2011.11.21 11:56
โครงการสื่อเพื่อประชาธิปไตย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จัดทำรายงาน “สื่อใหม่กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง” โดยรวบรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสื่อใหม่จากเวทีอภิปรายสาธารณะร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอ 3 ประเด็นหลักคือ
- พรมแดนของ Free Speech และ Hate Speech ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย); ร่วมอภิปรายโดย พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ), พิรงรอง รามสูต รณนันท์ (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ), โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ); สรุปสถานการณ์สื่อออนไลน์ในประเทศเยอรมนี โดย โยสต์ พาชาลี (มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) และคลิปสัมภาษณ์ มาร์ลเธอ สปิต์ช (พรรคกรีนเยอรมนี) - สื่อออนไลน์ กับขอบเขตการแสดงความคิดเห็นและการหาเสียงทางการเมือง
ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์; ร่วมอภิปรายโดย ชลรัช จิตไนธรรม (คณะกรรมการการเลือกตั้ง), จีรนุช เปรมชัยพร (ประชาไท), ปราปต์ บุนปาน (มติชนออนไลน์), บุญยอด สุขถิ่นไทย (พรรคประชาธิปัตย์), จิรายุ ห่วงทรัพย์ (พรรคเพื่อไทย), สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด), อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล (เครือข่ายพลเมืองเน็ต) - ความท้าทายของสื่อทีวีดาวเทียม เคเบิล วิทยุชุมชนและวิทยุท้องถิ่นกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง
ดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล; ร่วมอภิปรายโดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล (ผู้จัดการ), ฉัตรชัย ตะวันธรงค์ (สปริงนิวส์), สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ทีนิวส์), กฤษณพงษ์ พรมบึงรำ (สถานีวิทยุชุมชนคลื่นคนรักเชียงใหม่), สุเทพ วิไลเลิศ (คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ), ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), สมชาย ปรีชาศิลปกุล (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่); คลิปสัมภาษณ์ สมชัย สุวรรณบรรณ (ไทยพีบีเอส)
อ่านรายงานสรุปการอภิปรายและชมวิดีโอบันทึกทั้งหมด ได้ที่ http://boell-southeastasia.org/web/19-670.html
ภาพประกอบดัดแปลงจากหน้าแรก Twitter.com และภาพถ่ายโดย adaptorplug สัญญาอนุญาครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า
Tags: Chulalongkorn University, community radio, election, Election Commission, hate speech, Heinrich Boell Foundation, new media