สรุปเวทีวิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต (4) [กานต์ ยืนยง]

2009.07.08 02:23

เวทีวิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต
วันที่ 29 เมษายน 2552
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

วิทยากร กานต์ ยืนยง

เครือข่ายพลเมืองเน็ต และ Siam intelligence Unit (SIU)

วันนี้ก็อยากจะพูดเน้นลงไปที่ พรบ.คอมพิวเตอร์ ที่ได้ศึกษามานิดหนึ่ง และก็อีกเรื่องคือที่สนใจก็คือ เรื่อง 112 แต่ตอนนี้สถานการณ์เรื่องค่อนข้างที่จะรุนแรง การที่จะไปแก้ไขอะไรตรงนี้ ผมคิดว่าต้องฝ่าไปอีกหลายด่าน เพราะว่าที่ผ่านมาว่าเราอาจจะพูดในเชิงที่กว้างในวันนี้ผม จะนำผลสำรวจที่ศึกษามา เริ่มจากประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จาก NECTEC บอกว่า ประมาณ 10 กว่าล้านคนในประเทศไทย ตัวเลขเหล่านี้เมื่อเทียบกับเราไปเทียบกับเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย ยังถือว่าน้อยอยู่ จริง ๆ แล้วที่ใครบอกว่าการโพสต์อะไรลงไปในอินเทอร์เน็ต ย่อมเกิดผลกระทบ อันนี้อย่าเพิ่งไปเชื่อนะครับเพราะว่า อัตราการเข้าถึงครัวเรือนในการใช้อินเทอร์เน็ต ผมคิดว่าอัตราผู้เข้าถึงหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ ยังการเข้าถึงอยู่มากกว่าโดยเฉพาะโทรทัศน์ 4-5 ช่องของไทยเราประมาณ การเข้าถึงของประชากร 95 % ของประชากรทั้งหมด

คือถ้ามองเรื่องการควบคุม ถ้าผมเป็นรัฐก็เข้าไปควบคุมก่อน โดยเฉพาะหลัง ๆ นี้ที่มีปัญหามากขึ้นคือ เรื่องของเคเบิลทีวี ซึ่งมันมีการขยายตัวค่อนข้างเร็วช่วงหลัง ก็เป็นที่ผลทีว่าทำไมหลัง เอเอสทีวี ทีวีดีสเตชั่น เริ่มมีอิทธิพลกับสังคมไทยมากขึ้น อันนี้ก็เป็นพัฒนาการของสังคมไทยเอง ถ้าเป็นอินเทอร์เน็ตก็ถือว่ายัง โดยเฉพาะมาเลเซีย ผมก็ได้ไปคุยกับเขามาเขาบอกว่า ถ้าเมื่อไรก็ตามสังคมไทยมีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกิน 60 เปอร์เซ็นต์ สังคมไทยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเยอะแน่ จากการใช้อินเทอร์เน็ต

มาที่การสำรวจด้วยออนไลน์จะต่าง ๆ ไปจากการสำรวจทางสัมมโนครัว ที่ผมเคยไปศึกษาอยู่ เขาจะสุ่มจากสัม มโนครัวแล้วก็ไปสัมภาษณ์ได้จริงเลย แต่ถ้าเป็นการสำรวจทางออนไลน์เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าใครจะตอบได้เมื่อไร จะต่างกันตรงนี้ เพราะอัตราความแปรปรวนจะต่างกันเยอะ แต่ข้อดีความรวดเร็วจะมีมากว่า ซึ่งปัจจุบันการสำรวจทางอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น อย่างการเมืองในอเมริกา ซึ่งถ้าจำนวนเยอะ ๆ ก็จะแม่นย้ำ สายทางธรุกิจก็นิยมใช้เหมือนกัน

วันนี้ผลสำรวจของเรา จากกลางเดือนมกราคม ถึงเมษายนนี้ ผล overview ผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 970 กว่าคนจากเมื่อวานนี้ เว็บไซต์ที่ร่วมทำกิจกรรมก็มี เว็บประชาไท เอสไอยู เมลลิงค์ลิสต์ บล็อคต่าง ๆ แล้วก็ทวิสเตอร์ สัดส่วนผู้ใช้งานแบ่งตามอาชีพ เยอะสุดคือคนที่งานแล้วประมาณ 65% รองลงมาก็กำลังศึกษา เพศก็มีชายเยอะกว่าหญิง เพศหญิงประมาณหนึ่งไหนสี่ การเข้าถึงส่วนใหญ่จากที่บ้าน แล้วรองลงมาที่ทำงาน ใช้จากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนตัวเยอะสุด ทีนี้ถามความจำเป็นในเรื่องการใช้งานของอินเทอร์เน็ต ก็พบว่า 35% มีความจำเป็นใช้งานอินเทอร์เน็ตทีเรียกได้ว่าขาดไม่ได้เลย คำถามที่ว่ามีการใช้งานทางการเมืองมากแค่ไหน ก็ไม่พบว่ามากแต่ก็มีนัยสำคัญ แนวโน้มที่เป็นลักษณะเริ่มต้นใช้

ส่วนที่เป็นเรื่องพรรคการเมือง ตัวเลขที่น่าสนใจถ้าเป็นเรื่องมวลชน ชุมชน เริ่มให้ความสนใจในการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าพรรคการเมือง แต่ว่าถ้าไปดูแนวโน้มต่างประเทศผมคิดว่าเขาให้ความสำคัญเรื่องพรรคการเมือง มากกว่านี้เยอะ

คำถามที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเข้าใจเรื่องสิทธิและเสรีภาพ เป็นคำถามให้กรอกตอบแบบสอบถามว่ามีคความเข้าใจมากน้อยเพียงใดแล้วก็มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งมากน้อยเพียงใด พบว่าร้อยละ 70 กว่าให้ความสำคัญการเข้าใจเรื่องสิทธิและเสรีภาพมากกว่าไม่เข้าใจ อันนี้ที่ผมถามเพราะว่าที่ผมเคยไปเรียนในชั้นเรียนเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่ อาจารย์ถามว่าพวกเราในห้อง(ที่กำลังศึกษา)คิดว่าตัวเองเป็น ไพร่ เป็นบ่าวหรือ เป็นราษฎร์ เป็นประชาชน หรือเป็นพลเมือง เป็นคำถามที่ผมต้องมานั่งคิดว่าจริง ๆ แล้วผมเป็นอะไร คือความแตกต่างมันคือการตระหนักเรื่องสิทธิความเป็นพลเมือง ยิ่งตระหนักมากเท่าไร ความเป็นพลเมืองมากเท่านั้น อันนี้เราเป็นการเอาไว้ให้ประเมินในแบบสอบถาม

ข้อคำถามการประเมินในเรื่องการรองรับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไทยของรัฐไทยพบ มากที่สุด บอกว่าการไม่ค่อยรองรับเรื่องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมากกว่ารองรับมาก ที่สุด และปัญหามาจากการไม่ตระหนักในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของประชาชนและ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเอง

การอ่านกฎ ข้อตกลงของการใช้เน็ต ส่วนใหญ่ตอบว่าอ่านคราว ๆ และเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัวของการใช้เว็บไซต์ ลักษณะคล้ายกันกับการอ่านกฎ ข้อตกลง

คำถามในเรื่องการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ต ตอบว่าควรจะควบคุมน้อยที่สุด และถามว่าทราบว่ามี พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ไหม มากสุดตอบว่าไม่ทราบว่ามีมากที่สุด รองลงมาทราบว่ามีแต่ไม่เคยอ่าน

การประเมินผลกระทบ พรบ.นี้ทั้งด้านบวกและลบ ส่วนใหญ่รู้สึกว่าไม่มีผลกระทบด้านบวกเยอะว่าด้านลบ ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ไม่พอใจการตัวกฎหมายและการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่

สรุปคำถามเรื่องตัวกฎหมายและการปฎิบัติงานเจ้าหน้าที่ และการปิดกั้นเว็บไซต์ พบว่ามีความไม่พอใจมาก และไม่อยากให้ปิดกั้นเว็บในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

กระทรวงไอซีเองก็ออกมาประกาศว่าจะเป็นคนแฮกเกอร์เอง ซึ่งก็ผิดกฎหมาย พรบ.คอมพ์นี้เอง เดี่ยวผมจะชี้ให้เห็นว่าผิดมาตรา ไหน สำหรับกรณีการเก็บข้อมูล 90 วันของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และเรื่องปัญหาของการปิดกั้นเว็บไซต์ มันทำได้แค่ไหน ผมได้เข้าร่วมเสวนาราชดำเนินเสวนาและได้แลกเปลี่ยนถึงเรื่อง ความเป็นไปได้การปิดเว็บไซต์เป็นไปได้มากแค่ไหน ผมบอกได้เลย แทบจะไม่ได้เลย ไม่สามารถปิดกั้นได้ เพราะเหตุผลหนึ่งปริมาณเนื้อหาของเน็ตเพิ่มขึ้นทุกวัน อันที่สองถ้ามีการปิดการก็สามารถดูผ่าน proxy ได้ ถ้าปิดกั้น proxy ขึ้นอีก ก็สามารถใช้ Tor ได้ ยิ่งไปกว่านั้นถ้ายิ่งปิดกั้นมาเท่าไหร่ ยิ่งจะมีคนเผยแพร่มากเท่านั้น นี่เป็นคำถามว่าความเป็นไปได้ของการปิดกั้นมันเป็นไปได้แค่ไหน ตัวอย่างสมมุติว่าอาจารย์ใจประกาศแถลงการณ์แดงสยาม และถูกปิดกั้นผลที่จะเกิดขึ้นก็คือ คนก็จะยิ่งเข้าไปหากันใหญ่ และก็สำเนากระจายในเน็ตก็จะยิ่งแพร่กระจาย ผมเชื่อว่าหลายคนก็คงได้อ่านแถลงการณ์ของอาจารย์ใจในเน็ต นี้เป็นคำถามในเชิงการปิดกั้นเชิงเทคนิคเป็นไปแทบไม่ได้

ความพยายามในการผลักดัน พ.ร.บ.นี้ เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 คุณสิทธิชัย โภไคยอุดม โดยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีขณะนั้น ที่บอกได้ชัดเจนว่าสาเหตุที่เขาเร่งออกกฎหมายนี้ก็เป็นเพราะว่ามาจากการร้องเรียนจากสาธารณะ เรื่องลามก ศิลปวัฒนธรรม การล้วงข้อมูลลับทางคอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีกฎหมายควบคุมโดยเฉพาะเว็บไซต์ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

แต่ถ้าจำได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเว็บไซต์มหาลัยเที่ยงคืน ได้ออกมาโพสต์แถลงการณ์ต่อคณะ คมช. เป็นเรื่องเป็นราวและก็ได้ถูกปิดเว็บ และก็ได้ร้องเรียนคุณไปปิดได้อย่างไร มันไม่มีกฎหมาย คุณสิทธิชัยเองก็รีบทำออกมาเพื่อให้มันถูกกฎหมาย แล้วในช่วงการแปรญัตติ มีอยู่มาตราหนึ่งที่ผมขำมาก คือ มาตราที่ 15 ที่บอกว่า การดัดแปลงภาพต่าง ๆ ก็มีความผิด ก็กำลังถกเถียงเรื่องการระวางโทษ คุณคำนูน ตอนนั้นก็เป็นคณะกรรมการก็เป็นคนทำหน้าที่ในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนได้เป็นอย่างยิ่ง ก็บอกว่า อย่างหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โดยเฉพาะในส่วนผู้จัดกวนมักตัดต่อภาพล้อเลียนนักการเมือง เพราะฉะนั้นอาจจะผิดไปด้วย

นั่นคือ เราไม่ควรมีมาตรานี้ คือทุกคน มองเป็นผลประโยชน์ของตัวเองหมด แต่จริง ๆ ก็อย่าลืมว่ามาตรานี้มันเกิดขึ้นใน สนช. คือการที่คุณจะไปคิดแทนประชาชนเป็นเรื่องที่ยาก นี้คือข้อสังเกตุของผม ฉะนั้นคนก็จะปกป้องในส่วนที่มีผลกระทบต่อตัวเองทั้งนั้น อันนี้มีในบันทึกในการประชุม ถัดมานี่ก็เป็นรูปของคุณสุวิชา ท่าค้อ เอามาจากเว็บไซต์แห่งหนึ่ง เป็นช่วงที่เขาฟังคำตัดสินและมีความผิดรายแรกของคดีความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งถูกลงโทษทางอาญาจำคุกถึง 10 ปี โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งจริง ๆ เป็นความผิดสองชุดมาตรา ชุดแรก คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83,91 และ 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3, 14 และ 16

เรียกได้ว่าเป็นความผิดสองกระทง ความผิดชุดละสิบปีสองชุดเป็น 20 ปีและก็ได้ลดโทษให้ครึ่งหนึ่งที่จำเลยรับสารภาพ เหลือ 10 ปี คือคุณสุวิชาจะโชคดีมากที่ถ้าเกิดเขาไม่ไปทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ แล้วไปทำความผิดเหมือนกับคุณดาที่ท้องสนามหลวง อย่างสมมุติว่าเขาให้ 10 ปี ลดโทษครึ่งหนึ่งเหลือ 5 ปี แต่เผอิญไปอยู่ในคอมพิวเตอร์คนเลยโดนสองเด้ง ก็ไม่เขาใจเหมือนกันนะว่ามันร้ายแรงมากกว่าแค่ไหน อย่างที่บอกอัตราการแพร่กระจายของสื่อคอมพิวเตอร์ปัจจุบันที่ไม่มากเท่ากับสื่อปัจ จุบัน แต่เป็นสื่อที่มาช่วยแพร่กระจายเท่านั้นเอง ตอนนี้ครอบครัวทางคุณสุวิชาก็มีปัญหาอยู่ เพราะว่าคุณสุวิชาเป็นคนหลักหาเลี้ยงครอบครัว

คุณอภิสิทธิ์ก็เป็นคนบอกเองว่า มันมีความผิดพลาดเชิงนโยบาย ซึ่งคุณอภิสิทธิ์บอกว่าไม่มีนโยบายในการใช้ พรบ.คอมพ์ อันนี้ผมอาจจะคอนเฟิร์ม อาจารย์จอนนิดหนึ่งว่าลึก ๆมองในแง่ดีต่อรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ แต่ผมก็จะยังไม่ทั้งหมดหรอกเพราะยังมีปัญหาในแง่การปฎิบัติอยู่

กระทรวงไอซีทีกำลังเตรียมโครงการแฮกแอนด์แคร็ก (Hack and Crack) โดยเฉพาะถ้าพบเว็บไซต์ร้ายแรงโดยเฉพาะการหมิ่นเบื้องสูง ก็จะเข้าไปแก้ไขข้อมูล ลบข้อมูลนั้นทิ้งหรือว่าทำให้มันใช้งานไม่ได้เลย ผมจะบอกว่าจริง ๆการกระทำแบบนี้มันผิดกฎหมายเอง พรบ.คอมพ์มาตรา 9 ที่ว่าผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลายแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยมิชอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ไม่มีใครไปฟ้องกระทรวงไอซีที ก็เป็นเรื่องขำอีกอันหนึ่ง

ส่วนคดีสุวิชานี้ก็อยู่ในกระบวนการทางกฎหมายอยู่ ก็มีคุณฟิน ในเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันก็ไปโพสต์ข้อมูลหมิ่นฯ ซึ่งก็ถูกหมายเรียกจากตำรวจ ในรายละเอียดเดียวผมจะเล่าให้ฟังอีกทีหนึ่ง ถัดมาก็คือคนผู้ใช้ล็อคอินว่า ครอบครัวมาเฟีย ก็อยู่ในเว็บไซต์พันทิป ที่วิจารณ์ร้านภูฟ้าก็โดนฟ้องร้องไป และก็ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นบั๊ปฟาโลบอยที่ในเว็บไซต์ประชาไทก็ถูกฟ้องร้อง ซึ่งได้ประกันตัวไปด้วยจำนวนเงินสองล้านบาท แล้วก็มีกรณีประชาไท ซึ่งจริง ๆ เว็บไซต์ประชาไทก็ลบข้อมูลนี้ออกไปแล้วและยังโดนดำเนินคดีอยู่ ซึ่งอันนี้ก็เป็นกรณีเดียวกันกับเว็บ 212cafe ซึ่งผู้ให้บริการพื้นที่ที่ถูกนำไปใช้ในการโพสต์รูปภาพส่วนตัวของสุภาพสตรีท่านหนึ่ง แล้วไม่ได้ลบออกในช่วงเวลา ที่ตำรวจเห็น แล้วอีกอันก็คือพระยาพิชัยที่ถูกตำรวจบุกจู่โจมเข้าไปคาที่พัก นำตัวไปสอบสวนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ สืบสวนแล้วไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง คดีนี้ก็อยู่ในกระบวนการ ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรแล้ว อันนี้ก็เป็นตัวอย่างคดีที่ยกมา

จริง ๆ ก็มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่บ้างนะครับ ผมคิดว่ามันมีความผิดพลาดของกฎหมายนี้อยู่บ้าง ซึ่งเห็นว่าควรเสนอแก้ไข กฎหมาย พรบ.คอมพ์นี้ส่วนใหญ่อ้างอิงมาจากยุโรป มาตราต่อมาตราเลยบ้างข้อ ซึ่งจะมีอยู่สององค์ประกอบคือการกระทำความผิดต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ กับอีกอันคือการนำคอมพิวเตอร์ไปทำความผิด การโพสต์ข้อมูลเหล่านี้ โพสต์หมิ่นคนอื่น ของเราก็ไปเน้นการทำคดีส่วนที่เป็นความผิดอันหลังนี้ ส่วนในเรื่องการ Hack and Crack นี้ยังไม่เห็น อาจจะฟ้องหรือไม่ฟ้องไม่แน่ใจเหมือนกันเพราะไม่ปรากฎอยู่ในข่าว

อย่างการฟ้องหมิ่นประมาท จริง ๆแล้วก็มีกฎหมายมารองรับอยู่แล้ว อย่างคดีที่คุณสุวิชา ต้องรับโทษสองกระทง สองกฎหมายเลย ซึ่งก็เป็นปัญหาสองชั้นเลย ในยุโรปนี้เขาจริง ๆแล้วเน้นในเรื่องของ chlid pornography มากกว่าด้วยซ้ำ ถ้าจะห้ามในเรื่องของเนื้อหาที่จะมีความผิดทางกฎหมายในการเผยแพร่ แต่ของเราใช้แพร่หลายมากกว่านั้น ในเรื่องการควบคุม

อันที่สองคือเป็นไปได้หรือไม่ว่าเราจะแยกเรื่องที่เป็นเนื้อหา (content) แยก ออกมาจากกฎหมายฉบับนี้ ที่มากกว่านั้น พูดง่าย ๆ คือ กฎหมายฉบับนี้แทนที่จะให้มีความผิด จากตัวกฎหมาย หรืออาจจะให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจในการสืบสาวค้นหาด้วยตัวกฎหมายอื่น ๆ ที่รองรับอยู่แล้ว ในการจัดการกับคนที่ทำความผิดในตัวเนื้อหาตัวนั้นแทน

อันที่สามจริง ๆ แล้วกฎหมายคอมพิวเตอร์ฯ นี้มีด้วยกัน 6 ฉบับ เท่าที่ผมจำได้ก็มี E-Commerce กฎหมายเรื่อง พรบ.คอมพ์ฉบับนี้ กฎหมายเรื่องลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เท่าที่ทราบที่ยกร่างไปแล้วคือ E-Commerce และก็ พ.ร.บ.computer crime law ยกร่างผ่านไปโดยไม่มีร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาถ่วงดุลด้วย ซึ่งต่างจากในอเมริกาและยุโรปที่จะต้องมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งที่ คุณจีรนุชโดนก็คือการสำเนาข้อมูลฮาร์ดดิสในคอมพิวเตอร์ไปใช้ ซึ่งเราก็ไม่มีโอกาสรู้ได้เลยว่าถูกนำไปใช้อย่างไร ทางเจ้าหน้าที่ก็ดีนะ เขาก็อ้างว่าถ้านำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดถ้าถือว่าทำผิดตามกฎหมายเหมือนกัน จะต้องถูกลงโทษทางความผิดไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่า ซึ่งคุณอาทิตย์บอกว่าได้รับโทษน้อยกว่าบุคคลทั่วไปครึ่งหนึ่ง ผมเห็นว่าทางที่เป็นไปได้ น่าจะพลักดันกฎหมายคุ้มครองสิทธิขึ้นมาประกอบได้ด้วยและถ่วงดุล อีกอันหนึ่งก็เป็นเรื่องการทำสำเนาข้อมูล ที่ภาระหน้าที่ตกอยู่ฝั่งของเอกชนซึ่งก็เป็นปัญหาอยู่ เราจะแก้ไขอย่างไรที่ปัญหามีอยู่เยอะก็คือการใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ ที่เจ้าหน้าที่เอง ก็ยอมรับเหมือนกันว่าที่อาจไม่ต้องลงทะเบียนที่ต้องสำเนาบัตรประชาชน แต่อาจจะใช้การลงทะเบียนในสมุดโดยกรอกเลขบัตรประชาชน ซึ่งผมคิดว่าในแง่การตรวจสอบทำได้ยาก และอีกเรื่องอย่างที่ได้บอกไป คือเรื่องการปิดกั้นเว็บไซต์ที่ไม่อาจทำได้จริงร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันมีที่ทางหลีกเลี่ยงได้

ตัวอย่างของการผลักดันกฎหมายจากภาคประชาชนก็เกิดขึ้นแล้ว 3 ฉบับเป็นอย่างต่ำ อันแรกนโยบายการประกันสุขภาพ แต่ว่าในช่วงผลักดันรัฐบาลเป็นให้เป็นเรื่องสามสิบบาทรักษาทุกโรคและก็หยุด ไปแล้ว อันที่สองก็คือหนังสือร่างจัดทำสัญญาระหว่างประเทศก็ตกไปแล้วที่เห็นก็ไปขอ ความเห็นจากสภาอยู่เรื่อย ที่เห็นก็คือกลุ่ม FTA WATCH เป็น คนเริ่ม แล้วอันที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภาคือองค์กรอิสระผู้บริโภค ก็เป็นตัวอย่างที่เป็นไปทางที่ภาคประชาชนผลักดันและมีทางเป็นไปได้

ผมก็ขอเชิญชวนครับอาจจะเป็น iLaw ของอาจารย์จอนเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขนะครับ ใช้กฎหมายนี้แหละ ลองเลย อันแรกขั้นตอนมีอะไรบ้างผมก็พยายามรวบรวมมา ต้องหาเจ้าภาพที่จะจัดทำร่างแก้ไข และขอความเห็นและแก้ไขร่างจากสาธารณชน จากนั้นก็ทำร่างแก้ไขและขอความเห็นหรือประชาพิจารณ์ หรือการล่ารายชื่อให้ครบหนึ่งหมื่นคนผ่านอินเทอร์เน็ต ผมว่าด้วยสถานการณ์การเมืองขณะนี้ผมว่ามันเป็นไปได้สูง จากนั้นก็ตรวจสอบรายถือว่าถูกต้องชัดเจนตามกฎเกณฑ์ เงื่อนไข ตามกฎหมาย และสุดท้ายก็นำเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแปรญัตติ โดยที่คณะกรรมการนั้นอาจจะมีภาคประชาชนด้วยที่ยื่นเข้าไปไม่น้อยกว่าหนึ่งใน สามก็แปรญัตติ

อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่นำเสนอ และก็ปัญหาทางออก ที่คิดว่าน่าจะทำได้ก็ขออนุญาตการนำเสนอแค่นี้ครับ

Tags: , ,