Thai Netizen Network

อ่าน รวมข้อวิพากษ์ชุดกม.เศรษฐกิจดิจิทัล ร่างใหม่ ในเวทีกฤษฎีกา

กฤษฎีกาเผยความคืบหน้าชุดร่างกฎหมาย “เศรษฐกิจดิจิทัล” ล่าสุด ตัดกสท.และทีโอทีออกจากคณะกรรมการดิจิทัลฯ คงการประมูลคลื่นไว้สำหรับการใช้เชิงพาณิชย์ แต่จะ “คำนึงถึงจำนวนเงินที่เสนอให้แต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้” ไม่ยุบกองทุนกทปส.แต่จะแบ่งเงินออกไปส่วนหนึ่ง อ่านรวบรวมความเห็นต่อร่างกฎหมายจากหลายฝ่าย ด้านล่าง

ดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวเปิดงาน

ดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวเปิดงาน

คณะกรรมการกฤษฎีกาจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างกฎหมายเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล (กฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล)” เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล 10 ฉบับ รวมทั้งได้เปิดเผยร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่ผ่านการพิจารณาวาระแรกของคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แก่ 1) ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ 2) ร่างพ.ร.บ.กสทช.

ในงานมีผู้เข้าร่วมรับฟังความคืบหน้าร่างกฎหมายและเสนอความคิดเห็นจากหลายฝ่าย อาทิ นักวิชาการ ตัวแทนจากกสทช. ตัวแทนภาคเอกชน ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจไอทีและผู้ประกอบการธุรกิจคมนาคม นักวิจัยด้านเทคโนโลยี ตัวแทนที่ทำงานด้านสิทธิผู้บริโภค เอ็นจีโอด้านสิทธิอินเทอร์เน็ต

ความคืบหน้าร่างกฎหมาย

สำหรับความคืบหน้าร่างกฎหมายล่าสุด มีร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา วาระที่ 1 มาแล้ว ได้แก่ 1) ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. …. (รวมร่าง 3 ฉบับ) และ 2) ร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ส่วนร่างกฎหมายอื่นๆ ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาในวาระแรก โดยได้มีการการเปิดเผยสรุปสาระสำคัญที่อยู่ระหว่างการพิจารณาออกมาให้ทราบ

สรุปสาระสำคัญของร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับสามารถอ่านได้ที่ เว็บไซต์กฤษฎีกา (คลิกที่ชื่อร่างกฎหมาย > คลิกที่ “บันทึกสำนักงานประกอบร่างฯ” แถบขวามือ)

ความเปลี่ยนแปลงหลักๆ ของร่างกฎหมายชุดนี้ มีดังนี้

ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ร่างพ.ร.บ.กสทช.

ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ส่วนความเปลี่ยนแปลงในร่างกฎหมายอื่นๆ สามารถอ่านสรุปสาระสำคัญได้ที่ลิงก์ข้างต้น

นอกจากนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้เปิดช่องทางให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเสนอความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายชุดนี้ได้ที่เว็บไซต์ของกฤษฎีกาเช่นกัน

รวบรวมความเห็นและข้อวิจารณ์ร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล 10 ฉบับ

ความคิดเห็นและข้อวิจารณ์ต่อร่างกฎหมายชุดนี้จากผู้เข้าร่วมสัมมนา มีดังนี้

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.กสทช.ว่า

สำหรับร่าง “พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ที่เกิดจากการรวมร่างพ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลฯ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลฯ และร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ เข้าเป็นร่างกฎหมายเดียวนั้น ในเบื้องต้น สมเกียรติเห็นว่า

น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกสทช. เห็นว่า โดยส่วนตัวมองว่าความคืบหน้าของร่างพ.ร.บ.ชุดเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการแก้เพียงจุดเล็กๆ ไม่ได้แก้ในประเด็นใหญ่ๆ รวมทั้งเห็นว่า มีการปรับเนื้อหากฎหมายเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อให้สามารถผ่านร่างกฎหมายชุดนี้ออกมาได้

น.พ.ประวิทย์ยังเห็นด้วยว่า การเปลี่ยนวิธีจัดสรรคลื่นบางส่วนไปใช้วิธีอื่นนอกจากประมูล รวมทั้งการยุบรวม กสท.และ กทค. เข้าด้วยกัน ไม่มีเหตุผลและที่มาที่ไป

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ความเห็นว่า

ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาสมาคมสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ แสดงความเห็นว่าสบายใจขึ้นที่เห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาจะแก้ไขร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นำข้อยกเว้นที่มอบให้กับสื่อสารมวลชนกลับมา โดยมองว่าหากกฎหมายไม่ให้ข้อยกเว้นกับสื่อมวลชน ก็จะทำให้ทำงานข่าวเปิดโปงการทุจริตทำได้ยาก

สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้จัดการสถานีวิทยุจุฬาฯ เห็นว่า

ร่างพ.ร.บ.ชุดนี้จะทำให้เกิดหน่วยงานใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมาก อันจะส่งผลให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของหน่วยงานต่างๆ ยังต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีคำถามว่าปัจจุบันเรามีบุคลากรพอหรือไม่ นอกจากนี้ ยังจะก่อให้เกิดปัญหาการใช้เส้นสายในการสรรหาผู้เชี่ยวชาญ เหมือนที่เป็นปัญหาอยู่ในกสทช.

สำหรับร่างพ.ร.บ.กสทช. สุวรรณาเห็นว่า

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ให้ความเห็นว่า

ร่างกฎหมายใหม่ที่ระบุให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เปลี่ยนชื่อและสถานะจาก สพธอ. ปัจจุบัน – เพิ่มคำว่า “แห่งชาติ” ในชื่อ) กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ (โอนกิจการจาก สํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ – SIPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลสามารถไปร่วมทุนกับเอกชนได้นั้น จะทำให้ผู้กำกับดูแล (regulator) กลายเป็นผู้ประกอบการ (operator) ไปด้วย ซึ่งตามหลักแล้วควรจะต้องแยกผู้กำกับดูแลกับผู้ประกอบการออกจากกัน

นอกจากนี้ หน่วยงานทั้งสองยังเป็นหน่วยงานเอกเทศที่ไม่อยู่ภายใต้พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน จึงไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดี ซึ่งพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สพธอ.และสนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลฯ สามารถร่วมทุนกับเอกชนได้ แต่เมื่อทำผิดเอกชนไม่สามารถฟ้องสองหน่วยงานนี้ได้ จะทำให้ไม่มีเอกชนรายใดอยากร่วมทุนด้วย แม้ว่าปัจจุบันจะมีกฎหมายที่ว่าด้วยการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556) แต่ตัวร่างพ.ร.บ.ชุดนี้ดูเหมือนจะเขียนไม่ให้สองหน่วยงานนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนดังกล่าว

ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลฯ ฉบับที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ มีการกำหนดให้การดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลฯ ต้องถูกตรวจสอบด้านการเงิน (ร่างหมวด 3) แต่ในพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลฯ (ซึ่งรวมพ.ร.บ.การส่งเสริมดิจิทัลฯ เข้ามาไว้ด้วย) ตัดเรื่องการตรวจสอบออกไป จึงมีปัญหาว่า “เอาเงินของแผ่นดินมา รวมทั้งหากหาเงินได้เองก็ไม่ต้องส่งเข้าคลังเป็นเงินแผ่นดิน ทั้งยังไม่ต้องถูกตรวจสอบ ต้องมีการชี้แจงว่า หากตัดการตรวจสอบออกไปแล้ว ใครจะมาเป็นผู้ตรวจสอบ”

ส่วนร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ครม.อนุมัติ ตนเห็นว่า ในมาตรา 11 ที่เอาผิดแก่ผู้ที่ส่งสแปมนั้น ไม่ควรเพิ่มเติมว่า “โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้” (opt-out) เพราะท่อนที่เพิ่มเข้ามาเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น การส่งข้อความสแปมทางไลน์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไม่มีช่องให้คลิกเพื่อ opt-out อยู่แล้ว

ส่วนแนวทางการแก้ไข ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กฤษฎีกาชี้แจงมา ที่ให้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายนี้กับองค์กรนิติบัญญัติ องค์การศาสนา สื่อมวลชน งานวรรณกรรม ฯลฯ ตนอยากใเห้เพิ่มข้อยกเว้นให้กับหน่วยงานการศึกษาด้วย

ในร่างมาตราที่กำหนดให้ ห้ามส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูส่วนบุคคลที่ทัดเทียมกับประเทศไทยนั้น ตนเห็นว่า ในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ไม่สามารถกำหนดได้ว่าข้อมูลจะถูกส่งไปที่ใดบ้าง

สำหรับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ (ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ) ตนเห็นว่า ควรต้องเพิ่มการวินิจฉัยของศาลเข้ามาด้วย ส่วนหากจะดักรับข้อมูลบางประเภท เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย ในพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ ก็มีกำหนดให้ดักรับข้อมูลได้อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องเขียนไว้ในร่างกฎหมายนี้อีก

ทางด้านตัวแทนจาก Acer Printing กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ ว่า

สำหรับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ตนเห็นว่าควรต้องมีการแยกระหว่างผู้ควบคุมข้อมูล (data controller) และผู้ที่นำข้อมูลนั้นไปประมวลผล (data processor) ออกจากกัน ซึ่งร่างกฎหมายฉบับที่ผ่านครม.ออกมายังไม่ได้แยกสองบุคคลนี้ออกจากกัน

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ (Business Software Alliance – BSA) ให้ความเห็นว่า

ในร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น คำจำกัดความ “ข้อมูลส่วนบุคคล” กว้างเกินไป ควรต้องจำกัดความให้ครอบคลุมข้อมูลน้อยลงกว่านี้

ส่วนคำจำกัดความ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” (personal data controller) ต้องแยกหว่างผู้ควบคุมข้อมูล (data controller) และผู้ที่นำข้อมูลนั้นไปประมวลผล (data processor) ออกจากกัน มิฉะนั้นจะเป็นการบั่นทอนแรงจูงใจของผู้ประกอบธุรกิจที่จัดเป็นผู้ประมวลผลข้อมูล

ควรมีการกำหนดข้อยกเว้นเพิ่มขึ้น เช่น หากผู้ประกอบการได้ขอความยินยอมจากผู้บริโภคมาแล้ว ในอนาคตหากต้องการนำข้อมูลเดียวกันไปใช้ก็ไม่ควรต้องขอความยินยอมใหม่อีกครั้ง โดยกลุ่มได้อ้างแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC Privacy Framework) มาอ้างอิง

นอกจากนี้ ไม่ควรกำหนดห้ามการไหลเวียนของข้อมูลข้ามพรมแดน แต่อยากให้ใช้โมเดล “accountability model” ซึ่งนำเสนอโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) แทน

ทางกลุ่มยังเห็นด้วยว่า แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามแบบของสหภาพยุโรป (EU Directives) เข้มงวดเกินไป และหากนำมาปรับใช้ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ

ในประเด็นนี้ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล จากมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต) กล่าวแสดงความเห็นว่า กลุ่มเอเปคเกิดจากการรวมตัวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเศรษฐกิจเป็นหลัก และสะท้อนวัตถุประสงค์นั้นออกมาในแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย ฉะนั้น หากรัฐบาลไทยต้องการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจและสังคม แนวทางคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (EU Directives) น่าจะเหมาะสำหรับการนำมาเป็นแนวทางมากกว่า เพราะคำนึงถึงด้านสังคมด้วย ไม่ใช่ด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล จากมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต) ให้ความเห็นว่า

สำหรับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อาทิตย์ยังเห็นด้วยว่า ร่างกฎหมายหลายฉบับมีความซ้ำซ้อนกัน อาทิ เรื่องภาพลามกอนาจารเด็ก มีอยู่ด้วยกันใน 3 ร่างกฎหมาย, การอนุญาตให้รัฐดักรับข้อมูล มีอยู่ด้วยกันในกฎหมายและร่างกฎหมาย 6 ฉบับ นอกจากนี้ ร่างกฎหมายหลายฉบับก็ยังขัดแย้งกันเองด้วย

สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยให้ความเห็นว่า ทางสมาคมอยากให้ร่างกฎหมายชุดนี้ไม่ไปขัดขวางการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ ดังเช่นปัญหาความรับผิดของตัวกลางที่มีปัญหาอยู่ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบัน

สมาคมยังเป็นห่วงเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศด้วย เช่น การที่กฎหมายไทยบังคับให้ผู้ประกอบการไทยลบเนื้อหาบางอย่างได้ แต่ผู้ให้บริการต่างประเทศไม่ต้องลบเนื้อหาที่รัฐไทยแจ้งมาเพราะข้อมูลอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศซึ่งไม่ครอบคลุมโดยกฎหมายไทย

หรือการที่กรมสรรพากรเริ่มมีแนวคิดที่จะเก็บภาษีจากผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งๆ ที่ผู้ค้าที่ขายของบนเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม ไม่ต้องเสียภาษี การทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ค้าหนีไปขายของบนเฟซบุ๊ก แทนที่จะขายของบนเว็บไซต์ชองไทย

ภูมิ ภูมิรัตน นักวิจัยสายเทคโนโลยี ให้ความเห็นว่า

ร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ

ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตัวแทนจากดีแทค (Dtac) ให้ความเห็นว่า ควรต้องมีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการดิจิทัลฯ กับกสทช.ออกจากกันให้ชัดเจน และในการจัดดำเนินงานเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล กฎหมายควรกำหนดให้รัฐต้องรับฟังความเห็นภาคเอกชนด้วย ไม่ใช่ฟังแต่ความเห็นของหน่วยงานภาครัฐตามที่ระบุไว้ในร่างกฎหมายฉบับปัจจุบัน

ส่วนร่างพ.ร.บ.กสทช. ที่กำหนดให้ใช้การประมูลสำหรับคลื่นเพื่อการค้าจะให้ใช้การประมูล “แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยจะคำนึงถึงจำนวนเงินที่เสนอให้แต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้” นั้น ฟังดูขัดกัน

ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจไอทีอีกรายให้ความเห็นว่า ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล และทุกบริษัทต้องเคารพข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

ตนเห็นด้วยว่า ในการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล รัฐบาลควรจะต้องทำข้อมูลเปิดภาครัฐหรือ open data ด้วย

ส่วนพ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ เจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายควรต้องถูกตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจด้วย

จักร์กฤษ เพิ่มพูล คณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรูปให้ความเห็นต่อร่างพ.ร.บ.กสทช.ว่า เนื้อหาในร่างกฎหมายทำให้ตั้งคำถามว่า ความเป็นอิสระของกสทช. ซึ่งเป็นเจตนารมณ์เริ่มแรกของการมีกสทช. จะยังมีอยู่หรือไม่ เพราะกสทช.ต้องไปอยู่ใต้คณะกรรมการดิจิทัลฯ นอกจากนี้ ร่างกฎหมายควรจะแก้ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลของกสทช.ด้วย

สฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต) ให้ความเห็นว่า

ติดตามสัมมนาและการรับฟังความคิดเห็นกฎหมายดิจิทัลได้ทางเฟซบุ๊กเครือข่ายพลเมืองเน็ต Thai Netizen Network และทวิตเตอร์ @thainetizen

Exit mobile version