[4 ก.ค.] บรรยายสาธารณะ “วัยรุ่น สื่อสังคม และอนาคตของความเป็นส่วนตัว” โดย Urs Gasser

2013.07.02 16:48

Public Lecture “Teens, Social Media, and the Future of Privacy”
by Urs Gasser (@ugasser), Professor of Practice at Harvard Law School and Executive Director at Berkman Center for Internet & Society

Date: Thursday 4 July 2013, 09:30-11:30
Venue: Room 1001, 10th floor, Mongkut Sommutdewawong Building, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University

[Map] [Facebook event]

Organized by Department of Journalism, Chulalongkorn University, in partnership with Thai Netizen Network

บรรยายสาธารณะ “วัยรุ่น สื่อสังคม และอนาคตของความเป็นส่วนตัว”
โดย Urs Gasser (@ugasser) ศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด และผู้อำนวยการบริหารศูนย์เบิร์กมานเพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคม

วันเวลา: พฤหัสบดี 4 ก.ค. 2556 09.30-11:30
สถานที่: ห้อง 1001 ชั้น 10 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[แผนที่] [อีเวนต์เฟซบุ๊ก]

จัดโดย ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยความร่วมมือกับ เครือข่ายพลเมืองเน็ต

*** บรรยายภาษาอังกฤษ และแปลสรุปเป็นภาษาไทย ***

วัยรุ่น สื่อสังคม และอนาคตของความเป็นส่วนตัว

หลักการและเหตุผล

อินเทอร์เน็ตไม่เพียงเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้ผู้คนสื่อสารกันได้อย่างสะดวกขึ้นเท่านั้น แต่ยังนำมาสู่การสื่อสารแบบใหม่ รวมไปถึงวิธีคิดเกี่ยวกับการสื่อสารที่ต่างไปจากเดิมอีกด้วย ทั้งขอบเขตของเรื่องที่สามารถพูดได้ในพื้นที่สาธารณะ หรือการนับว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งในหลายครั้ง การประเมินโดยคนรุ่นใหม่ว่าข้อมูลใดน่าจะเป็นเรื่องที่แบ่งปันได้ในพื้นที่สาธารณะ ก็แตกต่างอย่างมากกับคนรุ่นก่อนหน้า จากการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของวัยรุ่นในปี 2555 กับปี 2549 โดยโครงการ Pew Internet Parent/Teen Privacy Survey พบว่าวัยรุ่นโพสต์รูปภาพของตนเอง 91% ในปี 2555 เพิ่มขึ้นจาก 79% ในปี 2549 แสดงชื่อสถานที่ศึกษาของตนเอง 71% เพิ่มขึ้นจาก 49% แสดงชื่อเมืองหรือสถานที่อยู่อาศัยของตนเอง 71% เพิ่มขึ้นจาก 61% และแสดงเบอร์โทรศัพท์มือถือของตนเอง 20% เพิ่มขึ้นจาก 2% [1]

ในการจะสามารถมีชีวิตได้อย่างปลอดภัยตามสมควรในพื้นที่หนึ่ง บุคคลจำเป็นต้องสามารถรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวและพอจะคาดเดาได้ว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่นั้น ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์จากพื้นที่ลักษณะใกล้เคียงที่เคยสัมผัส สาเหตุหนึ่งที่รัฐและครอบครัวไม่สามารถปกป้องเยาวชนจากภัยในพื้นที่ใหม่ๆ ได้ในปัจจุบันก็คือ ตัวรัฐและครอบครัวเองก็ไม่เคยมีประสบการณ์หรือคิดถึงสถานการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ใหม่เช่นนั้นมาก่อน จึงไม่รู้จะออกกฎระเบียบหรือมอบแนะนำที่เหมาะสมได้อย่างไร ในขณะที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีนั้นมีความก้าวหน้ามากกว่าและอาจใช้ช่องว่างทางความรู้ความเข้าใจนี้ในการหาประโยชน์ ซึ่งในบางครั้งมาในรูปแบบการเสนอบริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแลกกับการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของบุคคล [2][3] ในขณะที่ปัญหาอีกด้านคือ ตัวอินเทอร์เน็ตเองนั้นเก็บข้อมูลของเราไว้ยาวนานกว่าที่เราคาดคิด สิ่งที่วัยรุ่นโพสต์ในตอนนี้และยังไม่เป็นอันตรายกับตัวเขา อาจจะเป็นอันตรายกับตัวเขาได้เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว [4] สิ่งนี้ทำให้เราจำเป็นต้องมองไปในอนาคตให้มากเมื่อคิดถึงการกำกับดูแล

ทางภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะจัดบรรยายสาธารณะในเรื่อง “วัยรุ่น สื่อสังคม และอนาคตของความเป็นส่วนตัว” โดย Professor Dr. Urs Gasser [5] อาจารย์กฎหมายและผู้อำนวยการบริหารศูนย์เพื่ออินเทอร์เน็ตและสังคม มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ศึกษาเรื่องดังกล่าวและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติจากผลงานหนังสือเรื่อง “Born Digital: Understanding the first-generation of digital natives” [6] เพื่อเปิดเวทีในการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณะถึง ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมของความเป็นส่วนตัว เพื่อร่วมกันหาแนวทางการคุ้มครองเยาวชนต่อไป

[1] ความเป็นส่วนตัวในสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่น. AEC News. 29 พ.ค. 2556 http://www.aecnews.co.th/blog/?p=500
[2] จี้รัฐคุมเข้มข้อมูลเยาวชน ห่วง ‘คลาวด์’ เปิดช่องโหว่สิทธิส่วนบุคคล. ไทยรัฐ. 5 มิ.ย. 2556 http://www.thairath.co.th/content/tech/349312
[3] ระบอบเจ้าที่ดินและความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต. เครือข่ายพลเมืองเน็ต 1 ก.ค. 2556 https://thainetizen.org/2013/07/no-security-on-feudal-internet/
[4] Eric Schmidt เตือนวัยรุ่น. ครอบครัวข่าว 3. 16 มิ.ย. 2556 http://bit.ly/11XWd5b
[5] Urs Gasser https://cyber.law.harvard.edu/people/ugasser
[6] Born Digital http://www.borndigitalbook.com/

Tags: , , ,
%d bloggers like this: