Thai Netizen Network

[6 พ.ย.] สัมมนา “ความตกลงการค้า TPP และอนาคตของเศรษฐกิจฐานความรู้: ความหวังของประเทศไทย”

ขอเชิญผู้ประกอบการธุรกิจอินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ การออกแบบ สำนักพิมพ์ สถานศึกษา ห้องสมุด อุตสาหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา กิจการกระจายเสียงและโทรคมนาคม องค์กรกำกับดูแล สื่อมวลชน และผู้สนใจ ร่วมการสัมมนาอินเทอร์เน็ตเอเชีย เรื่อง “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกและอนาคตของเศรษฐกิจฐานความรู้: ความหวังของประเทศไทย” (Trans-Pacific Partnership Agreement and the future of the Knowledge Economy: Prospects for Thailand) เพื่อรับฟังประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญจากรัฐสมาชิกความตกลงการค้าดังกล่าว และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นถึงประโยชน์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมไทย

วันที่: พุธ 6 พฤศจิกายน 2556
เวลา: 09:00-13:00
สถานที่: โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ ถนนราชประสงค์ [แผนที่] [Facebook event]

การสัมมนานี้เป็นการสัมมนาอินเทอร์เน็ตเอเชีย (Asia Internet Symposium)  ที่จัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยอินเทอร์เน็ตโซไซตี้เอเชียแปซิฟิก เพื่อสำรวจประเด็นกังวลสำหรับประเทศที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่การเจรจาเพื่อเป็นสมาชิกในความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคฟื้นแปซิฟิก หรือ “TPP” (ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังจะเจรจาเข้าเป็นสมาชิก โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา)

เนื้อหาสัมมนาจะครอบคลุม ความเข้าใจถึงกลไกของ TPP และบทบาทของข้อตกลงการค้าเสรีในการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล ผ่านการศึกษาผลที่จะเกิดขึ้นในภาคต่างๆ เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต การศึกษา การพัฒนาซอฟต์แวร์ กฎหมาย ธุรกิจ และโทรคมนาคม ทั้งนี้จะมีการนำเสนอกรณีศึกษาจากประเทศนิวซีแลนด์ เปรียบเทียบก่อนและหลังการเป็นสมาชิก และสำรวจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในการค้าระหว่างประเทศ ทั้งเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปิดท้ายด้วยข้อเสนอแนะสำหรับอุตสาหกรรมฐานความรู้ในประเทศไทยจากผู้เชี่ยวชาญของอินเทอร์เน็ตโซไซตี้

กำหนดการโดยละเอียดและรายชื่อวิทยากร ดูได้ในส่วนถัดไป

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการร่วมสัมมนา – สามารถลงทะเบียนหน้างานได้

ติดต่อ: คุณดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้จัดการฝ่ายกิจการเอเชีย อินเทอร์เน็ตโซไซตี้ chomprang@isoc.org

Internet Society‘s Asia Internet Symposium

Trans-Pacific Partnership Agreement (TPP) and the future of the Knowledge Economy: Prospects for Thailand

Date: Wednesday, 6 November 2013
Time: 09:00-13:00
Venue: InterContinental Bangkok, Ratchaprasong Road [Map] [Facebook event]

Synopsis

As the first Thailand AIS, Internet Society has chosen a topic on Knowledge Economy and free trade agreement i.e. specifically exploring the implications of emerging issues surrounding the Trans-Pacific Partnership Agreement. This is also a timely discussion for the country in its lead up to its negotiation and possible entry into TPP Agreement in the near future.

The half day event will focus on understanding the instruments and mechanics of TPP and the role of free trade agreements in enhancing innovation and creativity in the Digital Age i.e. creating a Knowledge Economy. In addition, there will also be a study on the cross cutting implications of TPP across various sectors (ISP, education, programmers, legal, business, telecom industry, etc.)

Areas covered includes:

Outcome: Public discussion and collective formation of viewpoints from various interest groups to develop a position paper to be submitted to policy makers.

The event targets various groups: policy makers, IP professionals, ICT, ISPs, law enforcement, regulator, business and legal communities, healthcare and education sectors.

The symposium is open to Internet Society members and the general public. Entry is free and lunch is also provided for all attendees.

List of speakers:

Programme

Asia Internet Symposium

The Internet Society’s Asia Internet Symposium (AIS) are a series of regional events that focus on debate, dialogue and deliberation on topical issues concerning the Internet. Typically a half-day or evening event, AIS is structured to provide an in-depth look at one particular topic with invited keynotes and presentations followed by a panel discussion.

*** This symposium is organized by Internet Society. Thai Netizen Network only helps spread the news. ***

Exit mobile version