Tag: internet security

เปิดผลวิจัย ความเป็นส่วนตัวออนไลน์

[22 ธ.ค.] เสนอผลวิจัย+สัมมนา “บริการออนไลน์ไทยปลอดภัยแค่ไหน?: มาตรการทางกฎหมายและทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย”

2014.12.17

บริการออนไลน์ของไทยมีความปลอดภัยแค่ไหน เว็บไซต์ต่างๆ ดูแลข้อมูลของลูกค้าอย่างไร เราจะมีหลักอะไรในการพิจารณาเลือกบริการที่รับผิดชอบต่อลูกค้าได้บ้าง และปัจจุบันมีกฎหมายอะไรบ้างที่คุ้มครองเรา? หาคำตอบร่วมกันได้ในงานนี้

ระบอบเจ้าที่ดินและความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต

2013.07.01

การเปิดโปงโครงการดักฟังข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตหรือโครงการ “ปริซึม” (PRISM) ของสหรัฐอเมริกา (NSA) นำมาสู่การถกเถียงอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ขณะที่เราฝากข้อมูลสำคัญต่างๆ ในชีวิตของเราไว้ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ เราในฐานะปัจเจกชนได้รับความคุ้มครองและมีความเป็นส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน Bruce Schneier เสนอให้มองความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าเป็นระบอบเจ้าที่ดินยุคใหม่ การเปรียบเทียบลักษณะนี้อาจทำให้เราเห็นทางออกด้านความปลอดภัยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากระบบเจ้าที่ดินได้

นวัตกรรมนโยบายสาธารณะ : พลเมืองดิจิทัล พลวัตทางเทคโนโลยี #tcr2012

2012.08.07

เอกสารจากการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองครั้งที่ 1 ช่วงเสวนา “นวัตกรรมนโยบายสาธารณะ : พลเมืองดิจิทัล พลวัตทางเทคโนโลยี” เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2555
กรณีที่เกิดขึ้นควรเป็นบทเรียนให้ทั้งผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการ และนักพัฒนาระบบ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องสิทธิของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิเองในกรณีนี้ ทุกฝ่ายควรตระหนักว่าความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ภาระของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น และกรณีดังกล่าวต้องไม่ถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการออกมาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

เครือข่ายพลเมืองเน็ต: แถลงการณ์ต่อกรณีการเข้าสู่บัญชีทวิตเตอร์ของนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้รับอนุญาต

2011.10.04

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต กรณีบัญชีทวิตเตอร์ @PouYingluck ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกเข้าถึงโดยบุคคลอื่น ในวันที่ 2 ตุลาคม 2554 และได้เผยแพร่ข้อความจำนวน 8 ข้อความอย่างต่อเนื่อง มีเนื้อหาวิพากษ์นโยบายสาธารณะ
แม้กระทั่ง twitter ตนเองยังปกป้องไว้ไม่ได้ แล้วประเทศนี้จะปกป้องได้อย่างไร? ฝากให้พี่น้องคิดดูนะครับ

ทวิตเตอร์นายกยิงลักษณ์ถูกเจาะ – เรียนรู้วิธีป้องกัน – และมาตรา 14

2011.10.02

ทวิตเตอร์ของนายกรัฐมนตรีถูกเจาะและใช้เพื่อโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาล เรื่องนี้มีความเป็นไปได้อย่างไร เราจะป้องกันตัวเองจากการถูกเจาะได้อย่างไร และข้อสังเกตเบื้องต้นในการค้นหาผู้กระทำและการแจ้งความผิด

จัดด่วน “ใช้เน็ตแบบปลอดภัย” โดย Security-in-a-Box

2011.05.27

คู่มือฉบับย่อ เพื่อการสื่อสารอย่างปลอดภัย แปลจากเอกสารของโครงการ [Security-in-a-box](https://security.ngoinabox.org/) โดยเน้นความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ และการรักษาข้อมูลส่วนตัว ครอบคลุมเนื้อหา 6 ส่วน **"อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร", "ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย", "เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมอย่างปลอดภัย", "ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัย", "ปกป้องอีเมลให้ปลอดภัย", "รหัสผ่าน: การป้องกันด่านแรก"** แต่ละส่วนจบใน 1 หน้ากระดาษ A4 ดาวน์โหลด: [สำหรับพิมพ์ลงกระดาษ A5](http://thainetizen.org/sites/default/files/security-in-a-box-flash-cards-thai-20110527.pdf) | [A4 (แนวนอน)](http://thainetizen.org/sites/default/files/security-in-a-box-flash-cards-thai-20110527-a4print.pdf) | [ต้นฉบับ OpenDocument Text](http://thainetizen.org/sites/default/files/security-in-a-box-flash-cards-thai-20110527.odt) | [Google Docs](https://docs.google.com/document/pub?id=1RNg4ZAXt0ZXjEdBh10ebz5b87CCLXq_1ficbdSG6Yr4) "คู่มือฉบับย่อ" หรือ "flash cards" นี้สามารถพิมพ์ลงกระดาษ A5 หน้า-หลัง (หรือ A4 ด้านเดียว) ได้รวม 6 แผ่น เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการอบรม แปลไทยโดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต เนื้อหาต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยโครงการ Security-in-a-Box ซึ่งเป็นโครงการโดย [Front Line](http://www.frontlinedefenders.org/) ร่วมกับ [Tactical Technology Collective](http://www.tacticaltech.org/) สำหรับคู่มือฉบับเต็ม ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตกำลังจัดทำอยู่ โดยได้รับการสนับสนุนจาก[มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์](http://www.boell-southeastasia.org/web/47.html)

PlayStation Network ที่ถูกเจาะ ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีรูรั่วความปลอดภัย และไม่มีไฟร์วอลล์

2011.05.06 2 comments

ผู้เชี่ยวชาญเผย เครือข่ายเกมออนไลน์ PlayStation Network ของโซนี่ ถูกเจาะเนื่องจากใช้ซอฟต์แวร์ที่ล้าสมัย ไม่ได้ปรับปรุงเพื่อปิดรูรั่วความปลอดภัย อีกทั้งไม่ได้ติดตั้งไฟร์วอลล์ป้องกันการบุกรุก องค์สิทธิผู้บริโภคระบุเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบ