รายงานเสรีภาพอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พ.ศ. 2553 โดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต (เผยแพร่ครั้งแรก: ธันวาคม 2553)
สถานการณ์โดยรวม การเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น แต่เสรีภาพในการเข้าถึงเนื้อหาน้อยลง สื่อทางสังคมอย่าง Facebook, Twitter, และ YouTube เพิ่มบทบาทอย่างสูงในทางการเมือง เว็บไซต์ถูกปิดกั้นสูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะระหว่างสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการประกาศใช้กฎหมายพิเศษ ที่ให้อำนาจรัฐในการปิดกั้นเว็บโดยไม่ต้องขออำนาจศาล
ภาระของตัวกลางเพิ่มสูงขึ้นจนกระทบโดยตรงกับเสรีภาพในการแสดงออกและการรวมตัวกันทางการเมืองออนไลน์ มีการออกหมายจับและจับกุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต วิกิลีกส์กลายเป็นข่าวใหญ่ (แม้สื่อไทยแทบจะไม่นำเสนอถึงเลย) และการเกิดขึ้นของคำถามถึงบทบาทของอินเทอร์เน็ตในฐานะพื้นที่และเครื่องมือสำหรับประชาชนในการเพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบรัฐบาล
- รายงานเสรีภาพอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พ.ศ. 2553
- ส่วนที่หนึ่ง: การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
- ส่วนที่สอง: การจับกุมและการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต
- ส่วนที่สาม: ภาระทางกฎหมายและภาระทางเศรษฐกิจของตัวกลางอินเทอร์เน็ต
- สรุป: ข้อเสนอแนะต่อรัฐ, สังคมและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต, และ ผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต
- บันทึกการอภิปราย “ความมั่นคงของรัฐ vs. อิสรภาพโลกออนไลน์ : จากวิกิลีคส์ ถึงเมืองไทย”
- อย่าโทษคนนำสาร: ภาระรับผิดทางกฎหมายของสื่อตัวกลางและการคุ้มครองหลักการของอินเทอร์เน็ต
- ภาระรับผิดทางกฎหมายของตัวกลาง: ปกป้องพื้นที่อินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการแสดงออกและสร้างสรรค์นวัตกรรม (บทคัดย่อ)
- ใครคือเครือข่ายพลเมืองเน็ต?
ดาวน์โหลดรายงานในรูปแบบ PDF และ OpenDocument ได้ที่ https://thainetizen.org/docs/netizen-report-2010
ห้องสมุด สถานศึกษา ศูนย์วิจัย ฯลฯ ที่สนใจต้องการรายงานฉบับดังกล่าวในแบบรูปเล่ม หรือต้องการนำไปเผยแพร่ต่อในงานสัมมนา สามารถติดต่อขอรับได้ที่ contact [at] thainetizen.org