งานวิจัย “ราคา” ของการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต : ประเภทต้นทุน และผลการประเมินต้นทุนทางตรง (เบื้องต้น) โดย สฤณี อาชวานันทกุล
เผยแพร่ครั้งแรก ในการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยีและสิทธิพลเมืองประจำปี 2555 “อินเทอร์เน็ตกับการจัดทำนโยายสาธารณะ” วันที่ 31 กรกฎาคม 2555
ข้อมูลเบื้องต้นพบ ต้นทุนเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต เฉพาะกระทรวงไอซีที ใช้จ่ายกว่า 139 ล้านบาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขณะภาคเอกชนใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อราย ยังไม่รวมต้นทุนในการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ-ปฏิบัติตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ อาทิ ค่าดำเนินการด้านคดีความ การใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลจราจร
ในส่วนของภาคเอกชน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 38 ราย เป็นเจ้าของเว็บไซต์ 36 ราย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 1 ราย และผู้ดูแลเพจเฟซบุ๊ก 1 ราย โดยผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50 ใช้วิธีให้บุคลากรคอยตรวจสอบเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างเอง (user-generated content), ร้อยละ 25 เขียนสคริปท์หรือโปรแกรมกรองข้อความที่อาจเป็นปัญหา, ร้อยละ 11 ให้ผู้ใช้แจ้งเนื้อหาที่มีปัญหา, ร้อยละ 7 ซื้อซอฟต์แวร์คัดกรอง, และร้อยละ 5 ซื้อฮาร์ดแวร์สำหรับคัดกรอง โดยเนื้อหาหลักที่ปิดกั้นแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 22% ลามกอนาจาร 21% หมิ่นประมาทผู้อื่น 20% การพนัน 18% และเนื้อหาโฆษณา 16%
ดาวน์โหลด: สไลด์ | ผลการวิจัยเบื้องต้น
Cost of Internet Censorship: Categorization and Initial Evaluation of Direct Cost