Thai Netizen Network

(สรุปสั้นๆ) การมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายอินเทอร์เน็ต : กระบวนการระดับภูมิภาคและระดับสากล #tcr2012

การประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลปี 2007

(รายงานนี้เป็นสรุปเนื้อหา – บันทึกฉบับเต็มจะเผยแพร่ต่อจากนี้ในเว็บไซต์ thainetizen.org)

สรุปเนื้อหาจากเสวนา “การมีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบายอินเทอร์เน็ต : กระบวนการระดับภูมิภาคและระดับสากล” ในการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2555: “อินเทอร์เน็ตกับการจัดทำนโยบายสาธารณะ” วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555 อาคารศูนย์การเรียนรู้ สำนักงานไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต

ผู้ร่วมเสวนา พิรงรอง รามสูตร รณะนันท์ (ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), ประวิทย์ สี่สถาพรวงศา (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ – กสทช.), กาญจนา กาญจนสุต (มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย – THNIC) ดำเนินเสวนาโดย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล (เครือข่ายพลเมืองเน็ต)

เสวนาเริ่มด้วยการฉายวีดิโอสัมภาษณ์ กายาทรี เวนกิทสวารัน ผู้อำนวยการบริหารสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Alliance – SEAPA) ซึ่งมีประเด็นใหญ่ดังนี้

จากนั้นเป็นการนำเสนอและอภิปรายร่วมกันในเรื่องการดูแลจัดการอินเทอร์เน็ต ทั้งระดับเทคนิคของโครงสร้างพื้นฐาน ไปจนถึงการจัดสรรทรัพยากร และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

การอภิบาลอินเทอร์เน็ตกับการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียทางนโยบาย

พิรงรอง รามสูตร รณะนันท์ เริ่มต้นการนำเสนอด้วยการอธิบายว่า การกำกับดูแลนั้นไม่ได้มีเพียงเฉพาะการออกกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ โดยมองว่า “นโยบาย” คือ

จากนั้นจึงพูดถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงกระบวนทัศน์ของการจัดทำนโยบายสาธารณะ และความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับพลเมือง จาก “การปกครอง” ไปสู่ “การอภิบาล”

การอภิบาลในฐานะกระบวนการทางนโยบาย

ข้อแตกต่างระหว่างการปกครองและการอภิบาล

“อุปสรรค” สำคัญในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต

องค์กรด้านการอภิบาลระบบอินเทอร์เน็ตต่างๆ ในโลก

กาญจนา กาญจนสุต จากมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทยหรือมูลนิธิทีเอชนิค ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลระบบชื่อโดเมนของประเทศไทย ได้อธิบายคร่าวๆ ถึงหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับการดูแลจัดการอินเทอร์เน็ต ทั้งในแง่เทคนิคโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการทรัพยากร การกำหนดมาตรฐานการสื่อสาร และการพัฒนาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งหน่วยงานจำนวนมากในยุคเริ่มแรกเป็นการรวมตัวกันของชุมชนนักเทคนิคและนักวิชาการ เป็นการทำงานร่วมกันโดยไม่ต้องมีกฎหมาย

ความคิดเห็นโดยสรุปจากผู้ร่วมอภิปราย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: บันทึกเสวนา “นวัตกรรมนโยบายสาธารณะ : พลเมืองดิจิทัล พลวัตทางเทคโนโลยี”

Exit mobile version