Thai Netizen Network

แถลงการณ์ ขอให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมืองสนับสนุนการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กรณีการประมูลสามจี

หลังจากที่มีการระงับการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการบนคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 3G ก็มีประชาชนจำนวนมากแสดงความไม่พอใจ และได้มีกลุ่มคนที่ร่างแถลงการณ์นี้ขึ้นมา โดยเผยแพร่ครั้งแรกที่ http://bit.ly/thai3g-statement

แถลงการณ์ ขอให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมืองสนับสนุนการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กรณีการประมูลสามจี

จากกรณีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้ดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2100 หรือ 3G (ประกาศ กทช. ฉบับ PDF) ซึ่งตามกำหนดการเดิมจะมีการเริ่มต้นประมูลในวันนี้ (20 กันยายน 2553) รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และมีส่วนร่วมในแนวทางดังกล่าวของ กทช. มาโดยตลอด รวมทั้งหลายภาคส่วนในสังคมสนับสนุนแนวทางการประมูลครั้งนี้ ด้วยหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย

ทว่าหน่วยงานในกำกับของรัฐบาล คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด มหาชน ได้ดำเนินการฟ้องทางกฏหมายต่อ กทช. เรื่องอำนาจหน้าที่เพื่อจะระงับการประมูล (ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ) จนนำไปสู่การชะงักงันของการประมูล ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย การฟ้องร้องครั้งนี้สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่มีต่อองค์กรอิสระในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ

แม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีความซับซ้อนสูง เพราะปัญหาภายในที่สั่งสมมายาวนานของสังคมไทย แต่ทุกอย่างย่อมแก้ไขได้ด้วยเจตจำนงทางการเมือง ดังนั้นผู้มีรายชื่อข้างท้ายดังต่อไปนี้

ขอเสนอแนวทางต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาต่อกรณีการประมูลสามจีที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

เราเห็นว่าการประมูลสามจีภายใต้เงื่อนไขของ กทช. ครั้งนี้ จะนำไปสู่การปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

ดังนั้น พวกเราตามรายชื่อข้างท้ายนี้เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมือง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม ด้วยการให้ กสท.ยุติการดำเนินการทางกฏหมายต่อ กทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้การประมูลสามจีเดินหน้าไปได้ และก่อประโยชน์ร่วมของสังคมไทย

ด้วยความหวังที่จะได้เห็นการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมไทย

ร่วมลงชื่อได้ที่ http://bit.ly/thai3g-form

ดูรายชื่อผู้ร่วมสนับสนุนได้ที่ http://bit.ly/thai3g-name

*แถลงการณ์ฉบับนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องสะท้อนมุมมองของเครือข่ายพลเมืองเน็ต

Exit mobile version