เพื่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยสาธารณะ จะต้องสังเวยด้วยสิทธิส่วนบุคคล?

2013.09.13 23:33

กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จัดงาน NBTC Public Forum ครั้งที่ 5 เรื่อง “เพื่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยสาธารณะ จะต้องสังเวยด้วยสิทธิส่วนบุคคลจริงหรือ?” เมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา โดยเริ่มจากการนำเสนอสรุปสถานการณ์ “การละเมิดสิทธิเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์” จากเครือข่ายพลเมืองเน็ต จากนั้นเปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย

อาทิตย์ เครือข่ายพลเมืองเน็ตนำเสนอสถานการณ์

อาทิตย์ เครือข่ายพลเมืองเน็ตนำเสนอสถานการณ์

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ตเสนอให้เลิกมองว่าความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน ทั้งที่มันไปด้วยกันได้ ทุกวันนี้ตัวเรากลายเป็นสินค้า เพราะระหว่างที่เรากำลังใช้บริการต่างๆ ตัวเรากลายเป็นสินค้าเพราะเรากำลังสร้างข้อมูลบางอย่างอยู่  “ข้อมูลที่เป็นชิ้นๆก้อนๆ เหมือนไม่่เป็นอะไร แต่พอมารวมกันมันเอามาทำนายพฤติกรรมได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลของรัฐ ถ้าเอามาเชื่อมโยงเหมือนกับการตลาดแล้วมันจะเป็นอย่างไร”  การสื่อสารในระบบเดิม. หากเรามั่นใจว่าต้นทางกับปลายทางมีการควบคุม เราสามารถมั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้ ขณะที่ในระบบดิจิทัล ข้อมูลแบ่งเป็นท่อนเล็กๆ ค่อยๆ ส่งออกไป การที่ข้อมูลเป็นท่อนๆกระจัดกระจายไปอยู่ทุกทีิ ทำให้ต้องใช้หลายฝ่ายร่วมมือกันทำงาน เช่น กรณีที่บริษัทไลน์ บอกว่า ถ้าใช้ไลน์ในระบบ 3G จะไม่มีการเข้ารหัส ด้วยเหตุผลที่ว่าโครงข่ายมือถือน่าจะปลอดภัยอยู่แล้ว ตัวไลน์เองจึงไม่น่าจะมึการเข้ารหัส.

นอกจากประเด็นเรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาเตรียมเข้าสู่สภา ซึ่งอาทิตย์ตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะทำให้ประชาชนกลายเป็นเครื่องมือของภาครัฐในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่. อาทิตย์ยังเสนอให้พิจารณาพระราชบัญญัติคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งเปิดโอกาสให้เจ้าของลิขสิทธิ์เก็บข้อมูลการใช้ของผู้ใช้ได้

ด้านพ.ต.ท.โอฬาร  สุขเกษม. กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเปรียบเทียบว่า หากผู้ใช้ต้องการให้ข้อมูลของตัวเองปลอดภัยก็ต้องลงทุนด้านความปลอดภัย เหมือนกับการดูแลบ้าน ที่หากเป็นของสำคัญมากก็ต้องใส่กุญแจให้แน่นหนา

สมชาย หอมลออ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยมีรากฐานมาจากสิทธิมนุษยชน เราจึงควรเข้าใจหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิของความเป็นส่วนตัวเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน กฏหมายรับรองการทำงานของเจ้าหน้าที่ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐก็ต้องฟังเสียงประชาชนที่ได้ผลกระทบจากการบังคับใช้กฏหมายด้วย ความมั่นคงของรัฐในความหมายที่แท้จริงคือความมั่นคงของประชาชน  ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีการกำหนดโทษซ้ำซ้อน เช่นหมินประมาท การคิดแค่ว่าผิดกฎหมายหรือไม่.โดยดูว่าครบองค์ประกอบความผิด ไม่เพียงพอ. ต้องใช้ดุลพินิจด้วยความเป็นธรรมพิจารณา

ปรเมศวร์ มินศิริ ผู้บริหารเว็บไซต์ Kapook.comในฐานะผู้ให้บริการต้องปกป้องลูกค้าอย่างเต็มที่ ปัญหาที่พบในปัจจุบันก็คือ เมื่อมีกรณีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้ใช้บริการไม่รู้ว่าต้องไปแจ้งที่ไหน เพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเต็มไปหมด ไม่สะดวก นอกจากนี้ สำหรับผู้ประกอบการแล้ว ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ผลัดกันดูแล แต่มีปัญหาจากการที่มีการตีความเรื่องความมั่นคงอย่างกว้างขวาง ขณะที่ผู้ประกอบการเองไม่สามารถจ้างเจ้าหน้าที่ซึ่งมีวิจารณญาณสูงมาพิจารณาเรื่องนี้ได้มากพอ เขาเห็นว่าการใช้หลัก Notice and Take down สะดวกกับผู้ประกอบการมากกว่า

สุณัย ผาสุข. ที่ปรึกษา ฮิวเเมนไรท์ วอทช์ ประจำประเทศไทย   กล่าวว่าในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารเกี่ยวพันกับกติการะหว่างประเทศหลายอย่าง  สิทธิเสรีภาพการสื่อสารและการแสดงออกเป็นสิทธิได้รับความคุ้มครอง การลิดรอนสิทธิต้องมีการชี้แจงอย่างชัดเจน. ต้องแจ้งให้องค์การสหประชาชาติทราบด้วย ต้องไม่เหวี่ยงแห ทำให้เฉพาะที่สุด ต้องมีเงื่อนเวลาที่ชัดเจน และเมื่อทำไปแล้วต้องสมแก่เหตุ. โปร่งใสในกระบวนการ ในประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนในกระบวนการเข้าดูข้อมูลการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่รัฐ เขาเห็นว่าควรมีการพูดคุยกันเกี่ยวกับกรอบในการดูแลเรื่องการสื่อสารส่วนตัว เช่น มีกฏหมายไทยและต่างประเทศใดที่เกี่ยวข้องและวางมาตรฐานร่วมกัน

 

 

%d bloggers like this: