พฤษภาคม 2012 — มาราธอน: อินเทอร์เน็ต การเมือง วัฒนธรรม – ฉบับ “ออกตัว” วางแผงแล้ว
หนังสือเล่มนี้รวมเนื้อหาคัดสรรจากเทศกาลเน็ตติเซ่นมาราธอนและงานเสวนาโดยเครือข่ายพลเมืองเน็ตระหว่างปี 2010 และ 2011 ประกอบกับบทความเพิ่มเติมจากวิทยากรในงานเสวนาและนักเขียนรับเชิญ ซึ่งมีทั้งผู้ใช้เน็ต นักกิจกรรม นักวิชาการ ศิลปิน นักสื่อสารมวลชน และอีกสารพัด (อธิคม มุกดาประกร, ยุกติ มุกดาวิจิตร, สุรัชดา จุลละพราหมณ์, ทศพล ทรรศนกุลพันธ์, ประมุข ขันเงิน, ทัศนัย เศรษฐเสรี, อาจินต์ ทองอยู่คง, เคโกะ เซ, ฐิตินบ โกมลนิมิ, จิตรทัศน์ ฝักเจริญผล, สันต์ สุวัจฉราภินันท์, อธิป จิตตฤกษ์, โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์, Npk Srrk, ปัตย์ ศรีอรุณ, จักรพงศ์ นาทวิชัย, จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน, ชาญชัย ชัยสุขโกศล // อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว, อรชพร นิมิตกุลพร, ธีรนันท์ นันทขว้าง, กานต์ ยืนยง, นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ, กิตติพล สรัคคานนท์, ภาณุ ตรัยเวช, วันรัก สุวรรณวัฒนา, เบญจมาส วินิจจะกูล, ดวงฤทธิ์ บุนนาค, ปราปต์ บุนปาน, มานะ ตรีรยาภิวัฒน์, ไกรวุฒิ จุลพงศธร, วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา // ทีปกร วุฒิพิทยามงคล)
โครงหลักของหนังสือเป็นการชักชวนตั้งคำถามเพื่อเปิดพื้นที่วิจัย “ออนไลน์ศึกษา” จากแง่มุมและประเด็นหลากหลาย ดูตามสารบัญจะได้แบบหนึ่ง มาเล่าให้ฟังตรงนี้ จัดกลุ่มอีกแบบ ก็จะได้ว่า ปรัชญาและแง่มุมทางนิติศาสตร์เกี่ยวกับการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต วรรณกรรมและวัฒนธรรมอักษรออนไลน์ ภาพยนตร์ดนตรี และต่อเนื่องไปที่ทรัพย์สินทางปัญญา ความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงออกศีลธรรมและความมั่นคงระหว่างประเทศ รูปโป๊สื่อศิลปะและวัฒนธรรมทางสายตา สถาปัตยกรรมกับพื้นที่ความทรงจำ จบสุดท้ายว่า แล้วเราจะศึกษาออนไลน์ยังไงกันดี? — ผู้จัดทำตั้งใจไว้ว่า น่าจะใช้เป็นหนังสือในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
บรรณาธิการโดย นฤมล กล้าทุกวัน
486 หน้า
สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์
จัดจำหน่ายโดย สายส่งศึกษิต บริษัท เคล็ดไทย จำกัด 0-2225-9536~40
สั่งซื้อออนไลน์: เคล็ดไทย | บูคู ปัตตานี | ซีเอ็ด | นายอินทร์ | ศูนย์หนังสือจุฬา | B2S | ดอกหญ้า USA
ห้องสมุดและองค์กรสาธารณประโยชน์ ติดต่อ contact (at) thainetizen.org เพื่อรับหนังสือโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
รายการเสวนาที่จำนวนหนึ่งถูกบันทึกลงหนังสือ ดูได้ที่ https://thainetizen.org/marathon/
บางส่วนจากหนังสือ: คำ “ออกตัว” (อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต), เล่าเรื่อง: ‘สื่อใหม่’ เปิดพื้นที่การเมืองและข้อเสนอต้องห้าม ‘นครปาตานี’ (ฐิตินบ โกมลนิมิ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้), Hate Speech และข้อมูลที่อันตราย ประเด็นสำคัญของอินเทอร์เน็ต (ชาญชัย ชัยสุขโกศล ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล [ดูรายงานฉบับเต็ม])