คลังเอกสาร

สถานการณ์ด้านสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว – ที่ประชุมหารือ UPR ประเทศไทยรอบที่ 2

สถานการณ์ด้านสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ซึ่งครอบคลุมประเด็นกฎหมาย โครงสร้างองค์กรอิสระ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย ข้อมูลในคำแถลงนี้นำมาจากรายงานที่จัดทำโดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต ไพรเวซีอินเทอร์เนชันแนล และมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
หลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้หลักสิทธิมนุษยชนกับการสอดแนมการสื่อสาร (หลัก 13 ประการ)

หลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้หลักสิทธิมนุษยชนกับการสอดแนมการสื่อสาร (หลัก 13 ประการ)

International Principles on the Application of Human Rights to Communications Surveillance เอกสารฉบับนี้พยายามอธิบายว่าจะนำกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลมาใช้กับสภาพแวดล้อมดิจิทัลในปัจจุบันได้อย่างไร โดยเฉพาะในขณะที่เทคโนโลยีและเทคนิคการสอดแนมการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงและมีเพิ่มมากขึ้น กลุ่มภาคประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และกลุ่มอื่น ๆ สามารถยึดหลักการเหล่านี้เป็นกรอบในการประเมินว่า กฎหมายและการปฏิบัติเกี่ยวกับการสอดแนมการสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่กำลังจะมีขึ้น สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่ หลักการเหล่านี้เป็นผลมาจากการปรึกษาหารือระดับสากลกับบรรดากลุ่มภาคประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม และผู้ชำนาญการระหว่างประเทศด้านกฎหมาย นโยบาย และเทคโนโลยีการสอดแนมการสื่อสาร

Statement of Thai Netizen Network Requesting Representatives to Consider Urgent Amendment to Article 15 of the Computer-Related Crime Act 2007

Thai Netizen Network deem Article 15 of this law a threat to freedom of the people and propose for an amendment of the Compute Crime Act 2007.

แถลงการณ์ขอเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 อย่างเร่งด่วน

เครือข่ายพลเมืองเน็ตเห็นว่า มาตรา 15 ของกฎหมายฉบับนี้ เป็นบทบัญญัติที่คุกคามสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนอย่างยิ่ง จึงเสนอให้พิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

แถลงการณ์ประชาสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2010 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตภิบาล (2010 Southeast Asia Civil Society Statement on Internet Governance)

ระหว่างวันที่ 15-16 มิ.ย. 2553 ภาคประชาสังคมจากอาเซียนจำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมการประชุมการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต เวทีภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก หรือ Asia-Pacific Regional Internet Governance Forum (APrIGF) ที่ฮ่องกง หลังการประชุม ภาคประชาสังคมจากองค์กรต่างๆ ในอาเซียน แปดประเทศ จากมากกว่าสิบองค์กร ได้หารือร่วมกัน และออกแถลงการณ์ฉบับนี้ เพื่อนำเสนอต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศของตน และระดับนานาชาติ โดยเฉพาะที่ประชุมพหุภาคีของ IGF ที่กรุงเจนีวา วันที่ 28-29 มิ.ย. 2553 และเวทีระดับโลกของการประชุมการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Governance Forum (IGF) ระหว่างวันที่ 14-17 ก.ย. 2553 ที่กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย

ข้อเสนอต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 9.00 น.เครือข่ายพลเมืองเน็ต คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย นำโดยนายกานต์ ยืนยง นายไกลก้อง ไวทยากร นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นายสุเทพ วิไลเลิศ นายสุนิตย์ เชรษฐา นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีซึ่งได้มารับหนังสือและเจรจาเป็นเวลา 5 นาทีโดยรับเรื่องและข้อเสนอคัดค้านการจัดตั้งวอร์รูม หรือการประกาศสงครามกับสื่ออินเทอร์เน็ตและวิทยุชุมชน หลังจากที่ได้เข้าพบ พบว่ารัฐบาลไม่ได้มีแนวทางการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งอาจจะต้องตั้งคณะทำงานร่วมต่อไป

แถลงการณ์เรื่องการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์

แถลงการณ์เครือข่ายพลเมืองเน็ต ร่วมกับคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) ลงวันที่ 8 มีนาคม 2552

แถลงการณ์เรียกร้องความรับผิดชอบจากนายเทพไท เสนพงศ์ และ พรรคประชาธิปัตย์

"เปิดเน็ต เปิดใจ" แถลงการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจและจุดกำเนิดของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ตอบโต้ที่นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหา 29 เว็บไซต์ ว่าเป็นเว็บไซต์อันตรายที่ส่อเค้าหมิ่นเบื้องสูง ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2551

แถลงการณ์กรณีผู้ถูกจับกุมภายใต้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

แถลงการณ์จากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) ลงวันที่ 11 กันยายน 2550 (ก่อนการก่อตั้งเครือข่ายพลเมืองเน็ต)