บทวิเคราะห์พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ [ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ และ โทบี้ เมนเดล, 2553]

2010.07.21 09:00

บทวิเคราะห์พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
โดย ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ และ โทบี้ เมนเดล
พฤษภาคม พ.ศ. 2553

  • ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ ผู้แต่งหลักของรายงานฉบับนี้ เป็นนักกฎหมายอิสระด้านสื่อที่ประจำาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย สามารถติดต่อได้ที่ sinfah AT hotmail.com
  • โทบี้ เมนเดล ผู้เพิ่มเติมเนื้อหาในระดับนานาชาติและร่วมปรับแก้รายงาน เป็นผู้อำานวยการบริหารที่ศูนย์กฎหมายและประชาธิปไตย (Centre for Law and Democracy) องค์การสาธารณประโยชน์นานาชาติด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศแคนาดาที่มุ่งเน้นในเรื่องสิทธิพื้นฐานสำาหรับประชาธิปไตย สามารถติดต่อได้ที่ toby@law-democracy.org

(แปลจากภาษาอังกฤษ)

1 อารัมภบท

1.1 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า พระราชบัญญัติอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ได้ถูกบังคับใช้ในประเทศไทยมาเป็นเวลาไม่ถึงสามปี ซึ่งกระนั้นแล้วก็ยังเป็นประเด็นขัดแย้งและสร้างความกังวลอย่างมาก รัฐบาลไทยได้ใช้กฎหมายนี้ในการปิดหรือปิดกั้นเว็บไซต์จำานวนเรือนพัน และการกล่าวหาบุคคลจำานวนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เองกฏหมายฉบับนี้จึงมีความสำคัญและมีผล กระทบในทางลบต่อเสรีภาพในการแสดงออกบนอินเทอร์เน็ตเสมอมาตั้งแต่มันมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550

1.2 พระราชบัญญัตินี้ถูกบังคับใช้ในช่วงเวลาที่อินเทอร์เน็ตถูกยอมรับว่าเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เป็นที่นิยม โดยเฉพาะในหมู่คนไทยในเขตเมืองที่ได้รับการศึกษาดี อินเทอร์เน็ตทำาให้เกิดกระแสของข้อมูลข่าวสารที่เป็นอิสระเนื่องจากมันถูกควบคุมจากรัฐบาลได้ยากกว่า มันเป็นแหล่งข้อมูลทางเลือกของข่าวนอกเหนือไปจากสื่อมวลชนแบบเดิมที่มีความอนุรักษ์นิยมมากกว่า อินเทอร์เน็ตยังเป็นพื้นที่สนทนาสำาหรับการแสดงมุมมองความคิดเห็นของพลเมืองทั่วไปที่ไม่สามารถเข้าถึงสื่ออื่นได้ง่ายนัก

1.3 ในปลายปี พ.ศ. 2551 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยทั้งหมดมีจำานวนอยู่ที่ 13.4 ล้านคน ซึ่งนับเป็นเกือบห้าเท่าของจำานวนเดียวกันในปี พ.ศ. 2543 จากรายงานประจำาปี พ.ศ. 2551 ของสำานักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งเป็นผู้กำากับดูแอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศและในปลายไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2552 กทช. ได้ออกใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ผู้ให้บริการในประเทศเป็นจำานวน 113 ราย

1.4 ในรายงานของไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2552 กทช. ได้ตั้งข้อสังเกตว่าตลาดอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยราคาตลาดในปี พ.ศ. 2551 ที่ 6.64 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเป็นจำนวนร้อยละ 44 ในช่วงเวลานั้น กทช. ได้ประมาณไว้ว่ามูลค่าของตลาดจะเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2552 อีกร้อยละ 28 หรือเป็นจำานวน 8.51 พันล้านบาท ยังมีการตั้งข้อสังเกตในรายงานอีกด้วยว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองเกือบทั้งหมดได้ย้ายจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์โดยตรง (Dial-up) มาเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แม้ว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในพื้นที่ชนบทจำานวนมากจะยังคงใช้การเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์โดยตรงที่มีความเร็วตำ่ากว่ามากก็ตาม

1.5 บริษัท ทีโอที จำากัด (มหาชน) รัฐวิสาหกิจที่แปรรูปมาจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ร้อยละ 41.2 ในปลายไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2552 ตามด้วยบริษัทเอกชนสองแห่ง คือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำากัด (มหาชน) มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 37.6 และบริษัท ทีทีแอนด์ที จำากัด (มหาชน) ที่ร้อยละ 20.8 บริษัททั้งสามนี้ต่างก็ให้
บริการโทรศัพท์บ้านด้วยเช่นกัน

1.6 ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตเมืองนั้น เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของจำานวนเว็บไซต์ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับข่าว กระดานสนทนา และบล็อก (Blog) ปัจจุบันชนชั้นกลางไทยที่ได้รับการศึกษาดีใช้กระดานสนทนาและบล็อกเหล่านี้เพื่อแสดงออกและแบ่งปันมุมมองทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เนื่องจากช่องทางใหม่เหล่านี้เอื้อให้พวกเขาได้เผยแพร่ความคิดเห็นด้วยตนเองโดยไม่ต้องถูกคัดกรองหรือตรวจสอบก่อน ช่องทางเหล่านี้ยังเป็นที่นิยมขึ้นมาเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่นานมานี้ สื่อกระแสหลักในประเทศไทยมีภาพลักษณ์ในการพึ่งพิงกลุ่มที่แสดงความจงรักภักดีท่ามกลางการแบ่งขั่วทางการเมืองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตยังถูกแพร่กระจายไปในทันทีและไม่มีขอบเขต ไปสู่ผู้อ่านที่ไม่จำากัดจำานวน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถคงความเป็นนิรนามเอาไว้ได้ เว็บไซต์เครือข่ายสังคมเช่นไฮไฟว์ (Hi5) เฟซบุค (Facebook) ยูทูบ (Youtube) และทวิตเตอร์ (Twitter) ยังได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ประชากรอายุน้อยในเขตเมือง

Download (PDF, 132KB)

Tags: