Thai Netizen Network

[17 พ.ย.] สัมมนา “การเมืองเรื่องอินเทอร์เน็ตและภาระของตัวกลาง”

เครือข่ายพลเมืองเน็ต ร่วมกับ ภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ และ ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาสาธารณะ “การเมืองเรื่องอินเทอร์เน็ตและภาระของตัวกลาง”

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.00 – 16.30 น.

ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่า คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประตูฝั่งถนนอังรีดูนังต์) [แผนที่]

(English version)

ลงทะเบียน

ความเป็นมา

ตั้งแต่การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องของผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง ทั้งในเรื่องของความคลุมเครือในแนวทางการปิดกั้นเว็บไซต์ หรือ การจับกุมผู้ให้บริการและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยขาดความชัดเจนของกรอบการใช้กฎหมาย ทั้งนี้ในตัวบทของกฎหมายดังกล่าวดังกล่าวและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องก็สะท้อนถึงปัญหาเช่นกันเช่น อาทิการให้คำจำกัดความของเนื้อหาที่ผิดกฎหมายอย่างกว้างโดยปราศจากคำนิยามที่ชัดเจนในทางปฏิบัติ จนนำไปสู่การบังคับใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองค่อนข้างมากในหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างนี้ตัวบทในมาตรา 15 ที่ระบุถึงการรับผิดของตัวกลางหรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรวมถึงผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆด้วย แม้จะไม่ได้เป็นผู้เขียนข้อความต่างๆด้วยตนเองแต่ถ้าเกิดความไม่รู้เท่าทันในการกำกับดูแลเนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์ซึ่งมีจำนวนมากก็อาจทำให้ต้องมีความผิดอย่างร้ายแรงไปด้วยโดยปราศจากระบวนการต่างมีความรัดกุมพอในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งต่างจากแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของหลายประเทศที่มีความชัดเจนมากกว่าในการใช้กฎหมายเพื่อการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตโดยเพาะการต้องมีการปกป้องตัวกลางทั้งในฐานะ สื่อ และ พื้นที่ในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็น ความรู้ และการแสดงออกของพลเมือง

ดังนั้นที่ผ่านมาองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิเสรีภาพสื่ออินเทอร์เน็ต อาทิ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้มีข้อเสนอให้มีการพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ดังนี้

  1. พิจารณาและปฏิบัติกับ “ตัวกลาง” ในฐานะที่เป็นเพียงทางผ่านของข้อมูล (ท่อ) หรือเป็นเพียงที่พักข้อมูลแบบอัตโนมัติ (cache/buffer) และเข้าใจถึงธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตที่ข้อมูลไหลผ่านตัวกลางอย่างรวดเร็ว จนไม่อาจกลั่นกรองหรือควบคุมได้ในทางที่คุ้มค่าและไม่ก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์

  2. ถือว่าตัวกลางนั้นบริสุทธิ์โดยปริยาย (by default) โดยตระหนักว่าตัวกลางนั้นเป็นเพียงทางผ่านของข้อมูลเท่านั้น จนกว่าจะมีหลักฐานให้เชื่อได้ว่า ตัวกลางมีเจตนาสนับสนุนหรือสมรู้ร่วมคิดในการกระทำความผิด และจึงนำมาสู่การพิสูจน์ในชั้นศาล

  3. หากศาลยังไม่ตัดสินว่า ข้อความที่เป็นปัญหานั้นผิดกฎหมายจริง และ/หรือ ผู้กระทำการตามมาตรา 14 (ผู้โพสต์ข้อความ) มีความผิดจริง จะยังเริ่มดำเนินคดีกับตัวกลางตามมาตรา 15 ไม่ได้

  4. หากศาลตัดสินแล้วว่า ตัวกลางมีเจตนากระทำความผิดจริง โทษที่ตัวกลางต้องรับ จะต้องมีการแยกแยะแตกต่างหนักเบา ระหว่าง ทำเอง, สนับสนุน, ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ฯลฯ ตามหลักสัดส่วน

  5. ต้องมีการบัญญัติข้อกำหนดลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ว่าด้วยหลักการแจ้งลบข้อความที่ผิดกฎหมาย (notice and takedown procedure) เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัย (safe harbour) ให้กับตัวกลาง เช่น เมื่อผู้ดูแลเว็บได้รับจดหมายจากเจ้าหน้าที่ว่ามีข้อความผิดกฎหมาย แล้วไม่ลบภายในเวลาอันสมเหตุผลตามที่กำหนด จึงอาจถูกพิจารณาว่ามีความผิด

จากปัญหาและข้อเสนอดังกล่าวเห็นได้ว่ามีความน่าสนใจในทางวิชาการทั้งในแง่มุมทางรัฐศาสตร์และสื่อมวลชนเป็นอย่างยิ่งเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์และไม่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ดังนั้นทางศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ และภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต จัดเวทีสัมมนาสาธารณะครั้งนี้ขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้การพูดคุยแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยการเปิดเวทีให้นักวิชาการ สาธารณชน สื่อมวลชน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการในประเด็นเรื่องอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวกับการเมืองและเสรีภาพสื่อ โดยเฉพาะบทบาทของอินเทอร์เน็ตในฐานะที่เป็นตัวกลางในการสื่อสาร
  2. สร้างการเรียนรู้สาธารณะ สำหรับการศึกษาวิจัยเรื่องเกี่ยวกับการเมือง สื่อสารมวลชน และอินเทอร์เน็ตในฐานะตัวกลางการสื่อสารทางการเมืองและสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักสากล
  3. ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆในเรื่องการเมืองที่ส่งผลต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างสมดุลในเรื่องของการธำรงเสรีภาพและความมั่นคงของชาติ

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน

  1. นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กฎหมาย และสื่อสารมวลชน
  2. นักกิจกรรมทางสังคม
  3. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
  4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
  5. สื่อมวลชน
  6. สาธารณชน

กำหนดการ

(มีล่ามแปลสด ภาษาไทยและอังกฤษ ตลอดการสัมมนาและซักถาม)

8.30 น. ลงทะเบียน

9.00 น. กล่าวเปิดงานโดย ศ.ดร. อนุสรณ์ ลิ่มมณี รักษาการหัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

9.30 น. นำเสนอรายงานเรื่อง “การปิดกั้นและกลั่นกรองเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตภายหลังการรัฐประหารปี 2549” โดย ผศ.ดร. พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

10.00 – 12.00 น. นำวิจารณ์และอภิปรายโดย

12.00 – 13.00 น. พักกลางวัน

13.00 – 14.00 น. เวทีอภิปราย “พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ กับการเมืองเรื่องอินเทอร์เน็ต”

14.00 – 14.15 น. พักของว่าง เครื่องดื่ม

14.15 – 16.30 น. เวทีอภิปราย “อินเทอร์เน็ตกับภาระของตัวกลาง บทเรียนไทยและสากล”

ลงทะเบียน

Exit mobile version