ความเคลื่อนไหว

แถลงการณ์ ขอให้รัฐบาลใหม่ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ปกป้องสิทธิของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและคุ้มครองเสรีภาพของ สื่อออนไลน์

2009.01.29

ตามที่ประเทศไทยได้เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 อันนำไปสู่ การลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งการปิดกั้นเว็บการปิดกั้นอินเตอร์เน็ต และการปิดกั้นสื่อออนไลนโดยเฉพาะการใช้มาตรการทางกฏหมายต่างๆที่คลุมเครือไม่เป็นธรรม มีอคติและวาระทางการเมือง

เครือข่ายพลเมืองเน็ต ท้วงนโยบายวอร์รูม ไอซีที ร้องเปิดเวทีให้มีส่วนร่วมกำกับดูแลสื่อออนไลน์

2009.01.29

กรุงเทพฯ:  สืบเนื่องจากกรณี  ร.ต.(หญิง) ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (รมว.ไอซีที) เปิดเผยถึงมาตรการปิดกั้น (บล็อค) เว็บไซต์หมิ่นฯ ที่จะต้องใช้งบประมาณกว่า 80 ล้าน บาทและจะมีการเร่งแก้ข้อกฎหมายเพิ่มอำนาจเบ็ดเสร็จให้กับกระทรวงไอซีทีนั้น ทางสมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต มีข้อกังวลใจต่อนโยบายดังกล่าว พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายร่วมพูดคุย หาทางออก ไม่ควรใช้ท่าทีประกาศศึกให้เกิดบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวในชุมชนออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลสะท้อนมุมกลับได้

ประชาสัมพันธ์ TNN คปส. FACT ร่วมกันแถลงข่าว กรณีมติครม.เรื่องการจับกุม ปราบปรามเว็บไซต์และวิทยุชุมชน

2009.01.29

เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย ร่วมกัน แถลงข่าว กรณี มติคณะรัฐมนตรีเรื่องการจับกุม ปราบปรามเว็บไซต์และวิทยุชุมชน

สรุปการแถลงข่าว แสดงจุดยืนเรื่อง นโยบายรัฐในการจับกุม ปราบปรามอินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน

2009.01.29

โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ ประเทศไทย (FACT) ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 10 มกราคม 2552

ธนาพล อิ๋วสกุล: จดหมายถึงเครือข่ายพลเมืองเน็ต – คปส. – FACT

2009.01.29

ถึง เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ และ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย ตามที่ท่านที่เอ่ยนามมาข้างต้นจะเดินทางไปพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อยื่นจดหมายถึง นายกรัฐมนตรีในหัวข้อ “ข้อเสนอต่อนโยบายการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน” ในวันอังคารที่ 13 มกราคม 2552 เวลา 8.30 น. นั้น ผมมีความเห็นดังต่อไปนี้

แจ้งข่าวยื่นหนังสือนายกฯ เรื่องอินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน

2009.01.29

ใบแจ้งข่าว เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่องข้อเสนอในการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมและปกป้องสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

ค้านมาตรการวอร์รูมคุมสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน เรียกร้องรัฐเปิดการมีส่วนรวมและสร้างความชัดเจน

2009.01.29

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 9.00 น.เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย นำโดยนายกานต์ ยืนยง นายไกลก้อง ไวทยากร นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นายสุเทพ วิไลเลิศ นายสุนิตย์ เชรษฐา นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีซึ่งได้มารับหนังสือและเจรจาเป็นเวลา 5 นาทีโดยรับเรื่องและข้อเสนอคัดค้านการจัดตั้งวอร์รูม หรือการประกาศสงครามกับสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน หลังจากที่ได้เข้าพบ พบว่ารัฐบาลไม่ได้มีแนวทางการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งอาจจะต้องตั้งคณะทำงานร่วมต่อไป ในหนังสือยื่นต่อนายกฯมีรายละเอียดดังนี้

การหาเสียงเลือกตั้งด้วยอินเตอร์เน็ต: กรณีศึกษาโอบามา และการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

2009.01.29

โดย อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ : Siam Intelligence Unit ข้อความแสดงที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL) บนป้ายหาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดูจะไม่ใช่ เรื่องแปลกใหม่อีกต่อไป การนำเอาเทคโนโลยีบนอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยหาเสียงนั้นถูกใช้มาเป็นระยะเวลา นานพอสมควรแล้ว และในยุคสมัยที่ บารัก โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนปัจจุบัน ใช้แคมเปญออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพจนกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เขาชนะการ เลือกตั้ง เราก็อาจมองได้ว่าการมีแค่เว็บไซต์เพียงอย่างเดียว อาจเป็นเรื่องล้าสมัยไปเสียแล้ว

ยอดละเมิดสิทธิผ่านเน็ตพุ่งกระฉูด

2009.01.29

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : บีเอสเอชี้ยอดดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เถื่อนส่อเค้าพุ่งจากผู้ใช้เน็ตเร็วสูงเพิ่มเยาวชนเริ่มละเมิดจาก เดิมมีแต่ผู้ชำนาญการเหตุมีช่องทางเผยแพร่วิธีติดตั้งใช้งานไฟล์เถื่อนผ่านเวบตำรวจไทยโชว์จับซอฟต์แวร์ผี 6 เดือนแรก กว่า 100 ล้านบาท

ตำรวจเชือดไก่ ทะลวง BitTorrent เจอคลิปโป๊-ละเมิดลิขสิทธิ์ ยึดทันที 14 เครื่องเซิร์ฟเวอร์

2009.01.29

กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี (ปดส.) และกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี (ปศท.) เข้าบุกอาคาร CAT-IDC (อินเตอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ของ กสท.) ซึ่งเป็นที่วางเซิร์ฟเวอร์ของผู้ประกอบการ องค์กร จำนวนมาก ตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา ข้อมูลล่าสุดพบว่า ตำรวจได้ยึดเซิร์ฟเวอร์ไปแล้วอย่างน้อย 14 เครื่อง การบุกจับครั้งนี้ มุ่งหาความผิดสองประการ คือ จับเครื่องที่มีเว็บโป๊ มีการโหลดคลิปโป๊ผิดกฎหมาย โดยอ้างอิงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และเครื่องที่มีข้อมูลละเมิดลิขสิทธิ์ โดยอ้างอิงความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์