานที่ทำงาน รูปถ่าย ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต จะถูกบันทึกและเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญด้วยความที่เป็นระบบเครือข่ายที่ไม่มีกลไก หรือ องค์กรที่เป็นศูนย์กลางในการทำหน้าที่จัดการและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลสำคัญเหล่านั้น เป็นผลให้เมื่อมีการนำข้อมูลส่วนตัว หรือ ข้อมูลทางการเงินเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ย่อมมีความเสี่ยงที่ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกดึงออกมาโดยผู้ประสงค์ร้าย เพื่อนำมาใช้แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ หรือเพื่อคุกคามความปลอดภัย ทำลายชื่อเสียงของบุคคล ความเสี่ยงเหล่านี้ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวออนไลน์ของผู้คนในสังคมเป็นอย่างยิ่ง

ในขณะที่หลายประเทศมีการศึกษาเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวออนไลน์ ทั้งจากมุมมองทางกฎหมาย สังคมศาสตร์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มานานแล้ว แต่ในประเทศไทยประเด็นเรื่องนี้เพิ่งได้รับความสนใจ โดยพื้นที่สำหรับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันยังมีไม่มากนัก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยความร่วมมือจากเครือข่ายพลเมืองเน็ต จึงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดการสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ “หน้าต่างมีหูประตูมีช่อง: ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร (Online Privacy and Communications Surviellance)” เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจสู่สาธารณะ และกระตุ้นให้มีการค้นคว้าวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

การประชุมนี้เป็นการประชุมที่จัดต่อเนื่องมาจากการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ณ หอประชุม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการและนักวิจัยที่ศึกษาความเป็นส่วนตัวออนไลน์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ
  • เพื่อนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่หลากหลาย ทั้งจากทางนิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเทคโนโลยี
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างเครือข่ายวิชาการความเป็นส่วนตัวออนไลน์
  • เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยเรื่องความเป็นส่วนตัวออนไลน์ในประเทศไทยต่อไปในอนาคต

กิจกรรม

นักวิชาการ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี นำเสนอผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร และมีการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามหัวข้อข้างต้น

ภาษาที่ใช้ในการประชุม

ภาษาไทย และมีบริการแปลเป็นภาษาอังกฤษตลอดการประชุม

กำหนดการ

  • 08:30 ลงทะเบียนและรับเอกสารการประชุม
  • 08:50 กล่าวต้อนรับ โดย รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • 09:00 ปาฐกถานำ โดย พล.ต.ท.ดร.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้บัญชาการ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • 09:30 บรรยายพิเศษ โดย คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  • 10:00 นำเสนองานวิจัย 1 (การสอดส่องออนไลน์)
    • “ฝุ่นผงที่ไม่เข้าตา : กูเกิลสายลับประจำบ้าน (Shake but not Stir. Google, Spy you love it!)” โดย ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • “Cyberstalking การตามรังควานบนอินเทอร์เน็ต” โดย ดร.จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    • ประสบการณ์จากนักวิชาชีพกฎหมาย โดย ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
  • 10:45 พัก
  • 11:00 นำเสนองานวิจัย 2 (การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)
    • “การละเมิดความเป็นส่วนตัวทางเว็บไซต์เครือข่ายสังคม”  โดย ผศ.คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
    • “ความเป็นส่วนตัวและการทำเหมืองข้อมูล” โดย ผศ.ดร.จักรพงศ์ นาทวิชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • “ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” โดย ดร.นคร เสรีรักษ์ ที่ปรึกษานโยบาย เครือข่ายพลเมืองเน็ต
    • “การกำกับดูแลเอสเอ็มเอสขยะ” โดย อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ นักวิจัยนโยบายไอซีที บริษัท สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต จำกัด
  • 12:00 พักกลางวัน
  • 13:30 บรรยายพิเศษ: “ความเป็นส่วนตัวคือแกนกลางของความมั่นคงไซเบอร์” โดย คุณดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ภูมิภาคเอเชีย อินเทอร์เน็ตโซไซตี้
  • 14:00 นำเสนอความก้าวหน้าการวิจัย (ภัยจากสื่อสังคม)
    • “การกลั่นแกล้งออนไลน์ในประเทศไทย” โดย ทวีพร คุ้มเมธา นักวิจัยโครงการวิจัยการกลั่นแกล้งออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครือข่ายพลเมืองเน็ต
    • “การสื่อสารความเกลียดชังในยูทูบ” โดย มัทนา นันทา นิสิตปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ให้ความคิดเห็นโดย สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สฤณี อาชวานันทกุล ที่ปรึกษา เครือข่ายพลเมืองเน็ต
  • 15:00 พัก
  • 15:20 ประชุมปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิจัยความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูล
  • 16:00 กล่าวสรุป โดย วสุมล บุณยเกียรติ ผู้ประสานงาน เครือข่ายพลเมืองเน็ต
  • 16:15 จบงาน

*หัวข้อบางหัวข้ออาจมีการเปลี่ยนแปลง

ลงทะเบียน

ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน อย่างไรก็ตามการลงทะเบียนจะทำให้ผู้จัดสามารถประเมินการจัดจำนวนเอกสารประกอบการประชุมและอาหารได้สะดวกขึ้น

[ลงทะเบียน]

แผนที่ไปมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 126/1 ถนนวิภาวดีรังสิต ดินแดง กรุงเทพฯ 10400 [แผนที่]
UTCC map
(คลิกภาพเพื่อขยาย)

แผนที่ในมหาวิทยาลัย

ห้อง 5303 ชั้น 3 อาคาร 5
UTCC campus map
(คลิกภาพเพื่อขยาย)

สื่อสังคมและข้อมูลเพิ่มเติม

ผู้สนับสนุน

UTCC 50th anniversary logo Heinrich Böll Foundation

Internews Privacy International

ภาพประกอบ: ภาพถ่าย “One Nation Under CCTV” โดย whatleydude สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา 2.0
ผลงานศิลปะโดย Banksy

Tags: , , , , , , ,
%d bloggers like this: