2014.01.29 13:00
ในขณะที่เทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้รัฐทำการสอดแนมการสื่อสารมีความก้าวหน้ามากขึ้น รัฐต่าง ๆ กลับล้มเหลวในการทำให้แน่ใจว่ากฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการสอดแนมการสื่อสารนั้นสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลและให้การคุ้มครองอย่างเพียงพอต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออก
เอกสารฉบับนี้พยายามอธิบายว่าจะนำกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลมาใช้กับสภาพแวดล้อมดิจิทัลในปัจจุบันได้อย่างไร โดยเฉพาะในขณะที่เทคโนโลยีและเทคนิคการสอดแนมการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงและมีเพิ่มมากขึ้น กลุ่มภาคประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และกลุ่มอื่น ๆ สามารถยึดหลักการเหล่านี้เป็นกรอบในการประเมินว่า กฎหมายและการปฏิบัติเกี่ยวกับการสอดแนมการสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่กำลังจะมีขึ้น สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่
หลักการเหล่านี้เป็นผลมาจากการปรึกษาหารือระดับสากลกับบรรดากลุ่มภาคประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม และผู้ชำนาญการระหว่างประเทศด้านกฎหมาย นโยบาย และเทคโนโลยีการสอดแนมการสื่อสาร
รวมลงชื่อได้ที่เว็บไซต์ Necessary & Proportionate
ผู้ลงนาม
Access, Article 19, Arab Digital Expression Foundation, Australia Privacy Foundation, Association for Progressive Communications, Bolo Bhi. Chaos Computer Club, Center for Internet & Society-India, Center for Technology and Society at Fundação Getulio Vargas, ContingenteMX, Digitale Gesellschaft, Digital Courage, Electronic Frontier Foundation, Human Rights Watch, International Federation of Library Associations and Institutions, La Quadrature du Net, European Digital Rights, Fundación Vía Libre, OpenMedia.ca, Open Rights Group, Pen International, Reporters Without Borders, Samuelson-Glushko Canadian Internet Policy & Public Interest Clinic, SHARE Foundation and Privacy International. ดูรายชื่อผู้ลงนามในหลักการนี้ทั้งหมด
Tags: 13 principles, data protection, human rights, metadata, privacy, surveillance