2013.08.07 10:46
บรรยายสาธารณะ “ทรัพย์สินทางปัญญาในยุคอินเทอร์เน็ตและข้อตกลงการค้าเสรี: คำถามในการกำกับดูแล”
โดย วรรณวิทย์ อาขุบุตร และ ไมเคิล ไกสท์
14 สิงหาคม 2556 13:00-16:00
ห้อง 401/5 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[Facebook Event] [แผนที่ ]
จัดโดย ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เครือข่ายพลเมืองเน็ต
Public Lectures “Intellectual Property in the Age of Internet and Free Trade Agreement: Questions for Regulations”
By Wanawit Ahkuputra and Michael Geist
14 August 2013 13:00-16:00
Room 401/5 Maha Chakri Sirindhorn Building, Faculty of Arts, Chulalongkorn University
[Facebook Event] [Map]
Hosted by Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University และ Thai Netizen Network
กำหนดการ
- 12:30 ลงทะเบียน
- 13:00 บรรยาย “บทบาทของคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายรัฐบาล (GAC) ในเวทีนโยบายอินเทอร์เน็ตสากล”
โดย วรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายรัฐบาลของไทยใน ICANN - 14:00 บรรยาย “การปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญากับการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้าและข้อมูลข่าวสาร”
โดย @mgeist ไมเคิล ไกสท์ ศาสตราจารย์วิจัยแห่งแคนาดาด้านกฎหมายอินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยออตตาวา - 15:30 แลกเปลี่ยนซักถาม
- 16:00 จบการประชุม
Agenda
- 12:30 Registration
- 13:00 Lecture: “Roles of Governmental Advisory Committee (GAC) in Global Internet Policy”
by Wanawit Ahkuputra, Deputy Executive Director of Electronic Transactions Development Agency (ETDA) and Thailand Governmental Advisory Committee in ICANN - 14:00 Lecture: “Intellectual Property Reform and Free Flow of Trade and Information”
by @mgeist Michael Geist, Canada Research Chair in Internet and E-Commerce Law at the University of Ottawa - 15:30 Discussions
- 16:00 Closing
การบรรยายในหัวข้อแรก โดย วรรณวิทย์ อาขุบุตร รองผอ.สพธอ.และกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายรัฐบาลของไทยใน ICANN จะครอบคลุมเรื่องชื่อโดเมน การจดทะเบียนชื่อโดเมน Generic TLD แบบใหม่ (อาจจะมีกรณีศึกษา .thai) และการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าหรือสิทธิอื่นๆ ที่เกี่ยวกับชื่อในระบบอินเทอร์เน็ต
สำหรับหัวข้อที่สอง โดย ไมเคิล ไกสท์ จะเน้นในเรื่องการปฏิรูปกฎหมายลิขสิทธิ์ รวมไปถึงกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่นโมเดล “notice and notice” ของแคนาดา ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างจากโมเดล “notice and take down” ที่สหรัฐอเมริกาและประเทศที่รับโมเดลกำกับดูแลแบบสหรัฐใช้อยู่
ส่วนข้อตกลงการค้าเสรีที่จะถูกยกมาเป็นตัวอย่างหลักในการบรรยายของไมเคิล คือความตกลงหุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Trans-Pacific Partnership (TPP) ซึ่งมีทั้งแคนาดา สหรัฐ สิงคโปร์ เวียดนาม ออสเตรเลีย เปรู และประเทศอื่นรวม 11 ประเทศแล้วในการเจรจา และไทยกับญี่ปุ่นสนใจจะเข้าร่วม และอาจมีตัวอย่างจาก Stop Online Piracy Act (SOPA), PROTECT IP Act (PIPA) และ Anti-Counterfeiting Trade Agreement (ACTA) ประกอบด้วย
Tags: Chulalongkorn University, intellectual property, Michael Geist, public lecture, Wanawit Ahkuputra