ความเคลื่อนไหว

รัฐบาล”อภิสิทธิ์”จี้จัดการ”เว็บหมิ่น”-วิทยุชุมชนด้วย

2009.01.29

ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 มกราคม  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี  ได้เรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง เพื่อหารือมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การสรุปสถานการณ์ความมั่นคง รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาเว็บไซต์ที่กระทบความมั่นคง โดยมีผู้แทนหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.อ.ปร ะวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ใช้เวลาประชุมกว่า 1 ชั่วโมง

เผยโลกไซเบอร์ภัยคุกคามตัวฉกาจ

2009.01.29

เอฟบีไอเผยการจู่โจมบนโลกไซเบอร์กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดสำหรับอเมริกา รองจากสงครามนิวเคลียร์และอาวุธทำลายล้างสูง ที่สำคัญการโจมตีบนโลกไซเบอร์ยังป้องกันยากขึ้นเรื่อยๆ การโจมตีบนโลกไซเบอร์กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดสำหรับสหรัฐเมริกา รองจากสงครามนิวเคลียร์และอาวุธทำลายล้างสูง จากการเปิดเผยของสำนักสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ของสหรัฐอเมริกา โดยนายชอว์น เฮนรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ของเอฟบีไอ แถลงเมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาว่า การโจมตีทางคอมพิวเตอร์กลายเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติที่ร้ายแรงที่สุด ต่อโครงสร้างพื้นฐาน ต่อข้อมูลข่าวกรองและต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เซียนเน็ต”คอนเฟิร์ม”เทรนด์ปี52

2009.01.29

ใครๆ ก็ออกมาคอนเฟิร์มว่า ปีนี้เศรษฐกิจทั่วโลกจะเข้าขั้นวิกฤติแบบสุดๆ หากในโลกของอินเทอร์เน็ตหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ และบรรทัดต่อจากนี้ คือ แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตทั่วโลก และทั่วไทยในปี 2552 นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้คร่ำหวอดในวงการอินเทอร์เน็ตไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด ประเมินว่า หากมองสถานการณ์เว็บในไทยปีนี้ ผู้ให้บริการเว็บหลักๆ จะเหลือเพียงไม่กี่ราย และปีถัดไปโอกาสที่จะเห็นเว็บไซต์ไทยใหญ่ๆ เกิดขึ้นคงเป็นเรื่อง "ยาก" ทั้งนี้ เพราะปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวแปร เช่น หลายเว็บเริ่มเปลี่ยนรูปแบบจากพอร์ทัลไปสู่โซเชียลมากขึ้น คนธรรมดากลายเป็นเจ้าของเว็บบล็อก (Blog) มากขึ้น ทำให้การเข้าถึงหรือการสร้างเว็บขนาดใหญ่มีให้เห็นน้อยลง

พลเมืองเน็ตแนะรัฐบาลตั้งเวทีระดมความเห็นแก้เว็บหมิ่น “เอ็นจีโอ” หวั่นเป็นเครื่องมือจัดการฝ่ายตรงข้าม

2009.01.29

เครือข่ายพลเมืองเน็ตร้องนายกฯจัดเวที ระดมความคิดเห็น แก้ปัญหาเว็บไซต์-วิทยุชุมชน พร้อมกำหนดนิยาม"หมิ่นเบื้องสูง" หวั่นปิดเว็บเข้าข่ายลิดรอนเสรีภาพเข้าถึงข้อมูล ทำชุมชนออนไลน์หวาดกลัว แนะต้องขอหมายศาลตามสากล เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ซอยรัชดา 14 เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าวกรณี มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามเว็บไซต์และวิทยุชุมชน เรื่อง "ขอรัฐอย่าจับเสรีภาพ สิทธิพลเมือง เป็นตัวประกัน"

40 ส.ว.จี้ล้างเว็บไซต์หมิ่นเบื้องสูง

2009.01.29

วันเดียวกัน นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีกลุ่มองค์กรภาคประชาชนไม่เห็นด้วยกับแนวทางรัฐบาล ที่จะแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง

พลเมืองเน็ต-คปส.-FACT ร้องรัฐ “อย่าจับสิทธิประชาชนเป็นตัวประกัน”

2009.01.29

วานนี้ (10 ม.ค.52) เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network: TNN) ร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand: FACT) จัดแถลงข่าวแสดงจุดยืน กรณีมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการจับกุม ปราบปรามเว็บไซต์และวิทยุชุมชน ในหัวข้อ “ขอรัฐอย่าจับเสรีภาพ สิทธิพลเมือง เป็นตัวประกัน” ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่อพลเมืองของตนเอง ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

คปส. ยื่นหนังสือเรียกร้องนายกฯ จัดมาตรการคุมเข้มสื่อพาดพิงสถาบัน เสนอยุติวอร์รูม

2009.01.29

คปส. ยื่นหนังสือเรียกร้องนายกฯ จัดมาตรการคุมเข้มสื่อพาดพิงสถาบัน พร้อมเสนอแนะให้รัฐยุติวอร์รูมที่ประกาศสงครามกับสื่อ เมื่อเวลา 08.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ นำเครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (เอฟเอซีที) เข้าพบและยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี

คปส.ยื่นหนังสือถึงนายกฯจี้จัดการสื่อผิดกฎหมาย

2009.01.29

(13 ม. ค.) น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ นำเครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (เอฟเอซีที) ได้พบและยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีโอกาสเข้าพบและพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานประชุม ครม.ประมาณ 5 นาที เพื่อขอให้รัฐบาลดูแลการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต และวิทยุชุมชนตามที่รัฐบาลมีนโยบายป้องกันไม่ให้มีการนำสื่อไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือพาดพิงสถาบัน

อภิสิทธิ์จัดสรรสื่อของรัฐใหม่สอดคล้องสถานการณ์

2009.01.29

วันนี้ (13 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ บรรยายพิเศษในหัวข้อ "นโยบาย และการผลักดันการปฏิรูปสื่อของรัฐบาลอภิสิทธิ์" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า ปัจจุบันสื่อมีบทบาทความสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ดังนั้นสื่อต้องทำงานบนหลักประชาธิปไตย ในเรื่องของสิทธิเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็น มุมมองต่าง ๆ อย่างเป็นกลาง โดยเห็นว่าการปฎิรูปสื่อต้องแก้ปัญหาโครงสร้างขององค์กรเนื่องจากปัจจุบัน สื่อทุกแขนงโดยเฉพาะสื่อของรัฐถูกคุกคามจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน เพราะหากสามารถควบคุมสื่อได้ก็จะชนะในการต่อสู้

RSF: หรือไทยจะเป็น “ศัตรูของอินเทอร์เน็ต” รายใหม่?

2009.01.29

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) เพิ่มระดับความวิตกกังวลต่อต่อเสรีภาพของการแสดงความเห็นผ่านโลกออนไลน์ใน ประเทศไทยอีกครั้ง หลัง ใจ อึ๊งภากรณ์ ถูกดำเนินคดีหมิ่นเป็นรายล่าสุด พร้อมประณามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เป็นตัวแทนในการสร้างกลไก รุกรานเสรีภาพในการแสดงออก