2009.07.08 07:00
เวทีวิพากษ์ผลกระทบจากกฎหมายและการเมืองต่อสิทธิมนุษยชนพลเมืองเน็ต
วันที่ 29 เมษายน 2552
ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วิทยากร สุเทพ วิไลเลิศ
เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ
หลังจากฟังเนื้อหาก็มีประเด็นที่เตรียมมามีส่วนสัมพันธ์กันนะครับ ซึ่งเดี๋ยวจะขอยกประเด็นที่ต่างขึ้นมา ประการแรกเลยคือ สถานการณ์การเมืองที่มีความคิดเห็นแตกต่าง และก็มีความขัดแย้งตามมาในขณะระยะเวลา 3-4 ปีนี้ เอาเข้าจริงที่ผลกระทบด้านกฎหมายและผลกระทบสถานการณ์สิทธิพลเมืองเน็ต มาจากสถานการณ์ทางการเมือง ที่พูดเรื่องสถานการณ์การเมืองก่อนเพราะว่า เรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่กฎหมายกลายเป็นเรื่องเครื่องมือของรัฐในการที่จะเข้ามาควบคุมสิทธิและเสรีภาพในเรื่องข้อมูลข่าวสาร
ผมว่าสองประเด็น ก็คือว่า หนึ่ง ก็คือการจำกัดการสื่อสารข้อมูลของประชาชนเองรวมทั้งควบคุมทิศทางการสื่อสาร ข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย เมื่อสักครู่เราอาจจะเน้นสื่อคอมพิวเตอร์มาก แต่หากเราเทียบที่คุณกานต์ได้เสนอไปแล้ว การเข้าถึงสื่อในรูปแบบต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างมากเช่น ในประเทศไทยเรา สื่อวิทยุโทรทัศน์คนสามารถเข้าถึงมากกว่า 90 % ในขณะที่สื่ออินเทอร์เน็ต อยู่เพียงประมาณสิบกว่าล้านคนที่เข้าถึง ซึ่งก็ประเมินว่าน่าจะต่ำกว่านั้นอีกด้วย
ดังนั้นประเด็นที่น่าสนใจและทบทวนไปว่าทำไมการเมืองจึงนำไปสู่การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ และย้อนกลับไปสมัย สนช ช่วงที่มี สนช การแก้ไขกฎหมายสื่อไม่ได้พูดถึงว่าการแก้ไขกฎหมายคอมพิวเตอร์ฉบับเดียว แต่หมายถึงการแก้กฎหมายสื่อยกชุด ว่ากันตั้งแต่เรื่องกฎหมายคอมพิวเตอร์ จริง ๆ ว่าตั้งแต่กฎหมายประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ 2498 ที่มีการยกเลิกไปแล้วก็มีประกาศใช้ในปี 2551 อีกเป็นฉบับใหม่
แต่ที่คุณสุภิญญาได้ทิ้งท้ายไว้ ท้ายสุดก็ไม่ได้ยกเลิก พรบ วิทยุโทรคมนาคม 2498 ซึ่งเป็นเรื่องของการควบคุมเครื่องส่ง ฉบับนั้นก็ยังมีการบังคับใช้ ทำให้เกิดเรื่องคดีวิทยุชุมชนและกรณี 4-5 กรณีล่าสุดในช่วงที่ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน กฎหมายอื่นที่ประกาศตามมาก็มี พรบ.ภาพยนต์และวิดิทัศน์ ส่วนเรื่องกฎหมาย พรบ.การพิมพ์ที่เราบอกว่าดูเหมือนเป็นการปลดโซ่ตรวน สื่อมวลชนอาจจะดูเป็นการชนะในครั้งนี้ แต่จริง ๆ ที่ได้ผลกระทบจะเป็นประชาชนหรือไม่เพราะว่า ท้ายสุดคนที่จะเป็นผู้แบกรับคือคอลัมนิสต์ ที่พร้อมที่จะเสี่ยงและรับผิดชอบ ยกตัวอย่างกรณีที่โลตัสฟ้องคอลัมน์นิสต์ ซึ่งตัวผู้ประกอบการก็ลอยตัวไม่ต้องรับผิดชอบอะไรโดยตรง มีแต่คอลัมน์นิสต์เท่านั้นถ้าใคร กล้าที่จะเขียนหรือให้ข้อมูลต่าง ๆ ก็ต้องพร้อมที่จะท้าทายหรือพร้อมที่จะเผชิญการถูกฟ้องร้อง อันนี้เป็นประเด็นหนึ่ง
สิ่งที่ผมจะสรุปคือว่ากฎหมายสื่อที่มีการแก้ไขและเปลี่ยน วิทยุ และโทรทัศน์ยังอยู่ในมือของรัฐและเอกชนที่เข้าไปทำสัญญาและสัมปทานที่ผ่านมา ไม่มีองค์กรมากำกับดูแล การเกิดขึ้นของวิทยุใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุธุรกิจหรือวิทยุชุมชนก็ยังคงอยู่ในภาวะที่ไม่มีกฎหมายมา รองรับเพราะที่ถูกจับได้ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งที่แหลมคมที่สุดจนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
ส่วนเว็บไซต์แม้ว่าจะมีคนใช้สิบล้านคนหรือว่าไม่มากนักหรือไม่กว้างขวางอย่างที่ คุณกานต์ว่าก็ตาม แต่มันเป็นตัวที่ถูกอธิบาย ถ้ายกตัวอย่างที่เสนอเมื่อครู่นี้ ถ้าบอกว่าพรรคการเมืองใช้เว็บไซต์ในการรณรงค์หาเสียงทางการเมือง หรือหาเสียงอะไรต่าง ๆ ไม่มากนัก แต่การที่เปิดประเด็นเรื่องการใช้สื่อสมัยใหม่กับสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นทีวี หรือหนังสือพิมพ์เองก็ตาม มีส่วนในการช่วยเผยแพร่ประเด็นไปสู่วาระต่าง ๆ ออกไปได้อีก
ดังนั้นมันไม่ได้มีพลังการสื่อสารจากด้วยตัวของมันเองทั้งหมดเลยที่เดียว สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของวันนี้ผมว่าเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพเรื่องข้อมูล ข่าวสาร ซึ่งแนวรบมันถูกการแก้กฎหมาย ซึ่งวิทยุโทรทัศน์ถูกควบคุมไว้ระดับหนึ่งแล้วผ่านการแก้ไขในรัฐธรรมนูญใน มาตรา 40 กลายเป็นมาตรา47 แล้วยังมีการยุบรวมองค์กรอันนี้เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้จะเรียกว่าเป็นการซื้อเวลา ในการที่จะให้องค์กรอิสระเข้ามาดูแลอีกก็เป็นได้
แต่อย่างที่ว่ากลับเข้าไปสู่โจทย์ที่ว่าประชาชนผู้ใช้สื่ออินเทอร์เน็ตหรือ พลเมืองเน็ตเป็นผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจาก พรบ.คอมพิวเตอร์ ผมว่านี้เป็นประเด็นที่แตกต่างและก็น่าจะนำไปสู่ข้อเสนอ ที่หลาย ๆ ท่านเสนอว่าควรจะต้องมีการแก้ไข ก็มีความเห็นด้วยและคิดว่าเดี่ยวจะเสนอประสบการณ์บางอย่างที่มีการเข้าชื่อ เสนอกฎหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นที่เห็นชัดเจนที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2550 ก่อนหน้านี้ที่คุณจีรนุชเห็นว่าควรจะต้องมีการแก้ไขมาตรา 14,15,16 ขณะนี้ถูกบทบัญญัตินี้กระทบกับตัวเอง ยังไม่รวมถึงที่หลายท่านที่ได้รับผลกระทบนี้ อันนี้ยังไม่ได้พูดถึงกระบวนการของรัฐที่โปร่งใส่หรือไม่อย่างไร ในอินเทอร์เน็ตแน่นอนว่าไม่ทราบว่ากฎหมายอินเทอร์เน็ตจะมีภัยกับตัวเอง อย่างไร หรือควรจะปฎิบัติตัวอย่างไร อันนี้ยังไม่นับรวมถึงประเด็นที่ว่าความชัดเจนของกฎหมายว่าครอบคุมความผิด มากน้อยขนาดไหน อะไรคือหมิ่นหรือไม่หมิ่นเกณฑ์ตัวนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน รวมถึงเรื่องความรุนแรงของโทษอันนี้ก็ยังไม่ได้ถกกันอย่างชัดเจน คือความคุมเครือที่เข้ามาควบคุมการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้
ผลที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาในส่วนของเด็ก เยาวชน ที่หลายส่วนมีการผลักดัน เคลื่อนไหวเรื่องของการสื่อสารสิทธิข้อมูลข่าวสาร สิ่งหนึ่งที่เขาพยายามเรียกร้องคือมุมมองต่อสื่ออินเทอร์เน็ต การเป็นพื้นที่ ที่กลายเป็นผู้ร้าย ที่ไม่ปลอดภัย มีความไม่มั่นคงอยู่สูงมาก
ดังนั้นการที่รัฐจะใช้อำนาจในการกำกับควบคุมจึงย่อมมีความชอบธรรม อย่างเช่น กรณีที่ รมว.ไอซีที ที่คนในอดีต เสนอว่าการแก้ไขเรื่องเหล่านี้เป็นห่วงเรื่องเนื้อหา แต่เรื่องกรณีหมิ่นเป็นประโยคท้าย ๆ ด้วยซ้ำ แต่เอาเข้าจริงประเด็นที่ถูกจับใช้ก็เป็นเรื่องประเด็นหมิ่น ก็เลยมาถึงข้อเสนอที่ว่าให้มีการทบทวนข้อเสนอและแก้ไข พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ น่าจะเป็นโจทย์หนึ่งและมีการเคลื่อนไหว รณรงค์เรื่องนี้ให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยตรง
ซึ่งแน่นอนที่ทางโครงการที่อาจารย์จอนกำลังดำเนินการอยู่เป็นเรื่องที่ท้าทาย อย่างมากเนื่องจากโครงการที่จะรณรงค์ เรื่องการเสนอกฎหมายของประชาชนหรือทำความเข้าใจเรื่องนี้ผ่านสื่อ อินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์โดยตรงและน่าจะได้ตอบรับโดยตรงจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตเองให้ความสนใจและร่วมเสนอได้มากกว่า ตัวอย่างการรณรงค์เรื่องการเสนอกฎหมายที่ผ่านมา ทางวิทยุชุมชนเองมีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายร่างกฎหมายพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งมาตรา 47 ระบุว่าจะต้องมีการยุบรวมองค์กร
ดังนั้นกฎหมายเรื่องของคลื่น พรบ.ในปี 2543 ย่อมต้องมีการปรับแก้ เมื่อมีการปรับแก้ก็มีความพยายามที่จะเข้าชื่อเสนอกฎหมายของภาคประชาชน ซึ่งเราก็มีหลักการหลาย ๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนองค์ประกอบที่มีภาคประชาชนเข้าไปด้วย มีการตรวจสอบถ่วงดุล แต่ท้ายสุดการเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ผ่านมาก็ลงไปอยู่กับกลุ่มประชาชนในท้องถิ่นจริง ๆ ก็ได้มารายชื่อทั้งหมดประมาณ 4,300 กว่าคน แต่ก็ไม่ทันกับการเสนอกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็เร่งรัดที่จะเสนอกฎหมายนี้ ผ่านสภาไปแล้ว แล้วก็ตั้งคณะกรรมาธิการประชุมกันไปแล้ว 4-5 ครั้ง วันที่ 30 ก็จะเป็นครั้งที่ 5 ที่มีการประชุมกฎหมายฉบับนี้เหมือนกัน ผมคิดว่าข้อเสนอเรื่องการรณรงค์การเสนอกฎหมายน่าจะมีความจำเป็นและพลักดัน ก่อน ซึ่งภาคประชาชน ก็มีอยู่ประมาณ 7-8 ฉบับ
Tags: DSI, Operation of Radio and Television Broadcasting Business Act, workshops