2014.02.10 19:16
[For Immediate Release — Scroll down for English]
วันที่โลกโต้กลับ
ในปีที่ผ่านมา โลกได้เรียนรู้ว่าการสอดแนมมวลชนโดยรัฐบาลต่างๆ นั้น ไม่มีพรมแดน
วันนี้ 11 ก.พ. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกยืนเคียงข้างกัน
วันนี้ ปัจเจกบุคคล องค์กรประชาสังคม และเว็บไซต์นับพันๆ แห่ง จะบอกกับรัฐบาลต่างๆ ในโลกนี้ ให้รู้ว่า เราไม่ยอมรับการสอดแนมมวลชนทั่วโลก ไม่ว่าจะที่บ้านของเราหรือต่างแดน
วันนี้ เราสู้กลับ
ประชาชนเช่นคุณจะออกไปเดินขบวนในฟิลิปปินส์ โคเปนเฮเกน สตอกโฮล์ม และซานฟรานซิสโก พวกเขาจะโทรหรือเขียนไปหาผู้แทนที่เขาเลือก ในสหราชอาณาจักร แคนาดา โคลัมเบีย และโปแลนด์ พวกเขาจะจัดแถลงข่าวและร่วมการประท้วงออนไลน์ในอูกันดา เม็กซิโก บราซิล และออสเตรเลีย และพวกพวกเขาจะสนับสนุน “หลักความเป็นจำและได้สัดส่วน” เรียกร้องให้ปกป้องสิทธิมนุษยชน และยุติการสอดแนมมวลชน
การสอดแนมมวลชนละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเรา
ในปี 2556 เอกสารที่ถูกเผยแพร่โดยอดีตพนักงานสัญญาจ้างของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSA) เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ได้เปิดโปงโครงการจัดเก็บข่าวกรองสารพัดรูปแบบหลายสิบโครงการ ที่กำลังดำเนินอยู่ในนานาประเทศทั่วโลก เอกสารของเขาแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานข่าวกรองดักรับข้อมูลส่วนตัวของคนเกือบทุกคนในดาวเคราะห์ดวงนี้
โครงการสอดแนมมวลชนเหล่านี้ ทำไปโดยละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน พวกมันละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของพวกเขา และฝ่าฝืนสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและรวมกลุ่มสมาคมของพวกเรา พวกมันทำร้ายเสรีภาพและความเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ตทั่วโลก และบ่อนทำลายคุณค่าประชาธิปไตยของพวกเรา
วันนี้ เราขอให้คุณร่วมขบวนกับเรา ไปที่ TheDayWeFightBack และลงชื่อสนับสนุนหลักการ บอกเพื่อนของคุณ แชร์กิจกรรมของคุณในโซเชียลมีเดีย ติดต่อหาส.ส.หรือส.ว.ของคุณ ไปร่วมประท้วง ร่วมขบวนเคลื่อนไหว
ตอนนี้คุณทำอะไรได้บ้าง?
มีกิจกรรมและการรณรงค์เกิดขึ้นมากมายในวันนี้ และเราต้องการให้คุณช่วยเรา ลุกขึ้นและสู้กลับ เสียงทุกเสียงมีค่า ทำให้รัฐบาลได้ยินว่า: เราจะไม่ทนกับการสอดแนมมวลชน
- ลงมือ: ไปที่ TheDayWeFightBack.org ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นในประเทศของคุณบ้าง และลงชื่อในหลักความจำเป็นและได้สัดส่วนที่ https://th.neccessaryandproportionate.org/take-action
- แสดงกล่อง TheDayWeFightBack ในเว็บไซต์ของคุณ: เพิ่มโค้ดลงเว็บไซต์ของคุณ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนที่เข้าดูไซต์รู้สึกอยากเข้าร่วม ไปที่เว็บไซต์ TheDayWeFightBack.org เพื่อดูว่าจะทำอะไรได้บ้าง
- บอกต่อ: ใช้โซเชียลมีเดียบอกต่อให้เพื่อนๆ และครอบครัวของคุณได้รู้ว่าพวกเขาควรลงมือทำอะไรได้แล้ว แชร์ลิงก์ของเว็บไซต์ TheDayWeFightBack และเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ (ดูรายละเอียดเพิ่มในเว็บไซต์)
ตัวอย่างทวีต:- วันนี้ เราลุกขึ้นสู้กับการสอดแนมมวลชนโดย NSA และ GCHQ คุณอยากเข้าร่วมด้วยกันไหม? https://thedaywefightback.org/ #fightback
- นักกิจกรรมเป็นล้านๆ ทั่วโลกส่งเสียง: โลกจะทำงานดีกว่านี้ ถ้าอินเทอร์เน็ตทำงานดีกว่านี้ https://thedaywefightback.org/ #fightback
- ลองเล่นสิ่งใหม่ๆ! ช่วงเวลานี้จะเป็นอะไรก็ได้ แล้วว่าแต่พวกเรา ชุมชนทางความคิดของคนที่เป็นเดือดเป็นร้อนกับอินเทอร์เน็ต อยากจะสร้างมันให้เป็นแบบไหน โพสต์ความเห็นพร้อมลิงก์ไปยังเรื่องราวที่เกี่ยวกับสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ สร้างและแชร์มีม สร้างเว็บไซต์ จัดกิจกรรม และบอกกับเรา เพื่อที่เราจะได้บอกต่อ
นี่เป็นขบวนการระดับโลกอย่างแท้จริง จากโคลัมเบียถึงเกาหลีใต้ สหราชอาณาจักรถึงยูกันดา ผู้คนยืนขึ้นเพื่อยืนยันสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขา นี่คือตัวอย่างของกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั่วโลก:
- อาร์เจนตินา: Asociación por los Derechos Civiles และ Vía Libre Foundation จะประกาศยื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับดูแลการข่าวกรองของสภาอาร์เจนตินา ADC, FVL, และ Instituto Latinoamericano de Seguridad y Democracia—องค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่นผู้ก่อตั้ง Citizens’ Initiative for Control of Intelligence Agencies—ได้ถามถึงข้อมูลพื้นฐานของกลไกการกำกับดูแลการข่าวกรองในประเทศต่อสภา
- ออสเตรเลีย: พันธมิตรขององค์กรสำคัญๆ จะเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียทบทวนอย่างละเอียดถึงกิจกรรมสอดแนมมวลชนที่ดำเนินการโดยหน่วยงานความมั่นคงของออสเตรเลียและภาคี “นัยน์ตาทั้งห้า” (Five Eyes) และให้ดำเนินการออกกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่ใช้ได้จริง การแถลงข่าวร่วมจะมีขึ้นที่สภาผู้แทนราษฎรที่แคนเบอร์รา ในเช้าของวันที่ 11 ก.พ. ซึ่งเป็นวันแรกของสมัยประชุมในปี 2014 นอกจากนี้กลุ่มพันธมิตรจะเปิดตัวแคมเปญ Citizens, Not Suspects (พลเมือง ไม่ใช่ผู้ต้องสงสัย) เพื่อต่อสู่้กับการสอดแนมที่ไม่มีการตรวจสอบ
- บราซิล: สภานิติบัญญัติของบราซิล จะโหวตผ่านร่างกฎหมาย Marco Civil กรอบกฎหมายด้านสิทธิดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดของบราซิล ชาวบราซิลจะจัดกิจกรรมพบปะสังสรรค์ในบราซีเลีย เมืองหลวงของประเทศ เพื่อเรียกร้องให้ฉบับสุดท้ายของกฎหมายนั้นคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวของพลเมืองบราซิล
- แคนาดา: มากกว่า 45 องค์กรใหญ่ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญมากกว่าสิบคน และชาวแคนาดาเป็นหมื่นๆ เรียกร้องให้ผู้แทนที่ตัวเองเลือก หยุดการสอดแนมที่ผิดกฎหมายโดย Communications Security Establishment Canada หน่วยงานสอดแนมของแคนาดา
- โคลัมเบีย: ชาวโคลัมเบียจากเปิดตัวแคมเปญ “Internet sin Chuzadas” เรียกร้องให้ยุติการสอดแนมที่ไม่มีการตรวจสอบ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พวกเขาจะเปิดตัววิดีโอ แสดงการทำงานของการดักฟัง และพวกเขาจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อป้องกันตัวเอง
- ฝรั่งเศส: La Quadrature du Net จะเปิดตัวเว็บไซต์ NSA Observer ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลที่สาธารณะรับรู้เกี่ยวกับโครงการสอดแนมของ NSA และเปิดตัวอนิเมชันขนาดสั้นเรื่อง “Reclaim your Privacy” (เอาความเป็นส่วนตัวของคุณคืนมา) เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว การสอดแนมมวลชน และความจำเป็นเร่งด่วนในการคิดถึงความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยี
- ฟิลิปปินส์: Philippine Internet Freedom Alliance (PIFA) จะจัดกิจกรรมใหญ่ เพื่อต่อต้านกฎหมาย Cybercrime Prevention Act ที่รุนแรงของฟิลิปปินส์ ซึ่งรวมถึงการประท้วงที่ศาลฎีกา แคมเปญถ่ายรูปตัวเอง และ “การบอมบ์สติกเกอร์”
- โปแลนด์: Panoptykon Foundation จะส่งจดหมายไปถึงประธานาธิบดี บารัค โอบามา เรียกร้องคำตอบเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลมหาศาลของ NSA และความร่วมมือระหว่างประเทศของหน่วยงานข่าวกรอง ซึ่งส่งผลกระทบกับพลเมืองโปแลนด์ เช่นเดียวกับพลเมืองยุโรปทุกคน Panoptykon Foundation จะเดินหน้ากดดันรัฐบาลโปแลนด์ให้เร่งตอบ คำถาม 100 ข้อ ที่ถามถึงการสอดแนม ที่กลุ่มพันธมิตรขององค์กรพัฒนาเอกชนโปแลนด์ถามไปเมื่อสี่เดือนที่แล้ว
- เนเธอร์แลนด์: Bits of Freedom จะเรียกร้องให้พลเมืองดัทช์เข้าร่วมรณรงค์วัน The Day We Fight Back และแชร์ข่าวแคมเปญยุติการสอดแนมมวลชน: bespiedonsniet.nl (“อย่าแอบดูพวกเรา”)
- เซอร์เบีย: SHARE Foundation จะเรียกร้องพลเมืองเน็ตอีกครั้ง ให้ยืนหยัดต่อสู้กับการสอดแนมมวลชน โดยการลงชื่อและสนับสนุนหลัก 13 ประการ ต้านการสอดแนมมวลชน
- ยูกันดา: Unwanted Witness จะล่ารายชื่อของบริษัทโทรคมนาคม ให้หยุดการแชร์ข้อมูลของพลเมืองให้กับหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่ข้องเกี่ยวกับการสอดแนมมวลชน
- สหราชอาณาจักร: กลุ่มรณรงค์ความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออกชั้นนำของสหราชอาณาจักร รวมตัวกันเปิดแคมเปญ DontSpyOnUs.org.uk เรียกร้องให้องค์กรต่างๆ ช่วยกันหยุดโครงการสอดแนมมวลชนต่างๆ ของ GCHQ
- สหรัฐอเมริกา: มากกว่า 4,000 เว็บไซต์และบริษัท สัญญาที่จะติดกล่อง TheDayWeFightBack บนเว็บไซต์ของพวกเขา ประชาชนเป็นพันๆ จะโทรและอีเมลหาผู้แทนในสภาของพวกเขา เรียกร้องให้ผ่านกฎหมาย USA Freedom Act และยุติการสอดแนมมวลชน
- ประเทศไทย: เครือข่ายพลเมืองเน็ต และ Protection International ชวนทุกคนทำแผนที่กล้องวงจรปิดในที่สาธารณะ ถ่ายรูปกล้องแชร์ในโซเชียลมีเดีย และติดแท็ก #CCTVthailand และจัดกิจกรรม CryptoParty ค่ำวันที่ 11 ก.พ. เพื่อพบปะและเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องมือปกป้องความเป็นส่วนตัวออนไลน์
- นานาชาติ: The Web We Want เชิญชวนให้นักวาดการ์ตูน ครีเอทีฟ และศิลปิน ร่วมกิจกรรมวัน The Day We Fight Back ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ด้วยการวาดการ์ตูนเกี่ยวกับการสอดแนมออนไลน์และสิทธิในความเป็นส่วนตัว
- และอีกมากที่: https://th.necessaryandproportionate.org/take-action
หลักความจำเป็นและได้สัดส่วน
ในปีที่ผ่านมา องค์กรมากกว่า 360 แห่งจากมากกว่า 70 ประเทศ ได้ร่วมกันสนับสนุน “หลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้หลักสิทธิมนุษยชนกับการสอดแนมการสื่อสาร” หลัก 13 ประการนี้เป็นใจกลางสำคัญของความพยายามของพวกเราในการยุติการสอดแนมการสื่อสาร: ชุดของคำแนะนำที่ชัดเจน เพื่อวางพื้นฐานข้อผูกมัดทางสิทธิมนุษยชนกับรัฐบาลที่จะหาทางสอดแนมพวกเรา
หลักการเหล่านี้มาจากการพูดคุยปรึกษาหารือเป็นเวลาหลายเดือนกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ความเป็นส่วนตัว และสิทธิมนุษยชน จากทั่วโลก แต่ในวันนี้ หลักการเหล่านี้กำลังจะได้รับการสนับสนุนที่สำคัญที่สุด: จากประชาชน
หลักการเหล่านี้ระบุอย่างชัดเจนว่า:
- รัฐต่างๆ จะต้องยอมรับว่าการสอดแนมมวลชนนั้นคุกคามสิทธิของมนุษย์ที่จะมีความเป็นส่วนตัว มีเสรีภาพในการแสดงออก และมีการรวมกลุ่มสมาคม และรัฐต่างๆ จะต้องบรรจุหลักการเหล่านี้ลงไปในใจกลางของกรอบกฎหมายการสอดแนมการสื่อสาร
- รัฐต่างๆ จะต้องสัญญาให้หลักประกันว่า ความก้าวหน้าไปในเทคโนโลยี จะไม่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างไม่สมสัดส่วนของความสามารถของรัฐในการก้าวก่ายรบกวนชีวิตส่วนตัวของบุคคล
- ความโปร่งใสและการตรวจสอบแนะนำที่เข้มงวด เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะประกันว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในกิจกรรมการสอดแนม จะได้รับประโยชน์จากการถกเถียงในทางสาธารณะและการใคร่ครวญพิจารณาอย่างละเอียดในทางตุลาการ สิ่งนี้รวมถึงการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพแก่ผู้เปิดโปงความไม่ชอบมาพากล
- เช่นเดียวกับที่การสอดแนมสมัยใหม่ทะลุผ่านพรมแดน การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวก็ต้องเป็นเช่นนั้นเช่นกัน
สรุปหลักการ
ความชอบด้วยกฎหมาย
การจำกัดสิทธิความเป็นส่วนตัวจะต้องถูกระบุอย่างชัดเจนและแม่นยำในกฎหมาย และควรถูกทบทวนเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวจะตามทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี
เป้าหมายที่ชอบธรรม
การสอดแนมการสื่อสารจะได้รับอนุญาตให้ทำได้สำหรับการดำเนินกิจกรรมเพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของรัฐเท่านั้น
ความจำเป็น
รัฐมีข้อผูกพันที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ากิจกรรมสอดแนมการสื่อสารนั้นจำเป็นในการบรรลุจุดประสงค์ที่ชอบธรรม
ความเพียงพอ
กลไกการสอดแนมการสื่อสารจะต้องบรรลุจุดประสงค์ที่ชอบธรรมได้อย่างมีประสิทธิผล
ความได้สัดส่วน
การสอดแนมการสื่อสารควรถือเป็นการล่วงละเมิดอย่างร้ายแรง ซึ่งเข้ามาก้าวก่ายรบกวนสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในความคิดเห็นและแสดงออก คุกคามพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย การสอดแนมการสื่อสารที่ได้สัดส่วนโดยทั่วไปจะต้องได้รับการอนุมัติก่อน จากหน่วยงานตุลาการที่มีความรู้ความสามารถ
หน่วยงานตุลาการที่มีความรู้ความสามารถ
การตัดสินใจเกี่ยวกับการสอดแนมการสื่อสารจะต้องทำโดยหน่วยงานตุลาการที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งไม่ลำเอียง และเป็นอิสระ
กระบวนการอันควรตามกฎหมาย
กระบวนการอันควรตามกฎหมายกำหนดว่า การแทรกแซงใดๆ ต่อสิทธิมนุษยชน จะต้องถูกกำกับดูแลโดยกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งสาธารณะทราบทั่วกัน และถูกบังคับใช้อย่างสม่ำเสมอ ในกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผยต่อสาธารณะ
การแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
บุคคลควรได้รับการแจ้งให้ทราบถึงการตัดสินใจอนุมัติให้มีการสอดแนมการสื่อสารของพวกเขา และควรได้รับโอกาสในการคัดค้านการสอดแนมดังกล่าวก่อนที่มันจะเกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณียกเว้นเป็นการเฉพาะบางกรณี
ความโปร่งใส
รัฐบาลมีข้อผูกมัดในการเผยแพร่ข้อมูลที่เพียงพอต่อสาธารณะ เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจถึงขอบเขตและลักษณะของกิจกรรมการสอดแนมของรัฐ รัฐบาลไม่ควรห้ามผู้ให้บริการในการตีพิมพ์รายละเอียดของขอบเขตและลักษณะของข้อตกลงเกี่ยวกับการสอดแนมที่ผู้ให้บริการทำกับรัฐ
การตรวจสอบโดยสาธารณะ
รัฐจะต้องจัดตั้งกลไกตรวจสอบที่เป็นอิสระ เพื่อประกันความโปร่งใสและความพร้อมรับผิดของการสอดแนมการสื่อสาร กลไกการตรวจสอบนี้ควรมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลที่อาจเกี่ยวข้องทุกอย่างเกี่ยวกับการกระทำของรัฐ
ความคงสภาพของการสื่อสารและระบบ
ผู้ให้บริการหรือผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ควรถูกบังคับให้ใส่ความสามารถในการสอดแนมหรือใส่ประตูลับลงในระบบของพวกเขา หรือถูกบังคับให้จัดเก็บหรือรักษาข้อมูลบางอย่างที่ทำไปเพื่อเป้าประสงค์ของรัฐเท่านั้น
หลักประกันสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ
ในบางโอกาส รัฐต่างๆ อาจขอความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการในต่างประเทศเพื่อทำการสอดแนม การกระทำนี้จะต้องถูกกำกับดูแลโดยข้อตกลงที่ชัดเจนและเปิดเผยต่อสาธารณะ ที่ประกันว่ามาตรฐานการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่สูงที่สุดที่เป็นไปได้จะถูกใช้ในการสอดแนมแต่ละครั้ง
หลักประกันเพื่อป้องกันจากการเข้าถึงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ควรมีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อหน่วยงานใดๆ ที่กระทำการสอดแนมอิเล็กทรอนิกส์อย่างผิดกฎหมาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสอดแนมต้องสามารถเข้าถึงกลไกกฎหมายที่จำเป็นในการชดเชยเยียวยาอย่างได้ผล ผู้เปิดโปงการสอดแนมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนจะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างดีเช่นกัน
The Day The World Fought Back
In the last year, the world has learned that mass surveillance by governments knows no bounds.
Today, February 11th, internet users around the world are standing together. Today, individuals, civil society organizations, and thousands of websites will let the world’s governments know that we reject global mass surveillance at home and overseas. Today, we fight back.
People like you will take the streets in protest in the Philippines, Copenhagen, Stockholm and San Francisco. They will call or write their elected representatives in United Kingdom, Canada, Colombia and Poland. They will hold news conferences or join the online protest in Uganda, Mexico, Brazil and Australia. And they will endorse the Necessary and Proportionate Principles demanding the protection of human rights and an end to mass surveillance.
Mass surveillance violates our fundamental rights
In 2013, documents released by former NSA contractor Edward Snowden exposed dozens of wide-ranging intelligence collection programs underway in countries around the globe. His documents showed that intelligence bodies capture personal information about nearly everyone on the planet.
These mass surveillance programs are in violation of our fundamental human rights. They violate our right to privacy and infringe on our rights to freedom of expression and association. They harm the freedom and openness of the global internet, and erode our democratic values.
Today, we ask you to join us: Go to TheDayWeFightBack and sign the Principles. Tell your friends. Share your action on social media. Call your MP or Congressperson. Go to a protest. Start a movement.
What can you do right now?
There are events and actions happening all over the world today, and we need you to help us stand up and fight back. Every voice counts in letting governments know: we won’t stand for mass surveillance.
- Take action: Go to TheDayWeFightBack.org. Find out what is happening in your country, and sign the Necessary and Proportionate Principles at https://en.neccessaryandproportionate.org/take-action
- Host TheDayWeFightBack widget: Add the code to your website, so that everyone who visits your site is encouraged to fight back by taking action. Go to TheDayWeFightBack.org website to learn more.
- Spread the word: Use social media to let your friends and family know they should take action. Share the link to TheDayWeFightBack website, and change your avatar (more details on the site!)
Sample tweets:
- Today, I took a stand against mass surveillance by the NSA and GCHQ. Will you join me? https://thedaywefightback.org/ #daywefightback
- Millions of global activists speak out: the world works better when the internet works better https://thedaywefightback.org/ #daywefightback
- Get creative! This moment is whatever we, the broad community of people who care about the Internet, make of it. Post a comment with a link to every NSA-related story. Make and share a meme. Build a website. Organize an event. Then tell us about it so we can spread the word.
This is truly a global movement. From Colombia to South Korea, United Kingdom to Uganda, people are standing up for their fundamental rights. Some examples of global actions include:
- Argentina: Asociación por los Derechos Civiles and Vía Libre Foundation will announce that they are taking the oversight intelligence commission at the Argentinean Congress to the courts. ADC, FVL, and Instituto Latinoamericano de Seguridad y Democracia—a local NGO founder of the Citizens’ Initiative for Control of Intelligence Agencies—has asked for basic information on local intelligence oversight mechanisms at Congress.
- Australia: A coalition of major organizations will call on the Australian government to undertake a comprehensive review of the mass surveillance activities carried out by the Australian security agencies and their Five Eyes partners, and to implement a number of meaningful privacy protections. A joint press conference will be held at the Parliament House in Canberra on the morning of Feb. 11, which is the first sitting day of the Australian parliament for 2014. They will also launch the Citizens, Not Suspects campaign to fight back against unchecked surveillance.
- Brazil: Brazilian legislators are gathering to vote on the Marco Civil, Brazil’s groundbreaking framework on digital rights. Brazilians are organizing a meeting in the country’s capital, Brasilia, to demand that the final version protects the privacy rights of Brazilian citizens.
- Canada: More than 45 major organizations, over a dozen academic experts, and tens of thousands of Canadians are calling on their elected representatives to stop illegal spying by Communications Security Establishment Canada, Canada’s spying agency.
- Colombia: Colombians will launch the campaign “Internet sin Chuzadas,” calling for the end of unchecked surveillance at home and abroad. They will also launch a video on how online spying works and what they can do to protect themselves against it.
- France: La Quadrature du Net will launch the website NSA Observer, an aggregation of public information about the NSA global surveillance programs, as well a short animation “Reclaim your Privacy” about privacy, mass surveillance, and the urgency to rethink our relationship with technology.
- Philippines: The Philippine Internet Freedom Alliance (PIFA) is organizing a day of mass action against the country’s draconian Cybercrime Prevention Act, including a protest at the Supreme Court, a viral selfie campaign, and a “sticker bombing.”
- Poland: Panoptykon Foundation will send a letter to President Barack Obama demanding answers about the NSA’s massive collection of data and international cooperation between intelligence agencies, which affects Polish citizens as well as all Europeans. Panoptykon Foundation will increase pressure on the Polish government to finish answering 100 questions on surveillance that the coalition of Polish NGOs posed four months ago.
- Netherlands: Bits of Freedom will call on Dutch citizens to join The Day We Fight Back and share the campaign to stop mass surveillance: bespiedonsniet.nl (“Don’t Spy On Us”).
- Serbia: SHARE Foundation will once again call upon Internet citizens to take a stand against mass surveillance by signing and supporting the 13 Principles against mass surveillance.
- Uganda: Unwanted Witness is petitioning telecommunications companies to stop sharing citizen data with government agencies and other entities involved in mass surveillance.
- United Kingdom: The UK’s leading privacy and free expression groups aisre launching the DontSpyOnUs.org.uk campaign, calling for organizations to help stop GCHQ’s mass surveillance programs.
- United States: More than 4,000 websites and companies have committed to hosting TheDayWeFightBack widget on their website. Thousands of people will call and email their congressional representatives, demanding the passage of the USA Freedom Act and the end to mass surveillance.
- Thailand: Thai Netizen Network and Protection International organize a CryptoParty to have people learn about how to protect themselves from surveillance. They will also run a “CCTV Thailand” campaign mapping CCTV in public space, asking people to take a photo of CCTV and tag it with #cctvthailand.
- International: The Web We Want invites cartoonists, creatives, and artists to join The Day We Fight Back on February 11, 2014 by creating an original cartoon about online surveillance and the right to privacy.
- Much more here: https://en.necessaryandproportionate.org/take-action
The Necessary and Proportionate Principles
Over the past year, more than 360 organizations in over 70 countries have come together to support the International Principles on the Application of Human Rights to Communications Surveillance. These thirteen Principles are the backbone of our efforts to end mass surveillance: a clear set of guidelines that establish the human rights obligations of governments that would seek to surveil us.
These Principles were developed through months of consultation with technology, privacy, and human rights experts from around the world. But today, these Principles are about to receive their most important endorsement: the people’s.
The Principles make clear:
- States must recognize that mass surveillance threatens the human right to privacy, freedom of expression, and association, and they must place these Principles at the heart of their communications surveillance legal frameworks.
- States must commit to ensuring that advances in technology do not lead to disproportionate increases in the State’s capacity to interfere with the private lives of individuals.
- Transparency and rigorous adversarial oversight is needed to ensure changes in surveillance activities benefit from public debate and judicial scrutiny, this includes effective protections for whistleblowers.
- Just as modern surveillance transcends borders, so must privacy protections.
SUMMARY OF THE PRINCIPLES
LEGALITY
Limits on the right to privacy must be set out clearly and precisely in laws, and should be regularly reviewed to make sure privacy protections keep up with rapid technological changes.
LEGITIMATE AIM
Communications surveillance should only be permitted in pursuit of the most important state objectives.
NECESSITY
The State has the obligation to prove that its communications surveillance activities are necessary to achieving a legitimate objective.
ADEQUACY
A communications surveillance mechanism must be effective in achieving its legitimate objective.
PROPORTIONALITY
Communications surveillance should be regarded as a highly intrusive act that interferes with the rights to privacy and freedom of opinion and expression, threatening the foundations of a democratic society. Proportionate communications surveillance will typically require prior authorization from a competent judicial authority.
COMPETENT JUDICIAL AUTHORITY
Determinations related to communications surveillance must be made by a competent judicial authority that is impartial and independent.
DUE PROCESS
Due process requires that any interference with human rights is governed by lawful procedures which are publicly available and applied consistently in a fair and public hearing.
USER NOTIFICATION
Individuals should be notified of a decision authorising surveillance of their communications and be
provided an opportunity to challenge such surveillance before it occurs, except in certain exceptional circumstances.
TRANSPARENCY
The government has an obligation to make enough information publicly available so that the general public can understand the scope and nature of its surveillance activities. The government should not generally prevent service providers from publishing details on the scope and nature of their own surveillance-related dealings with State.
PUBLIC OVERSIGHT
States should establish independent oversight mechanisms to ensure transparency and accountability of communications surveillance. Oversight mechanisms should have the authority to access all potentially relevant information about State actions.
INTEGRITY OF COMMUNICATIONS AND SYSTEMS
Service providers or hardware or software vendors should not be compelled to build surveillance capabilities or backdoors into their systems or to collect or retain particular information purely for State surveillance purposes.
SAFEGUARDS FOR INTERNATIONAL COOPERATION
On occasion, States may seek assistance from foreign service providers to conduct surveillance. This must be governed by clear and public agreements that ensure the most privacy-protective standard applicable is relied upon in each instance.
SAFEGUARDS AGAINST ILLEGITIMATE ACCESS
There should be civil and criminal penalties imposed on any party responsible for illegal electronic surveillance and those affected by surveillance must have access to legal mechanisms necessary for effective redress. Strong protection should also be afforded to whistleblowers who expose surveillance activities that threaten human rights.