2010.11.23 20:50
ส่วนหนึ่งของเทศกาล Netizen Marathon 2010
อาทิตย์ 28 พ.ย. 15:00 – 17:00
คุยกับสถาปนิก เรื่อง “คนกับพื้นที่” (เบญจมาส วินิจจะกุล และ ดวงฤทธิ์ บุนนาค)
@ ร้านหนังสือและกาแฟก็องดิด ถนนตะนาว ใกล้สี่แยกคอกวัว [แผนที่] [Facebook event]
จันทร์ 29 พ.ย. 09:00 – 17:00
เวทีวิชาการสาธารณะเพื่อพัฒนาคำถามวิจัย “ออนไลน์ศึกษา”
@ โครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ตึกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ชั้น 4 ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ [แผนที่]
ดูปฏิทินกิจกรรมอื่น ๆ ในเทศกาลเน็ตติเซ่นมาราธอน 2553 (Clip Kino, ReadCamp, ฯลฯ)
ที่ thainetizen.org/marathon
twitter hashtag: #nm10
ความเป็นมา
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังเช่น เว็บไซต์ โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ระบุตำแหน่ง แผนที่นำทางอัตโนมัติ และเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ ที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิติประจำวันของคนจำนวนมาก ได้ทำให้ความคิดการจำแนก พื้นที่ส่วนตัว/พื้นที่สาธารณะ สื่อสารมวลชน/สื่อสารระหว่างบุคคล ออนไลน์/ออฟไลน์ โลกจริง/โลกเสมือน ในประเทศ/นอกประเทศ หรือ มนุษย์/เครื่องจักร ถูกท้าทายให้ทบทวนใหม่ รวมไปถึงมุมมองหรืออุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ซึ่งเปลี่ยนไป แต่การศึกษาประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายสารสนเทศเช่นนี้ ในประเทศไทยพบว่าโดยมากยังจำกัดอยู่ในสาขาสื่อสารมวลชนและนิติศาสตร์
คณะผู้รับผิดชอบโครงการจึงจัดกิจกรรมการสัมมนาทางวิชาการเพื่อร่วมกันพัฒนาคำถามที่จำเป็นต่อการทำวิจัยในสหวิทยาการ “ออนไลน์ศึกษา” นี้ และนำเสนอคำถามที่ได้ต่อชุมชนวิชาการ ในลักษณะของ “เวทีวิชาการสาธารณะ” (public forum) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตั้งคำถามที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีลักษณะของการสร้างเครือข่ายทางวิชาการประเด็นออนไลน์ศึกษาในลักษณะสหวิทยาการ คณะผู้จัดจึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ รวมถึงนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดกิจกรรมทั้งในรูปแบบเวทีวิชาการในมหาวิทยาลัย และในรูปแบบและภาษาที่ไม่เป็นทางการนอกสถานศึกษา เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายขึ้น
- ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คำกล่าวเปิดงาน 29 พ.ย. 2553 – PDF | OpenDocument
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้ที่สนใจในประเด็นที่คาบเกี่ยวกับออนไลน์ศึกษาและวัฒนธรรมดิจิทัล ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองจากสาขาและความสนใจของตัวเอง
- เพื่อวางทิศทางวิจัยที่เป็นไปได้ด้านออนไลน์ศึกษาและวัฒนธรรมดิจิทัล พิจารณาคำถามที่จำเป็นต่อความเข้าใจในประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะในบริบทที่สัมพันธ์กับสังคมไทย
- เพื่อสร้างชุมชนและเครือข่ายทางวิชาการด้านออนไลน์ศึกษาและวัฒนธรรมดิจิทัล ในลักษณะสหวิทยาการ
รูปแบบกิจกรรม
กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- การสนทนากลุ่ม (focus group) โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขานำเสนอประเด็นสนใจหรือร่างบทความ วิจารณ์ และแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาคำถามวิจัยที่เกี่ยวข้องกับออนไลน์ศึกษาและวัฒนธรรมดิจิทัล กิจกรรมจัดในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 27 และ 28 พฤศจิกายน 2553 ย่านถนนข้าวสาร
- การเสวนาอย่างไม่เป็นทางการ จากมุมมองพื้นที่และสถาปัตยกรรม เพื่อกลุ่มผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เชื่อมกับออนไลน์ สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตประจำวันในเรื่องดังกล่าว กิจกรรมจัดในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2533 ที่ร้านหนังสือก็องดิด
- การสัมมนาเชิงวิชาการ เพื่อเสนอคำถามวิจัย “ออนไลน์ศึกษา” ในเวทีสาธารณะ โดยสังเคราะห์จากส่วนแรกและส่วนที่สอง เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์วิจัยกับชุมชนวิชาการ และเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว จัดในวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน+เอกสาร
(เอกสารประกอบเหล่านี้จัดให้เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความคิดในเวทีเท่านั้น ยังไม่ใช่ฉบับสมบูรณ์ กรุณาติดต่อผู้เขียนก่อนนำไปอ้างอิง เอกสารจำนวนหนึ่งเป็นเอกสารที่ผู้เขียนเคยเผยแพร่ที่อื่นแล้ว)
- ชาญชัย ชัยสุขโกศล ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Hate Speech และข้อมูลที่อันตราย : ประเด็นสำคัญของอินเทอร์เน็ต – PDF | OpenDocument
- สุรัชดา จุลละพราหมณ์ คณะนิติศาสตร์ University College London
- The Future of the Study on the Internet in Thailand: the Philosophy of the
Internet – PDF
- The Future of the Study on the Internet in Thailand: the Philosophy of the
- โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา และ ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- จริยศาสตร์สารสนเทศระหว่างวัฒนธรรม: ความเป็นส่วนตัว การไหลเวียนอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร – PDF | OpenDocument
- Online Self (also) as a Construct – PDF | OpenDocument
- ประมุข ขันเงิน ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- Social Network Studies from Computer Science’s Perspective – PDF
- ฐิตินบ โกมลนิมิ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และโครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการสื่อสารสาธารณะ
- รายงานพิเศษ: สำรวจศักยภาพ ‘อินเทอร์เน็ต’ ที่ชายแดนใต้ ชนชั้นที่ยังห่างไกล ‘เสรีภาพและความเสมอภาค’ – PDF | OpenDocument
- ใช้ ‘สื่อสาธารณะ’ เชื่อมความรู้เคลื่อนการเมืองชายแดนใต้ – PDF | OpenDocument
- จักรพงศ์ นาทวิชัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล ในยุคออนไลน์ – PDF | OpenDocument
- Keiko Sei ภัณฑารักษ์อิสระ
- Pseudo-democracy, the public sphere and web forums: The situation for on-line media in Southeast Asia PDF | OpenDocument
- Some ideas to explore for digital activism in Southeast Asia – PDF | OpenDocument
- ทัศนัย เศรษฐเสรี Center for Media Ethnography and Visualizing Culture Study มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- Lecture Notes on Information and Its Social Impact – PDF | OpenDocument
- ปัตย์ ศรีอรุณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Studio Spaces
- การซ้อนทับของพื้นที่ทางสังคมเสมือนและพื้นที่ทางสังคมกายภาพ : การศึกษากลไกปฎิสัมพันธ์ของร้านกาแฟ ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย ในย่านนิมมานเหมินทร์ ด้วยทฤษฎีองค์ประกอบของพื้นที่ – PDF | OpenDocument
- ความหมายของ “ปฎิสัมพันธ์” ใน ข่วงเฮือน และ Facebook – PDF | OpenDocument
- สันต์ สุวัจฉราภินันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อัตลักษณ์-อัตลักษณ์ทางเพศ-พื้นที่-พื้นที่ทางสายตา – PDF | OpenDocument
- npk srrk; aka @themadmon
- “เราสองคนท่ามกลางผู้คนมากมายรายล้อม”: (บททดลองเสนอว่าด้วย) อัตลักษณ์ที่ไม่ได้มีแต่ตัวคนเดียวในลักษณะเชิงคู่รักคู่สัมพันธ์ – PDF | OpenDocument
- อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เริ่มที่แฟนไปจบที่ออนไลน์ แบบไหน อย่างไร ใครคือแฟน ใครคือพลเมืองเน็ต – PDF | OpenDocument
- ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ สาขาวิชาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อุปลักษณ์ในอินเทอร์เน็ตศึกษา – PDF | OpenDocument
กำหนดการวันที่ 29 พ.ย.
- ช่วงเช้า เสนอประเด็นจากวงสนทนากลุ่มวันที่ 27 และ 28 พ.ย.
- ช่วงบ่าย “ซักถาม” ประเด็นต่อเนื่อง ในแบบ BarCamp
กิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการในวันที่ 29 พฤศจิกายน จะดำเนินทั้งวัน โดยช่วงเช้าจะเป็นการเสนอประเด็นจำนวนหนึ่งที่ได้เตรียมมาจากสองกิจกรรมก่อนหน้า และช่วงบ่าย จะเป็นการ “ซักถาม” ใน 2 ห้องย่อย
เพื่อให้การซักถามเป็นไปได้อย่างละเอียดและผู้เข้าร่วมสามารถเสนอประเด็นการพูดคุยได้ กิจกรรมช่วงบ่ายจะจัดในลักษณะ “อสัมมนา” (unconference) แบบบาร์แคมป์ (BarCamp) ดังนี้
- ในช่วงเช้าหรือระหว่างพักกลางวัน ผู้เข้าร่วมจะเขียนคำถามที่ต้องการซักถาม หรือประเด็นที่อยากให้ลงรายละเอียด หรือประเด็นใหม่ที่อยากเสริม ลงในกระดาษที่จัดเตรียมไว้ให้
- จากนั้นแปะกระดาษดังกล่าวของตัวเองที่ฝา
- เดินดูกระดาษของผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ ว่ามีคำถามหรือประเด็นอะไรที่เราก็อยากรู้เช่นกัน แล้วโหวต โดยการขีดคะแนนเพิ่มลงไปบนกระดาษ ||| ก่อนการสัมมนาช่วงบ่ายจะเริ่ม
- คำถามจำนวนหนึ่งที่ได้คะแนนโหวตอันดันต้น ๆ จะถูกเลือกมาจัดเป็นสองกลุ่ม ตามความใกล้เคียงของประเด็น และจะเป็นคำถามที่ใช้ในการสัมมนาย่อยช่วงบ่าย
ดาวน์โหลด: แนะนำงาน “ออนไลน์ศึกษา” | ปฏิทินเทศกาลเน็ตติเซ่นมาราธอน
Tags: architecture, Netizen Marathon 2010, Thai Netizen Network, Thammasat University, urban planning